๔. การแปรเป็นพระธาตุจากเถ้าอังคารของพระอริยเจ้า
เถ้าอังคารของพระอริยเจ้า เป็นส่วนต่าง ๆ ของสรีระร่างของพระอริยเจ้าที่ถูกไฟเผาแล้ว เป็นส่วนที่แปรสภาพเป็นพระธาตุได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีสภาพที่ละเอียด และรวมตัวง่าย
ระยะที่ ๑ เถ้าอังคารรวมตัวกันเป็นก้อนกลม ถ้าเอามือแตะ ก็จะแตกออกจากกัน (อังคารธาตุหลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์)
ระยะที่ ๒ เถ้าอังคารรวมตัวเป็นพระธาตุแน่นขึ้น เกิดมีสีสันพรรณะต่าง ๆ โดยผิวของพระธาตุยังมีอังคารปนอยู่ (อังคารธาตุหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย บุรีรัมย์)
ระยะที่ ๓ เถ้าอังคารที่เกาะองค์พระธาตุนั้นน้อยลงจนแทบมองไม่เห็น พรรณของพระธาตุใสขึ้น (อังคารธาตุหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย บุรีรัมย์)
ระยะที่ ๔ เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์มีขนาดต่าง ๆ กัน มีพรรณะต่าง ๆ กัน งดงาม นริสุทธิ์ สมบูรณ์ (พระธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู)