หลงผิดติดสงบ
ความสำคัญมีอยู่ว่า เวลานั่งสมาธิทีไรจิตจะดิ่งวูบลงไปเหมือนเอาก้อนหินหนักๆโยนลงน้ำวูบลงไปถึงก้นคลอง จิตวูบลงสู่ ความสงบมันว่างไปหมด สบายดีเหลือเกิน ไม่รับรู้อะไร คิดว่าดีแล้วพอแล้ว เมื่อท่านย้าย ไปอยู่วัดเนินแก้วสว่างสีทอง บ้านน้ำเฮี้ยใหญ่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พอดีพระอาจารย์หลอด ปโมทิโต ซึ่งเป็นพระพี่ชายเหมือนกัน ท่านฝักใฝ่ในทางธรรมะก็เลยได้คู่ดำดุ่ยๆ ทั้งที่ไม่มีครูบาอาจารย ์ชวนกันเที่ยวรุกขมูลโดยตั้งจุดประสงค์ว่า
๑ .เพื่อจะไปโปรดญาติโยม
๒. ประสงค์ปฏิบัติขั้นเด็ดขาดแบบอุกฤษฏ์ เพราะได้ทราบว่าพระในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านมีความเพียร อย่างมากชนิดเอาเดิมพันด้วยชีวิต ท่านก็พยายามเหมือนกัน ขณะเดินธุดงค์ในป่าพร้อมกับพระพี่ชาย ผลของการ บำเพ็ญภาวนาก็เหมือนเดิมทุกอย่างนั่งตัวตรงเป็นตอไม้ นั่งสมาธิทีไร ก็เข้าสู่ความสงบจิตดับหูดับไปเหมือนเดิม ไม่มีอะไรก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
นี่แหละถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ หรือห่างไกลครูบาอาจารย์ก็จะทำให้หลงทางได้ และมีเปอร์เซ็นมากเสียด้วย เป็นการหลงผิดติดสงบ อย่างที่ว่านี้แหละ
ภายหลังจากเข้าพรรษาปีนั้น ก็หยุดพักในการไปจำวัดในเขตป่าดงมาศึกษาเกี่ยวกับพระปริยัติธรรมบ้าง โดยการหาหนังสือนวโกวาท และวินัยมุขอีกเล่มหนึ่ง เอามาท่องให้ขึ้นใจอนุศาสน์ ๔ นั้น พยายามมากที่จะท่องจำ แต่การปฏิบัติภาวนาก็ไม่เคยทอดทิ้ง ยังนั่งสมาธิเดินจงกรมอยู่เสมอไม่ขาดตลอดพรรษา
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุ ๑๙ ปีจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านโนนแก้วสว่างสีทอง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
|
ซากกุฏิวัดเนินแก้วสว่างสีทอง |
ไปเชียงใหม่
ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๐ - พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านกับสามเณรไข่ กาญจกิงไพและนายนิพนธ์ กงถัน ผ้าขาวอีกคนหนึ่ง แล้วชวนกัน ไปภาคเหนือโดยเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์มุ่งตรงไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยอาศัยเดินธุดงค์เพื่อไปหาพระพี่ชาย( พระอาจารย์แส่ว ) ก็ได้รับทราบว่าพระพี่ชายได้ไปอยู่จำพรรษา อยู่ที่สำนัก ปฏิบัติธรรมสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ จึงไปสมทบอยู่ด้วย ท่านก็ได้เข้า กราบพระเถระผู้ใหญ่แจ้งความประสงค์ ท่านได้ฟังธรรมะจากหลวงพ่อสิม พุทธาจาโร ก็เกิดศัทธาอย่างยิ่งได้ ถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านเลย และไปสมัครเรียนนักธรรมตรีและบาลีไวยากรณ์ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะแสวงหา ที่ศึกษา ปริยัติธรรมตามที่ตั้งใจไว้
|
|
หลวงพ่อสมัยยังหนุ่ม |
โยมนิพนธ์ กงถัน |
คิวริเปอร์อาศรม
ท่านพักอยู่กับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม ซึ่งเดิมใช้บ้านมิสเตอร์อาเธอร์ ไลอันแนส คิวริเปอร์ กับแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล ซึ่งเป็นบ้านร้างเนื่องจากเจ้าของหนีภัยสงคราม อพยพไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ปัจจุบันคือสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเวลา ๑ พรรษา ต่อมาหลวงปู่เหรียญ วรลาโภได้เดินทางไปอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง หลวงปู่สิม จึงกลับมา จากวัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง เจ้าของบ้านต้องการใช้บ้าน หลวงปู่สิมและคณะศิษย์จึงจำเป็นต้องหาที่อยู่ใหม่ หลวงปู่ได้ปรารภระหว่างเทศน์ว่า นกมันยังทำรังได้ คณะศรัทธา จะสร้างวัดอยู่สักวัดหนึ่งไม่ได้หรือ
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ พระนพีสีพิสาลคุณ อายุได้ ๒๑ ปีสอบนักธรรมตรีได้และในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ อายุได้ ๒๓ ปี สอบได้นักธรรมโท ที่สำนักเรียน วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
|
|
|
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ |
บ้านคิวริเปอร์อาศรมปัจจุบัน เป็นสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
อุโบสถวัดเจดีย์หลวง |
อุปสมบท
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษาในปีนั้นที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ( ปัจจุบัน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ) ที่พำนักอยู่ด้วยกันที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม ได้มองเห็น ความสามารถและความประพฤติ ความตั้งใจจริง จึงได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดหาสิ่งของอันเป็นบริขาร ๘ คือเครื่องบวชทุกอย่าง และยังได้ถือ เอาเป็นพระอาจารย์ อีกองค์หนึ่งของท่าน ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ปีชวด เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระพุทธิโศภณ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลขันติคุณ(ต่อมาท่านได้เป็นท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก แห่งวัดเจดีย์หลวง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีแม่กาบคำ ณ เชียงใหม่เป็นเจ้าศรัทธา โดยได้ฉายาว่า กุสลจิตฺโต
|
|
|
พระพุทธิโศภณ |
พระธรรมดิลก |
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร |
ย้ายสำนักสงฆ์สร้างวัดใหม่
พระนพีสีพิสาลคุณพร้อมหมู่พระภิกษุสงฆ์โดยการนำของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร และศรัทธาญาติโยม ได้ช่วยกัน ทำการสร้างวัด
|
|
หนังสือสุทธิหลวงพ่อมหาทองอินทร์ |
เริ่มก่อตั้งรังใหม่สำนักสันติธรรมที่ถนนหัสดิเสวี
พ.ศ.๒๔๘๙- พ.ศ.๒๔๙๐ คณะศรัทธาญาติโยมนำโดยนางสาวนิ่มนวล สุภาวงศ์ หรือ นางสาวนิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง เป็นหัวหน้าหมู่คณะ ได้เจรจา ขอซื้อที่ดินของ พันโทพระอาสาสงคราม( ต๋อย หัสดิเสวี )และคุณนายพื้น อาสาสงคราม ๕ ไร่ และซื้อที่นาด้านใต้ อีก ๓ ไร่ ๓ งาน และซื้อเพิ่มอีกำรวมเป็น ๑๐ ไร่ ๑ งาน ๘๑ ตารางวา เป็นเงินทั้งสิ้น ๗,๕๖๘.- บาท ที่บ้านแจ่งหัวริน เพื่อจะสร้างวัด ซึ่งพันโทพระอาสาสงครามเมื่อขายที่ดินให้แล้ว ยังออกเงินช่วยสมทบสร้างกุฏิ และห้องน้ำเพิ่มให้อีก รวมทั้งควบคุมงานแผ้วถางและงานก่อสร้าง นายฮังยิ้น หรือแป๊ะฮังยิ้น ได้ขุดบ่อน้ำ ที่ได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้เรียกว่าน้ำบ่อแป๊ะในพรรษาแรกนี้มีพระภิกษุสามเณร อยู่ปฏิบัติธรรมจำพรรษามากกว่า ๑๕ รูปด้วยกัน ในจำนวนนี้ต่อมาได้มีชื่อเสียง และเป็นที่เคารพนับถือ ของคนทั่วไปคือ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่จาม มหาปุญโญ หลวงปู่ชอบ ฐานสโมฯลฯ ถือได้ว่า เป็นปฐมฤกษ์ที่ดีงาม
|
|
|
กุฏิสมัยแรก |
พันโทพระอาสาสงครามและภรรยา |
แม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ |
ผลดีมีสอง
การที่พระภิกษุ สามเณรไปอยู่จำพรรษาตอนแรกนั้น ชาวบ้านก็ปลูกกระต๊อบเล็กๆให้อยู่เท่านั้น ไม่ได้เป็นวัด หรอกนะ เป็นที่เก่าแก่ไม่มีผู้คน มีความสงบเงียบดีมากเลยทีเดียว เพราะเป็นยุคสงคราม ผู้คนหลบหนีภัยความตายกันหมด จะมีอยู่บ้างก็ส่วนน้อยเป็นชาวบ้านธรรมดาๆเท่านั้น
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้เริ่มท่องตำหรับตำราและเดินทางไปเรียนยังวัดเจดีย์หลวง ซึ่งตอนนั้นได้เปิด สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แล้วท่าน เดินไปกลับราวๆ ๖ กิโลเห็นจะได้ ท่านชอบใจ เพราะว่า จะได้เดินจงกรมไปด้วยในตัวเลย เป็นผลดีทั้งในด้านพระปริยัติธรรม และปฏิบัติธรรม ควบคู่กันไปเลยทีเดียว
ในปีพ.ศ. ๒๔๙๒ เมื่อมีการสำรวจพื้นที่ครั้งแรกๆพบว่ามีอิฐ กระเบื้อง แนวกำแพงและมีเนินโบสถ์หรือวิหาร พอสันนิษฐานได้ว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อน ชื่อว่า วัดผ้าขาว แต่ไม่อาจสืบหาประวัติได้ เมื่อก่อสร้างพอม ีที่พักเป็นกุฏิไม้ ฝาไม้ไผ่ ขัดแตะ หลังคามุงใบตองตึงพออยู่ได้ พระนพีสีพิศาลคุณ จึงได้ย้าย จากสำนัก ปฏิบัติธรรมสันติธรรม อยู่มากับหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร ที่สำนักสงฆ์สันติธรรมนับแต่นั้นเป็นต้นมา
วันเปิดป้าย วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่
วัดสันติธรรมเป็นวัดราษฎร์ ทำการเปิดป้ายชื่อ วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่สิม พุท?ธาจาโร เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าอาวาส รูปแรก ระหว่าง ปีพ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๑๐ ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้สร้างวัด ตามหนังสือเลขที่ ๑ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๙๖
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงตาแสง ชาวหลวงพระบาง ได้เศียรพระมาจากวัดปางมะโอ อำเภอพร้าว จึงได้นำมาถวายหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หลวงปู่ได้ให้ช่างต่อเศียรพระ ให้เต็มองค์โดย ให้ช่างตั้งโรงหล่อ ที่วัดสันติธรรม พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย หน้าตัก ๒๙ นิ้ว นามว่า พระอนันตญาณมุนี เป็นพระพุทธรูปองค์รองในอุโบสถ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ คือขุนเจริญจรรยา เสียมภักดี (ดังจะได้เล่าถึงประวัต ิความเป็นมาของในตำนานวัดสันติธรรมนครเชียงใหม่อีกครั้ง)
พร้อมกับหล่อพระยืน ๒ องค์ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ คือ คุณอุไร เลาหไพบูลยกับคุณแม่ของคุณชุลี ปิฏกานนท์
ได้มีคุณหมอบรรจงเป็น ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินผ่าน ท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดาภรณ์ (สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี) ปัจจุบัน วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพ ฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูป พระประธานในอุโบสถ วัดสันติธรรมเป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง หน้าตัก ๕๙ นิ้ว สูง ๔ ศอกนามว่า พระบรรจงนิมิตร
วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๙๘ ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด และวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาที่มีขนาดส่วนกว้าง๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
|
พระอนันตญาณมุนี |
[1] | [2] | [3] | [4] | [5]
|