พระนพีสีพิศาลคุณ (หลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต)
พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๔๗
พระนพีสีพิศาลคุณ อันเหล่าพระภิกษุ สามเณร และญาติโยมรู้จักดี ในนามพระอาจารย์มหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต หรือ พระครูสันตยาธิคุณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน – แม่ฮ่องสอน ธรรมยุต และเป็นเจ้าอาวาสวัดสันติธรรมซึ่ง เป็นวัดราษฎร ์ตั้ง อยู่เลขที่ ๑๓ ถนนหัสดิเสวี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ชาติภูมิ
มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีโยมบิดาชื่อ พรหมา แก้วตา โยมมารดาชื่อรินทร์ แก้วตา บิดามารดา มีอาชีพทำนาทำสวน ฐานะปานกลาง และโยมปู่ชื่ออาจารย์ครูทน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธศาสนา จึงได้ขนานนามว่า อาจารย์ครูทน
ท่านเกิดเมื่อ วันที่๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์แรม๘ ค่ำเดือน ๘ ปีมะโรง ณ หมู่บ้านน้ำร้อน หมู่ที่ ๗ ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โยมปู่ซึ่งได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ในธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านได้บวช เรียนในพระพุทธศาสนา จึงได้ขนาน นามว่าอาจารย์ครูทนตั้งชื่อ ให้หลานชาย คนโตว่า ทองอินทร์ ท่านเป็นบุตรชายคนโต มีพี่น้อง ร่วมสายโลหิตรวม ๘ คนเป็นชาย ๕ หญิง ๓
โยมมารดา
ใบแทนใบเกิด
เริ่มการศึกษา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านอายุได้ ๙ ปี ได้เริ่มเข้าโรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จนจบชั้นประถมปีที่๔ใน ปี.พ.ศ.๒๔๘๔ อายุได้ ๑๔ ปี เรียนที่โรงเรียนวัด บ้านน้ำร้อนอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านมีความมานะ พยายามตลอดจนเป็นผู้มีสติปัญญา ทำให้การศึกษา เล่าเรียน ของท่านเป็นที่น่าพึงพอใจ เป็นที่รักของครูประจำชั้น ตลอดจน บิดามารดาและญาติมิตร ซึ่งในปีนั้นได้เกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ท่านจึงช่วย พ่อแม่ทำ ไร่ทำนาตามสภาวการณ์
ใบสุทธิ
บ้านเกิดหลวงพ่อ
โรงเรียนชั้นประถม
คุณค่าของชีวิต
เพราะท่านเป็นบุตรคนโต เป็นลูกคนหัวปี มีหน้าที่รับผิดชอบ ช่วยเหลือบิดามารดาทำงานบ้านทุกอย่าง ภาระงานหนักก็เห็นจะได้แก่ การตักน้ำ ตำข้าว เลี้ยงวัวควาย ไถนา ช่วยหว่านกล้า ดำนา ฟัดข้าวเกี่ยวข้าวทุกๆอย่าง ท่านเป็นพี่ชายที่รักน้อง รักบิดามารดา มานะอดทนในการทำงาน เพื่อทุกคนในครอบครัว เพราะน้องๆ ก็ยังเล็กๆอยู่แม้จะโตก็กำลังกิน กำลังชอบเล่นสนุกสนานชีวิตสมัยเป็นหนุ่มอายุ๑๕-๑๖ปี ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยเป่าแคนเที่ยวไปตามบ้าน ผู้สาวตามประสาคนในวัยหนุ่ม นอกเหนือจากเวลาทำงานช่วยพ่อแม ่ทำไร่ไถนาเวลากลางวัน กลางคืนก็เที่ยวไป ตามประสา คนหนุ่มสาว ซึ่งท่านรัก ในเสียงแคนเป็นชีวิตจิตใจ ได้พบเห็นชีวิตของ คนทั่วไปมองดูแล้วเกิดความสลดใจปนสมเพชเวทนาบุคคลที่ยังไม่สิ้นเวรทั้งหลาย มนุษย์เกิด มาเพื่อเอาตัวรอด ก็เป็นสาเหตุให้เบียดเบียนกันขึ้น กอบโกยให้ตัวเองมีความสุขสมบูรณ์เพียงคนเดียว