ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๕๔๖ รวมอายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๖

พระนพีสีพิศาลคุณ อันเหล่าพระภิกษุ สามเณร และญาติโยมรู้จักดี ในนามพระอาจารย์มหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต หรือ พระครูสันตยาธิคุณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน – แม่ฮ่องสอน ธรรมยุต และเป็นเจ้าอาวาสวัดสันติธรรมซึ่ง เป็นวัดราษฎร ์ตั้ง อยู่เลขที่ ๑๓ ถนนหัสดิเสวี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ชาติภูมิ

มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีโยมบิดาชื่อ พรหมา แก้วตา โยมมารดาชื่อรินทร์ แก้วตา บิดามารดา มีอาชีพทำนาทำสวน ฐานะปานกลาง และโยมปู่ชื่ออาจารย์ครูทน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธศาสนา จึงได้ขนานนามว่า อาจารย์ครูทน

     ท่านเกิดเมื่อ วันที่๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์แรม๘ ค่ำเดือน ๘ ปีมะโรง ณ หมู่บ้านน้ำร้อน หมู่ที่ ๗ ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โยมปู่ซึ่งได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ในธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านได้บวช เรียนในพระพุทธศาสนา จึงได้ขนาน นามว่าอาจารย์ครูทนตั้งชื่อ ให้หลานชาย คนโตว่า ทองอินทร์ ท่านเป็นบุตรชายคนโต มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิตรวม ๘ คนเป็นชาย ๕ หญิง ๓

โยมมารดา
ใบแทนใบเกิด

เริ่มการศึกษา


เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านอายุได้ ๙ ปี ได้เริ่มเข้าโรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จนจบชั้นประถมปีที่๔ใน ปี.พ.ศ.๒๔๘๔ อายุได้ ๑๔ ปี เรียนที่โรงเรียนวัด บ้านน้ำร้อนอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านมีความมานะ พยายามตลอดจนเป็นผู้มีสติปัญญา ทำให้การศึกษา เล่าเรียน ของท่านเป็นที่น่าพึงพอใจ เป็นที่รักของครูประจำชั้น ตลอดจน บิดามารดาและญาติมิตร ซึ่งในปีนั้นได้เกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ท่านจึงช่วย พ่อแม่ทำ ไร่ทำนาตามสภาวการณ์

ใบสุทธิ
บ้านเกิดหลวงพ่อ
โรงเรียนชั้นประถม

คุณค่าของชีวิต

เพราะท่านเป็นบุตรคนโต เป็นลูกคนหัวปี มีหน้าที่รับผิดชอบ ช่วยเหลือบิดามารดาทำงานบ้านทุกอย่าง ภาระงานหนักก็เห็นจะได้แก่ การตักน้ำ ตำข้าว เลี้ยงวัวควาย ไถนา ช่วยหว่านกล้า ดำนา ฟัดข้าวเกี่ยวข้าวทุกๆอย่าง ท่านเป็นพี่ชายที่รักน้อง รักบิดามารดา มานะอดทนในการทำงาน เพื่อทุกคนในครอบครัว เพราะน้องๆ ก็ยังเล็กๆอยู่แม้จะโตก็กำลังกิน กำลังชอบเล่นสนุกสนานชีวิตสมัยเป็นหนุ่มอายุ๑๕-๑๖ปี    ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยเป่าแคนเที่ยวไปตามบ้าน ผู้สาวตามประสาคนในวัยหนุ่ม นอกเหนือจากเวลาทำงานช่วยพ่อแม ่ทำไร่ไถนาเวลากลางวัน กลางคืนก็เที่ยวไป ตามประสา คนหนุ่มสาว ซึ่งท่านรัก ในเสียงแคนเป็นชีวิตจิตใจ ได้พบเห็นชีวิตของ  คนทั่วไปมองดูแล้วเกิดความสลดใจปนสมเพชเวทนาบุคคลที่ยังไม่สิ้นเวรทั้งหลาย มนุษย์เกิด มาเพื่อเอาตัวรอด ก็เป็นสาเหตุให้เบียดเบียนกันขึ้น กอบโกยให้ตัวเองมีความสุขสมบูรณ์เพียงคนเดียว ด้านความรักของคน ทั่วไปก็ครองรักกันดีๆทำไมต้องตบตีกันด้วยรักกันอย่างไร มันลำบากยากแค้นใจ หาความสุขสงบไม่ได้ ทำไมเขาจึงพูดกันว่า มันดีอย่างนั้นมันดีอย่างนี้ มันน่ากลุ้มใจมากกว่านะ ชีวิตชาวบ้านทั่วๆไปผัวตายไม่ทันข้าม ๗ วัน ก็เอาผัวใหม่กันแล้วผู้ชายก็เหมือนกันดูมันสับสนวุ่นวาย ด้านชู้สาว ก็นับวันเราจะลืมความเป็นมนุษย์ออกไปทุกทีๆ สมันนั้นกับสมัยนี้ไม่ผิดกันนัก ก็เหมือนอย่างเดี๋ยวนี้แหละ เขาทำกิริยาอันน่าเกลียด ทางกามรมณ์ได้มาก เท่าไหร่ เขาก็ถือกันว่าเป็นคนหัวสมัยใหม่ได้เท่านั้น ยิ่งน่าเกลียดมากเขาก็ชมกันว่าเก่ง เยี่ยมหรือยอด แถมยังเป็นคนดีอีกนะเป็นคนดีประจำปี แท้จริงแล้วคน หมู่นั้นลืม...ลืมทุกอย่าง ลืมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามแต่โบราณจนหมดสิ้น เมื่อมองไม่เห็นความดีงาม ของมนุษย์ ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย แล้วออกบวชเพื่อหนีสิ่งวุ่นๆอย่างชาวบ้าน

อักขระธรรมซักย้อมใจ

มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านได้รับหนังสือชื่อว่าพระไตรสรณาคมน์แต่งโดยพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เมื่อได้อ่านเนื้อ ความนั้น ก็ติดอกติดใจ ยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจหลักธรรม ซึ่งไม่เคยอ่าน หนังสือเล่ม ใดแล้ว ติดอกติดใจวางไม่ลง ยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจชนิดซึมซาบเช่นนั้นเลย ในหนังสือ ดังกล่าวมีเนื้อความ ว่าคุณของ พระพุทธเจ้า นั้นพรรณนาไว้ว่า “ พระพุทธองค์ทรงพระกรุณาประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในโลก ย่อมทรงวาง ระเบียบ แบบแผน ไว้ครบบริบูรณ์แล้วแบบถึงพระไตรสรณาคมน์ก็มีแล้วแต่ขาดผู้นำจึงไม่ได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงสมัยปัจจุบันจนถึงทุกวันนี้

พระอาจารย์สิงห์

บวชเณร

จนอายุได้ ๑๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงพอดี ท่านตั้งใจจะบวชเรียนในพระพุทธศาสนา ประจวบเหมาะกับขณะ นั้นพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต ( แส่ว ) ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้พี่ได้บวชเป็นพระคณะธรรมยุต ท่านจึงสมัครใจที่จะบวชเป็นพระคณะธรรมยุตตามญาติผู้พี่ เมื่อพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต มารับเอาตัวจาก พ่อแม่ที่บ้าน พ่อแม่ก็ยินดีอนุญาตให้ท่านไปอยู่ที่วัดบ้านน้ำเฮี้ยนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านเป็นนาค เตรียมตัวท่องคำบวช      ท่องสวดมนต์ไหว้พระประมาณ ๓ เดือน        จึงได้บวชเป็นสามเณร โดยมีท่าน เจ้าคุณ พระอมราภิรักขิต (ทองดำ จนฺทูปโม )   จากวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯขึ้นมาเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ เมื่อท่าน ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ได้พักอยู่ที่วัดบ้านน้ำเฮี้ยนานั้นประมาณ ๑ เดือน ในระหว่างที่ท่านเป็นสามเณร ท่านได้ประพฤติปฏิบัติไปภาวนา จนได้ธรรมในด้านสมถะ กรรมฐานทำให้จิตใจของท่านสงบ ปฏิบัติให้เห็นใจของท่าน ในขณะที่ท่านเป็นสามเณร ต่อมาท่านได้รับการอุปสมบท ท่านก็ขวนขวายในพระธรรม คำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้น ท่านเคยกล่าวไว้ว่า บุคคลเมื่อจะเดินทางไปสู่เป้าหมายใดๆก็ตาม จะต้องมีแผนที่ ในการเดินทาง การจะเข้าถึง ธรรมะของพระพุทธเจ้า การที่ท่านเห็นธรรมภายในนั้น การที่ท่าน จะเข้าถึงใจ พระพุทธเจ้าลำพังที่ท่านเห็น

พระอาจารย์แส่ว
เจ้าคุณอมราภิรักขิต

คุณค่าสมาธิธรรม

จากนั้นพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต พาท่านไปจำพรรษาในปีแรก อยู่ที่วัดบ้านน้ำดุกปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กับพระอาจารย์คำพา ที่วัดน้ำดุก(ปากช่อง)นี้เป็นวัดป่า ที่สงบไม่วุ่นวายเป็นที่รบกวนสมาธิ ท่านได้พยายามฝึกฝนอบรม ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา กำหนดอารมณ์จิต สู่วิปัสสนากรรมฐาน เช่นในหนังสือ แบบถึงไตรสรณาคมน์ได้ระบุไว้ทุกประการ ท่านได้พยายามจดจำ กำหนดบริกรรมพุท-โธไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิต จะเข้าสู่ความสงบ แล้วให้มีสติรู้ชัดอยู่อย่างนั้น จากนั้นท่านให้ทำความรู้สึกมาไว้เฉยอยู่ จนกว่าจิตจะเข้าสู่ภวังค์ อีกวิธีหนึ่งก็คือการเดินจงกรม ท่านเดินจงกรม ไป มา ระยะทาง ๒๐ เมตร จนจิตเข้าสู่ความสงบนั่นแหล่ะ รู้จักจิตใจเป็นสมาธิ ว่ามีความรู้สึกตรึงใจเพียงไร การปลีกตัว เข้าสู่ความสงบนั้น แม้เป็นตรอกซอกซอยเล็ก ๆ ก็ตามเถิด ถ้าได้ทำความเพียรจริง ๆ แล้วก็ได้พบแน่ ๆ ได้รู้จักความสงบอันแท้จริงแล้ว ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติมองเห็นโลก มองเห็นชีวิตที่ดำเนินอยู่นั้นอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม แล้วยังเกิดความสงสารตัวเองจนน้ำตาไหลว่า เหตุไฉนเรา ทั้งหลายเกิดมาแล้วจึงต้องมาเบียดเบียนแย่งชิงกัน แม้จะกินจะนอนจะนั่งจะหายใจล้วนแย่งชิงกัน คอยจ้องมองร้าย กันเสมอ ๆ ความดิ้นรน เอารัดเอาเปรียบทุกค่ำเช้าในปัจจุบัน ถ้าได้เข้าไปนั่งอยู่ในห้องความสงบจากสมาธิภาวนาแล้ว ท่านคิดว่าทุกคนจะ พากันสลดใจ เพิ่มพูนคุณค่า ของชีวิตที่เกิดมาชาติหนึ่ง

กุฏิวัดบ้านน้ำดุก ( ปากช่อง ) 
วัดน้ำดุก (ปากช่องเดิม)

 

แนวทางการเจริญวัตร

สามเณรทองอินทร์ แก้วตาได้เริ่มระเบียบแนวทางการในการบำเพ็ญธรรม แม้จะขาดครูบาอาจารย์ผู้สอน สั่งแต่ท่านก็มีความอุ่นใจที่ จะศึกษาพระวินัย และธรรม ปฏิบัติจากหนังสือแบบเข้าถึงพระไตรสรณาคมน์ ถึงแม้จะเป็น หนังสือที่พิมพ์มาก่อนหน้านั้น ๑๕ ปีแล้ว ก็ยังเป็นหนังสือเก่าแก่ที่มีคุณค่า ประมาณมิได้สำหรับ เราชาวพุทธควร เก็บรักษาสืบต่อไปเรื่อยๆ แม้ใครได้พิมพ์เป็น ธรรมบรรณาการ ก็จะ ได้อานิสงส์แรงมาก ครูบาอาจารย์ที่เป็น พระเถระผู้ใหญ่ยุคนั้นเคยอ่านได้รับอุบายชักนำจากหนังสือเล่มนี้เสียเป็นส่วนมาก หลายองค์ท่าน ปฏิบัติได้จนพ้นทุกข์ไป หลายองค์เป็นที่เคารพ ของศรัทธาญาติโยม

ท่านยังทำความเพียรและวางระเบียบให้แก่ตนเองดังนี้
การระบุชัดให้ผู้ดำเนินตาม เส้นทางแห่งพระสัทธรรมนั้น ภิกษุสามเณรจะต้องบำเพ็ญตามอย่างเคร่งครัดคือ

๑. ต้องตื่นนอนอย่างสายก็ไม่เกินตี ๔
๒. ตอนแรกทำภารกิจส่วนตัวล้างหน้าล้างตาและเก็บสิ่งของ ที่ตนเองใช้ให้มีระเบียบเรียบร้อยทุกอย่าง ห่มผ้าเป็น ปริมณฑล เตรียมบาตรรอไว้ แล้วทำวัตรเช้า
๓. นั่งสมาธิภาวนาพอสมควรแก่เวลา
๔. เดินจงกรมรักษาสติทุกฝีก้าว มีองค์ พุท – โธ เป็นองค์ภาวนา เมื่อสัมผัสสิ่งใด ต้องรู้ชัดแจ้ง ภายในความรู้สึก นั้นจนกว่าจะได้เวลาออกรับบาตร
๕.. บิณฑบาตเลี้ยงชีวิตเพื่อการปฏิบัติบูชาต่อไป กลับจากบิณฑบาตแล้วก็ให้เตรียมอาหาร แบ่งปัน แยกส่วน ให้เป็นระเบียบพองาม
๖. ปรนนิบัติพระอาจารย์จัดอาหารบาตรถวายก่อนถึงเวลาฉัน
๗. ฉันอาหารด้วยอาการสำรวม ฉันแล้วล้างบาตรเช็ด ตาก จนแห้งสนิทแล้วเก็บเข้าที่
๘. จากนั้นเดินจงกรมเป็นเวลา ๑ ชั่วโมงก่อนพักผ่อนหรือจะนั่งสมาธิภาวนา
๙. ตอนบ่ายเตรียมน้ำร้อน น้ำสำหรับพระอาจารย์สรง ทำความสะอาดกุฏิพระอาจารย์ของตนเอง แล้วมาช่วยกัน ทำความ สะอาด กวาดลานวัดและถนน ในบริเวณวัดให้สะอาด
๑๐. สรงน้ำนุ่งห่มเป็นปริมณฑลรวมหมู่คณะทำวัตรเย็นฟังอบรมธรรมะ หรือจะสงสัยสิ่งใดก็จะกราบเรียนถาม นั่งสมาธิภาวนาจนเวลาพอสมควร จึงแยกย้ายกันไปยังที่พักของตนหรือเดินจงกรมต่อไปจนถึงเวลาพักผ่อน

ปฏิบัติภาวนา

ท่านเล่าว่าสมัยแรกๆตอนเป็นสามเณรนั้น จิตใจยังอ่อนมากจิตใจไม่เข้มแข็ง เวลานั่งมันจะง่วงหลับอยู่ร่ำไป ครูบาอาจารย์ท่านก็ว่าจิตใจ ยังอ่อนสติที่มา ควบคุมความรู้สึกความรู้สึกทั้งหลายนั้น มันยังเข้าไม่ถึง อุปมาเหมือน บุรุษหนึ่งคิดอยากจะช่วยบุคคลผู้กำลังรับภัยอยู่ต่อหน้า แต่การจะช่วย อย่างฉับพลันนั้นมันทำ ไม่ได้ใน เมื่อบุรุษนั้นอยู่ห่างไกลจากจุดที่เกิดเหตุเพียงแต่มองเห็นเท่านั้น ดังนั้นกว่าจะมาช่วยไว้ทัน บุคคลก็เคราะห์ร้าย เสียก่อนแล้ว เช่นเดียวกับสติของท่านตอนนั้นมันไล่ตามอารมณ์จิตไม่ทันก็เลยเผลอหลับไปหลายครั้ง ด้วยเหตุน ี้สมัยเป็นเณรจึงชอบเดิน จงกรมมากกว่า จะให้นั่งสมาธิภาวนา ท่านเดินจงกรม ได้เป็นเวลา นานๆและ จิตใจก็สงบเป็นสมาธิดีมากอีกด้วย การเดินจงกรมก็ว่างอารมณ์เป็นกลาง เดินไปเรื่อยๆมีสติรู้อยู่เสมอใจนั้นก็บริกรรมพุท-โธๆไม่ขาด บางครั้งท่านรู้สึกว่าการบริกรรมภาวนาพุท-โธนั้น ดูเหมือนมันจะควบคู่ไปทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ตั้งใจ นั้นแหละพุทโธเกิดความชำนาญมันเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ มันรู้สึกพุท-โธไปเรื่อยๆ ออกจากเดินจงกรมแล้วก็เป็น นั่งฉันอาหารอยู่ก็เป็น นั่งภาวนาอยู่ก็เป็น นอนหลับก็เป็น พุท-โธอยู่อย่างนั้น เวลาตื่นขึ้นคำว่าพุท-โธนั้นก็ยัง ก้องอยู่ในจิตใจ ดูเหมือนๆกับว่าตนเองตื่นอยู่โดยไม่ได้หลับเลย เลยทำให้ได้คิดว่า นี่เราเอง ไม่ประสาอะไร เลยก็ยังได้รับความทราบซึ่งในธรรมะถึงขนาดนี้ แล้วพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ครูบาอาจารย์ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งหลายว่าท่านมิเปี่ยมสุขอย่างมหาศาลนี่ละหรือ ได้คิดเช่นนั้นก็เกิดปิติใจมีความมานะพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อฝึกฝน จิตใจของตนเองให้เข้มแข็งกล้าหาญยิ่งขึ้นต่อไป


