|
|
|
พระบรมธาตุดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
|
ข้อมูลจาก
www.amuletindex.com
www.ezytrip.com
ภาพประกอบจาก Internet
|
พระธาตุดอยตุง
พระธาตุประจำผู้เกิดปีกุญ (กุน)
ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย |
พระบรมธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บนดอยสูงซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ตามตำนานเล่าว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ดังที่พระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ไว้ก่อนที่จะสร้างพระเจ้าอชุตราชให้ทำทุง (ตุง) มีความยาว ๑,๐๐๐ วา ปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงพระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๕๐ องค์ พญามังรายจึงได้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม บางตำนานว่าที่มาชื่อดอยตุง เนื่องจากพระมหากัสสปะ ได้อธิษฐานตุงยาว ๗,๐๐๐ วาไว้ที่ยอดดอยแห่งนี้ พระบรมธาตุดอยตุงได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ ได้บูรณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทองค์ปัจจุบันพระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ไทใหญ่ หลวงพระบางและเวียงจันทน์ ทุกปีจะมีงานมนัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน ๓
|
องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ ๒ องค์ โดยมีเรื่องเล่าว่าได้มีการนำพระบรมธาตุมาบรรจุที่ดอยตุงถึง ๓ ครั้ง แต่ละครั้ง ก็จะมีการก่อเจดีย์ขึ้นด้วย แต่มีเพียง ๒ องค์เท่านั้นที่ได้รับการบูรณะและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์นี้เป็นที่ ประดิษฐานของพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และพระธาตุย่อย
แต่เดิมดอยตุงมีชื่อว่า "ดอยปู่เจ้า" เมื่อพระพุทธเจ้านิพพาน พระมหากัสสปได้อธิษฐานให้มี "ตุง" หรือธง ๗ สี ยาว ๗ พันวา กว้าง ๕ พันวา มาปักไว้เพื่อบูชาพระบรมธาตุ ด้วยเหตุที่ตุงมีขนาดใหญ่ ผู้คนจึงมองเห็นได้แต่ไกล จึงพากันเรียกดอย แห่งนี้ใหม่ว่า "ดอยตุง"
พระธาตุดอยตุง ถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดปีกุญ เนื่องเพราะปู่เจ้าลาวจกและพระยามังราย ต้นวงศ์กษัตริย์ เชียงใหม่ต่างก็ประสูติใน "ปีกุญ"
|
|
|
|
คำไหว้บูชาพระบรมธาตุดอยตุง
นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรงมะหาคะมานะ มามิหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา |
|
ถวายห้องน้ำ์ และธรรมสุตะสมป็นพุทธบูชา
|
|
|
|
|
|