ด้านความรักของคน ทั่วไปก็ครองรักกันดีๆทำไมต้องตบตีกันด้วยรักกันอย่างไร มันลำบากยากแค้นใจ หาความสุขสงบไม่ได้ ทำไมเขาจึงพูดกันว่า มันดีอย่างนั้นมันดีอย่างนี้ มันน่ากลุ้มใจมากกว่านะ ชีวิตชาวบ้านทั่วๆไปผัวตายไม่ทันข้าม ๗ วัน ก็เอาผัวใหม่กันแล้วผู้ชายก็เหมือนกันดูมันสับสนวุ่นวาย ด้านชู้สาว ก็นับวันเราจะลืมความเป็นมนุษย์ออกไปทุกทีๆ สมันนั้นกับสมัยนี้ไม่ผิดกันนัก ก็เหมือนอย่างเดี๋ยวนี้แหละ เขาทำกิริยาอันน่าเกลียด ทางกามรมณ์ได้มาก เท่าไหร่ เขาก็ถือกันว่าเป็นคนหัวสมัยใหม่ได้เท่านั้น ยิ่งน่าเกลียดมากเขาก็ชมกันว่าเก่ง เยี่ยมหรือยอด แถมยังเป็นคนดีอีกนะเป็นคนดีประจำปี แท้จริงแล้วคน หมู่นั้นลืม...ลืมทุกอย่าง ลืมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามแต่โบราณจนหมดสิ้น เมื่อมองไม่เห็นความดีงาม ของมนุษย์ ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย แล้วออกบวชเพื่อหนีสิ่งวุ่นๆอย่างชาวบ้าน
อักขระธรรมซักย้อมใจ
มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านได้รับหนังสือชื่อว่าพระไตรสรณาคมน์แต่งโดยพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เมื่อได้อ่านเนื้อ ความนั้น ก็ติดอกติดใจ ยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจหลักธรรม ซึ่งไม่เคยอ่าน หนังสือเล่ม ใดแล้ว ติดอกติดใจวางไม่ลง ยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจชนิดซึมซาบเช่นนั้นเลย ในหนังสือ ดังกล่าวมีเนื้อความ ว่าคุณของ พระพุทธเจ้า นั้นพรรณนาไว้ว่า “ พระพุทธองค์ทรงพระกรุณาประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในโลก ย่อมทรงวาง ระเบียบ แบบแผน ไว้ครบบริบูรณ์แล้วแบบถึงพระไตรสรณาคมน์ก็มีแล้วแต่ขาดผู้นำจึงไม่ได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงสมัยปัจจุบันจนถึงทุกวันนี้
พระอาจารย์สิงห์
บวชเณร
จนอายุได้ ๑๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงพอดี ท่านตั้งใจจะบวชเรียนในพระพุทธศาสนา ประจวบเหมาะกับขณะ นั้นพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต ( แส่ว ) ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้พี่ได้บวชเป็นพระคณะธรรมยุต ท่านจึงสมัครใจที่จะบวชเป็นพระคณะธรรมยุตตามญาติผู้พี่ เมื่อพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต มารับเอาตัวจาก พ่อแม่ที่บ้าน พ่อแม่ก็ยินดีอนุญาตให้ท่านไปอยู่ที่วัดบ้านน้ำเฮี้ยนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านเป็นนาค เตรียมตัวท่องคำบวช ท่องสวดมนต์ไหว้พระประมาณ ๓ เดือน จึงได้บวชเป็นสามเณร โดยมีท่าน เจ้าคุณ พระอมราภิรักขิต (ทองดำ จนฺทูปโม ) จากวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯขึ้นมาเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ เมื่อท่าน ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ได้พักอยู่ที่วัดบ้านน้ำเฮี้ยนานั้นประมาณ ๑ เดือน ในระหว่างที่ท่านเป็นสามเณร ท่านได้ประพฤติปฏิบัติไปภาวนา จนได้ธรรมในด้านสมถะ กรรมฐานทำให้จิตใจของท่านสงบ ปฏิบัติให้เห็นใจของท่าน ในขณะที่ท่านเป็นสามเณร ต่อมาท่านได้รับการอุปสมบท ท่านก็ขวนขวายในพระธรรม คำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้น ท่านเคยกล่าวไว้ว่า บุคคลเมื่อจะเดินทางไปสู่เป้าหมายใดๆก็ตาม จะต้องมีแผนที่ ในการเดินทาง การจะเข้าถึง ธรรมะของพระพุทธเจ้า การที่ท่านเห็นธรรมภายในนั้น การที่ท่าน จะเข้าถึงใจ พระพุทธเจ้าลำพังที่ท่านเห็น