กำหนดรู้จิต

ครั้งหนึ่งท่านกำลังเดินจงกรมไปมาอยู่นั้น จิตรวมอย่างรวดเร็วมีความรู้สึกแต่ตอนต้นว่าจิตวูบลง ไปเหมือน ทิ้งก้อนหินลง ไปยังหน้าผาแล้ว นิ่งสงบอยู่มัน เหมือนมีก้อนอะไรปรากฏขึ้นตรงหน้าอกช่วงนั้น แล้วตกวูบ ลงไปท่านไม่กลัวอะไรสิ่งหนึ่งมันปรากฏให้รู้ภายในนั้นว่า นี่คือใจมันรู้สึกขึ้นมาเท่านั้นแหละ พอออกจาก สมาธิความรู้สึกนั้นก็ยังมีอยู่มันรู้ชัดอยู่อย่างนั้น ก็เลยทำให้รู้จักคำว่าจิต-ใจนั้นเป็นอาการอย่างไร ตั้งแต่บัดนั้นในเรื่องนี้ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือแบบถึงไตรสรณาคมน์ดังนี้ วิธีกำหนดให้รู้จิต ที่ตกลงสู่ภวังค์เอง พึงมีสติให้กำหนดรู้จิต ในเวลาที่กำลัง นึกคำ บริกรรมภาวนาอยู่นั้น ครั้นเมื่อเรา มีสติกำหนดจดจ่อคำบริกรรมภาวนาจริงๆ จิตของเราก็ย่อม จดจ่อต่อคำบริกรรมด้วยกัน เมื่อจิต จดจ่อต่อคำ บริกรรมอยู่แล้ว จิตก็ย่อมตั้งอยู่ในความเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางจิตย่อมวางอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตวาง อารมณ์ภายนอก แล้วจิตย่อมตกลงสู่ภวังค์เอง เมื่อจิตลงสู่ภวังค์ย่อม แสดงอาการให้รู้สึกได้ทุกคนตลอดไป คือแสดงให้รู้ว่ารวมวูบวาบแรงก็ดี หรือแสดง ให้รู้สึกว่าสงบนิ่งแน่วลงถึงที่แล้ว สว่างโล่งเยือกเย็น อยู่ในใจจนลืมภายนอกหมด คือลืมตนลืมตัวลืมคำบริกรรมภาวนาเป็นต้น แต่บางคน ก็ไม่ถึงกับลืมภายนอกแต่ก็ย่อม รู้สึกว่าเบากายเบาใจ เยือกเย็นเป็นที่สบายเฉพาะภายในเหมือนกันทุกคน

หลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต

ภาวนารักษาไว้

ท่านเป็นสามเณรที่มีความคิดพิจารณาได้ดีเยี่ยม สมกับเป็นผู้มีบารมีธรรมเมื่อการปฏิบัติภาวนา ได้ก้าวขึ้นสู่ ความสงบแล้ว ท่านก็ได้ชักชวน พระพี่ชาย(อาจารย์แส่ว) ไปบำเพ็ญธรรมในละแวกป่าใกล้ๆวัดที่จำพรรษานั้น เพื่อจะได้ฝึกกันให้เต็มที่ ยิ่งนานวันก็ยิ่งพึงพอใจกับสภาพความเป็นอยู่นั้น แต่สังขารของท่านกลับจะแย่ลง เนื่องจาก ป่าสมัยนั้นเป็นดงดิบ แม้จะไม่ไกลจากบ้านเกินไปนัก แต่ก็มีสิทธิที่จะเป็นไข้มาลาเรีย(ไข้ป่า)ได้ทุกคน ท่านเป็น ไข้ป่าในช่วงสงครามเลิกใหม่ๆราวสองสามปี แม้สงครามเลิกไปแล้วก็ตามแต่ว่ายารักษาไข้นั้นมันหายากมาก แล้วไม่ค่อย จะมีด้วย ไข้ป่าจะกำเริบเวลากลางวันเท่านั้น ตัวร้อนเพ้อจัดต้องคอยเฝ้าดูอาการ แต่เวลากลางคืน ก็มีอาการ เพียงครั่นเนื้อครั่นตัวเท่านั้น อาศัยว่าท่าน เคยได้สมาธิมาก่อนแล้วไม่มีความกลัวอะไรเลย คิดว่าเอาสมาธิภาวนา รักษาก็คงจะหายขาดได้ จิตใจมันคิดอย่างนี้แหละมันกล้าจริงๆ พอรู้สึก อาการเป็นอย่างนั้น ก็นั่งสมาธิภาวนา เลยแล้วอธิษฐานว่าหายๆๆๆๆ ไข้ป่าก็หายไปทั้งวัน วันที่สองก็เป็นอีกทำอย่างเก่าก็หายไปอีก ไข้ป่ากำเริบ อยู่สามวันก็หายขาด ด้วยอำนาจสมาธิภาวนานี้ โดยไม่ต้องกินยาเลย จิตใจกล้าเข้มแข็ง ก็สู้กับโรคภัย ไข้เจ็บได้อย่างอาจหาญเช่นนี้เอง


