|
|
|
|
๒. ลักษณะและพรรณะของพระบรมสารีริกธาตุ
|
|
|
ลักษณะและพรรณะของพระบรมสารีริกธาตุ
ลักษณะสี สัณฐาน และขนาดของพระธาตุ/พระบรมสารีริกธาตุมีหลากหลาย มีลักษณะเป็นมันเลื่อมสีต่าง ๆ มีสีทองอุไรบ้าง สีขาวใสดังแก้วผลึกบ้าง สีดอกพิกุลแห้งบ้าง มีสัณฐานต่าง ๆ เช่น กลม ยาวรี เสี้ยว เป็นเหลี่ยม มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วหัก ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุมีลักษณะและสัณฐานหลากหลายตามที่กล่าวในตำราโบราณ พอกล่าวไว้เป็นตัวอย่างดังนี้ |
|
|
พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า)ขนาดใหญ่
ประมาณเท่าเมล็ด ถั่วหัก จำนวน ๕ ทะนาน
ทรงพระบวรสัณฐานเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร |
|
|
พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า)ขนาดกลาง
ประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก จำนวน ๕ ทะนาน
ทรงพระบวรสัณฐานเหมือนหนึ่งพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย |
|
|
พระบรมสารีริกธาตุ(ของพระพุทธเจ้า)ขนาดกลาง
ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด จำนวน ๖ ทะนาน
ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณดอกบุปผาชาติพิกุลอดุลสีใส |
|
ความหลากหลายด้านลักษณะ สี สัณฐานของพระธาตุหรือพระบรมสารี-ริกธาตุ อาจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สภาพทางกาย ลักษณะพิเศษทางจิตของพระอรหันต์ หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ หรือปฏิกิริยาทางเคมีอย่างอื่น นอกจากนี้ น่าจะเกี่ยวเนื่องกับอายุของพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุแต่ละองค์ด้วย ซึ่งบางองค์อาจมีอายุเป็นหมื่นชาติแสนชาติ ในคัมภีร์เถรวาทกล่าวถึงพระนามของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ยังคงสถิตอยู่ในโลก ไม่รวมพระธาตุ(หรือพระอรหันตธาตุ)ของพระสาวก สาวิกาซึ่งมีจำนวนมาก |
๓. พระบรมสารีริกธาตุ ๒ ประเภท |
|
|
๑. พระบรมสารีริกธาตุไม่แตกกระจาย
พระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แตกกระจายมี ๗ ส่วน คือ
พระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ และพระอุณหิส
หรือส่วนพระนลาฏ ๑ คำว่า "ไม่แตกกระจาย" หมายถึง
ยังความเป็นรูปร่าง เป็นแท่ง หรือเป็นกลุ่มก้อนสมบูรณ์
ไม่มีส่วนไหนหักบิ่นไป กล่าวคือก่อนที่ร่างกายจะถูกเผา พระเขี้ยวแก้วเป็นต้นนี้มีรูปร่างอย่างใด หลังจากร่างถูกเผาแล้ว พระเขี้ยวแก้วนี้ก็ยังมีรูปร่างอย่างนั้น
* ในภาพเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย
|
|
|
๒. พระบรมสารีริกธาตุแตกกระจาย
พระบรมสารีริกธาตุที่แตกกระจาย คือ
ส่วนอื่นนอกเหนือจาก ๗ ส่วนที่กล่าวไว้ในในข้อ ๑
จะไม่เหลือส่วนที่เด่นชัด ขนาดเล็กสุดเท่าเมล็ดพรรณผักกาด
ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเหลือง
คำว่า "แตกกระจาย" หมายถึง ไม่มีความเป็นรูปร่าง เป็นแท่ง
หรือเป็นกลุ่มก้อนเหมือนเดิม มีบางส่วนหักบิ่นไป
กล่าวคือก่อนที่ร่างกายจะถูกเผา พระธาตุนี้มีรูปร่างสมบูรณ์
แต่หลังจากร่างถูกเผาแล้ว ก็สูญเสียความสมบูรณ์ไป |
กรณีของพระโดคมพุทธเจ้ามีลักษณะพิเศษมากกว่าพระพุทธเจ้าองค์อื่น กล่าวคือ แม้ในคัมภีร์ จะบอกว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แตกกระจายไปในนานาประเทศ และ มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ตั้งแต่สมัยที่โทณพราหมณ์แจกจ่าย รวมทั้งสิ้น ๘ แห่ง คือ
๑. พวกเจ้าลิจฉวี ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงเวสาลี
๒. พวกเจ้าศากยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงกบิลพัสดุ์
๓. พวกเจ้าถูลี ทรงสร้างสถูปบรรจุที่เมืองอัลลกัปปะ
๔. พวกเจ้าโกลิยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุที่เมืองรามคาม
๕. มหาพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุที่เมืองเวฏฐทีปกะ
๖. พวกเจ้ามัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างสถูปบรรจุที่เมืองปาวา
๗. พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงราชคฤห์
๘. พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารา ทรงสร้างสถูปบรรจุที่กรุงกุสินารา
พวกเจ้าโมริยะ ได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ส่งทูตมา ภายหลังจึงได้รับมอบพระอังคาร(เถ้า)ไป ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป)ที่เมืองปิปผลิวัน ส่วนโทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนาน ตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า "ตุมพะ" แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกว่าสถูปนี้ว่า "ตุมพสถูป")
ในขณะเดียวกัน ในคัมภีร์ก็มีการกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แตกกระจาย ๗ ประเภทไว้ด้วย คือ
๑. พระเขี้ยวแก้ว๑บนด้านขวา (บน+ขวา)ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๒. พระเขี้ยวแก้วบนด้านซ้าย (บน+ซ้าย)ประดิษฐาน ณ คันธารบุรี (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดหลิงกวง ประเทศจีน)
๓. พระเขี้ยวแก้วล่างด้านขวา (ล่าง+ขวา)ประดิษฐาน ณ แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ประเทศ ศรีลังกา)
๔. พระเขี้ยวแก้วล่างด้านซ้าย (ล่าง+ซ้าย)ประดิษฐานอยู่ในดินแดนของพระราชาเผ่านาค
๕. พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)ด้านซ้ายและพระอุณหิส (หน้าผาก) ประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก
๖. พระรากขวัญด้านขวา ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๗. พระทนต์ ๔๐ ซี่ พระโลมา(ขน)ทั่วพระวรกาย(๙๐,๐๐๐ เส้น) และพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ เทพยดาในหมื่นจักรวาลนำไปบูชาในจักรวาลของตน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|