ไข้ป่าไปโรคใหม่มา

ภายหลังจากโรคมาลาเรียหายไปแล้ว ยังไม่ทันได้หายใจทั่วท้องโรคใหม่ก็ปรากฏโฉมให้เห็นอีก ท่านเป็นรูมาติกซั่ม กำเริบหนักปวด เข้าข้อเข้ากระดูกเจ็บปวดมากจนน้ำตาไหลปวดร้าวไปหมด ตอนนั้นยากินหรือยาทาไม่มีหรอก ทางที่ดีก็นอนทำสมาธิภาวนาทำจิตใจปล่อยอารมณ์โลก ซึ่งเมื่อนอนลงไปแล้วจะพลิกตัวไม่ได้เลยมันทรมานมาก ความเจ็บ ปวด รวดร้าวนั้นเป็นเรื่องของสังขารจิตของท่าน จะต้องการความอิสระก็ทำ

ภาวนาต่อไป ที่สู้พยายามบำเพ็ญคุณงามความดีก็หวังความอิสระให้เกิดขึ้นทางจิตมากกว่าความผูกพันท่านเป็นนักต่อสู้ กับอุปสรรคก็เกิดกำลังใจ ไม่ท้อถอย ทำจิตใจเข้าสู่ความสงบเป็นเวลานานๆ แต่ครั้นถอนสมาธิออกมา ก็พยายามพลิก ตัวดูความเจ็บปวด ก็ยังปรากฏ อยู่โรคร้ายนี้สร้าง ความรำคาญแก่ท่านเป็นอันมาก เวลาฉันอาหารก็ต้องกระดุกกระดิกตัว แต่ก็ทำได้เท่านั้นเพราะเจ็บปวดมาก ฉันอาหารได้เล็กน้อยความมานะอดท นต่อสู้กับวิบากอันเป็น เพื่อนเก่าต้อง ทนทานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ได้อาศัยสมาธิระงับดับความเจ็บปวดเป็นบางครั้งบางคราว ท่านเป็นรูมาติซั่มเพียง ๑๐ วันก็หายขาด


หลบเวทนา

วิธีหลบความเจ็บปวดของท่าน ได้รับอุบายมาจากหนังสือแบบเข้าถึงไตรสรณาคมน์ของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม โดยถือหลักหลบเวทนาดังน ี้(พระพุทธเจ้าทรงรับรองความเบากายเบาใจนี้เรียกว่ายุคลธรรมมี ๖ ประการ) คือ

๑. กายลหุตา จิตตลหุตา แปลว่า เบากายเบาใจ
๒. กายมุทุตา จิตตมุทุตา แปลว่า อ่อนหวาน พร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
๓. กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ แปลว่า สงบพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
๔. กายุชุกตา จิตตุชุกตา แปลว่า เที่ยงตรงทั้งกาย ทั้งใจ
๕. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา แปลว่า ควรแก่การกระทำพร้อมทั้งกายทั้งใจ
๖. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา แปลว่า คล่องแคล่วสะดวกดีพร้อมทั้งกายทั้งใจ

ทั้ง ๖ ประการดังกล่าวนี้ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าทรงรับรอง เพื่อระงับทุกข์เวทนา ต่างๆคือระงับความเหน็ดเหนื่อยความเมื่อยล้า ความหิวโหยทั้งปวงตลอดถึงความเจ็บปวดทุกประการ ก็จะระงับกลับหายไปพร้อมกันรู้สึก ได้รับความสบายกายสบายใจปลอดโปร่งในใจขึ้นพร้อมกันทีเดียว นี้เป็นวิธีที่สามเณร ทองอินทร์ แก้วตา ปฏิบัติตอนที่มีอายุได้ ๑๘ -๑๙ ปี ดังเมื่อมีไข้ป่ากำเริบอย่างหนักไข้สูงถึงกลับเพ้อในบางโอกาส ก็อาศัยธรรมเป็นโอสถรักษาขณะป่วย-ไข้เป็นไข้ป่าอาหารขบฉันก็ไม่ค่อยได้พ้น ๓ วัน โรคร้าย รูมาติซั่มก็ มาเบียด เบียนเข้าอีกเป็นเวลา ๑๐ วัน ความอ่อนเพลียความเจ็บปวดและความหิวโหยก็ประดังกันเข้ามาทะลักดุจน้ำป่า ท่านจึง ต้องอาศัยธรรมะที่ตนเองเคยได้รับมารักษาอาการเจ็บป่วย อนึ่งหยูกยาในยุคสงครามเลิกใหม่ๆนั้นหาไม่ได้เอาทีเดียว มิหน่ำซ่ำการเจ็บป่วยนั้นก็นอน อยู่เฉยๆ ถ้าใครเป็นไข้หนักๆก็นอน รอความตายเท่านั้นเอง ตลอดเวลาที่ท่าน ป่วยไข้และรักษาโรคภัยด้วยสมาธิธรรมนั้น ไม่มีผู้ใดรู้เลยแม้แต่น้อย ว่าท่านปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จนจิตใจเป็น สมาธิและรู้วิธีหลบเวทนาได้อย่างคล่องแคล่วและชำนาญยิ่ง


อย่าห่างคร

แม้ท่านจะมีความแน่วแน่ปฏิบัติธรรมจนเกิดเป็นสมาธิทรงความสงบอยู่ได้ หลบเวทนาอยู่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่าน ต้องหลงผิด อยู่เสมอซึ่ง ท่านได้เล่าไว้เป็นคติสอนใจนักปฏิบัติทั้งหลายว่า จงอย่างห่างไกล ครูบาอาจารย์ จงพยายามไปมาหาสู่ท่านเสมอๆ ดูตัวอย่างในสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ท่านไปอยู่แห่งหนตำบลใด ลูกศิษย์ลูกหาก็เฝ้าติดตาม แม้ใครได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ได้ฟังธรรมได้สนทนาธรรม ก็จะเป็นผู้มีความสามารถ เอาตัวรอดปลอดภัยจากกิเลสตัญหาอุปาทานได้ ตอนที่ท่านบวชใหม่ๆ มองเห็นพระแก่ๆที่บวชมานาน ก็มานึกว่า ท่านน่าจะได้บุญมากมายแล้ว น่าจะสึกออกไปใช้ชีวิตภายนอก แต่เมื่อท่านนั่งสมาธิเข้าถึงความสงบทีไร มันก็นั่งเงียบดับหมด ไม่ได้ยินไม่ได้สนใจอะไรเลย ครั้นได้เวลามันก็คลายสมาธิเอง เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านคิดว่าตนเอง เป็นเณรบวช ไม่นานคงจะมีบุญน้อยยังไม่พอ ต้องฝึกฝนอบรมต่อไป จนกว่า จะสะสมบุญไว้มากๆ ก็คิดเอาเองเพราะมันขาดครูบาอาจารย์ ในตอนนั้นเลยทำให้เข้าใจไปเองทุกอย่างที่จะคิดได้

 [1] | [2] [3][4] | [5] |

 
     
     
  ขึ้นข้างบน
วัดสันติธรรม ต.ช้างเผือก อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
โทร. ๐๕๓-๒๒๑๗๙๒  ๐๘-๗๑๙๓-๓๑๖๙  ๐๘-๖๑๘๗-๓๙๔๒ และ ๐๘-๑๖๐๒-๗๕๐๐