พระอาจารย์แส่ว
เจ้าคุณอมราภิรักขิต
คุณค่าสมาธิธรรม
จากนั้นพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต พาท่านไปจำพรรษาในปีแรก อยู่ที่วัดบ้านน้ำดุกปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กับพระอาจารย์คำพา ที่วัดน้ำดุก(ปากช่อง)นี้เป็นวัดป่า ที่สงบไม่วุ่นวายเป็นที่รบกวนสมาธิ ท่านได้พยายามฝึกฝนอบรม ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา กำหนดอารมณ์จิต สู่วิปัสสนากรรมฐาน เช่นในหนังสือ แบบถึงไตรสรณาคมน์ได้ระบุไว้ทุกประการ ท่านได้พยายามจดจำ กำหนดบริกรรมพุท-โธไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิต จะเข้าสู่ความสงบ แล้วให้มีสติรู้ชัดอยู่อย่างนั้น จากนั้นท่านให้ทำความรู้สึกมาไว้เฉยอยู่ จนกว่าจิตจะเข้าสู่ภวังค์ อีกวิธีหนึ่งก็คือการเดินจงกรม ท่านเดินจงกรม ไป มา ระยะทาง ๒๐ เมตร จนจิตเข้าสู่ความสงบนั่นแหล่ะ รู้จักจิตใจเป็นสมาธิ ว่ามีความรู้สึกตรึงใจเพียงไร การปลีกตัว เข้าสู่ความสงบนั้น แม้เป็นตรอกซอกซอยเล็ก ๆ ก็ตามเถิด ถ้าได้ทำความเพียรจริง ๆ แล้วก็ได้พบแน่ ๆ ได้รู้จักความสงบอันแท้จริงแล้ว ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติมองเห็นโลก มองเห็นชีวิตที่ดำเนินอยู่นั้นอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม แล้วยังเกิดความสงสารตัวเองจนน้ำตาไหลว่า เหตุไฉนเรา ทั้งหลายเกิดมาแล้วจึงต้องมาเบียดเบียนแย่งชิงกัน แม้จะกินจะนอนจะนั่งจะหายใจล้วนแย่งชิงกัน คอยจ้องมองร้าย กันเสมอ ๆ ความดิ้นรน เอารัดเอาเปรียบทุกค่ำเช้าในปัจจุบัน ถ้าได้เข้าไปนั่งอยู่ในห้องความสงบจากสมาธิภาวนาแล้ว ท่านคิดว่าทุกคนจะ พากันสลดใจ เพิ่มพูนคุณค่า ของชีวิตที่เกิดมาชาติหนึ่ง
กุฏิวัดบ้านน้ำดุก ( ปากช่อง )
วัดน้ำดุก (ปากช่องเดิม)
แนวทางการเจริญวัตร
สามเณรทองอินทร์ แก้วตาได้เริ่มระเบียบแนวทางการในการบำเพ็ญธรรม แม้จะขาดครูบาอาจารย์ผู้สอน สั่งแต่ท่านก็มีความอุ่นใจที่ จะศึกษาพระวินัย และธรรม ปฏิบัติจากหนังสือแบบเข้าถึงพระไตรสรณาคมน์ ถึงแม้จะเป็น หนังสือที่พิมพ์มาก่อนหน้านั้น ๑๕ ปีแล้ว ก็ยังเป็นหนังสือเก่าแก่ที่มีคุณค่า ประมาณมิได้สำหรับ เราชาวพุทธควร เก็บรักษาสืบต่อไปเรื่อยๆ แม้ใครได้พิมพ์เป็น ธรรมบรรณาการ ก็จะ ได้อานิสงส์แรงมาก ครูบาอาจารย์ที่เป็น พระเถระผู้ใหญ่ยุคนั้นเคยอ่านได้รับอุบายชักนำจากหนังสือเล่มนี้เสียเป็นส่วนมาก หลายองค์ท่าน ปฏิบัติได้จนพ้นทุกข์ไป หลายองค์เป็นที่เคารพ ของศรัทธาญาติโยม
ท่านยังทำความเพียรและวางระเบียบให้แก่ตนเองดังนี้
การระบุชัดให้ผู้ดำเนินตาม เส้นทางแห่งพระสัทธรรมนั้น ภิกษุสามเณรจะต้องบำเพ็ญตามอย่างเคร่งครัดคือ
๑. ต้องตื่นนอนอย่างสายก็ไม่เกินตี ๔
๒. ตอนแรกทำภารกิจส่วนตัวล้างหน้าล้างตาและเก็บสิ่งของ ที่ตนเองใช้ให้มีระเบียบเรียบร้อยทุกอย่าง ห่มผ้าเป็น ปริมณฑล เตรียมบาตรรอไว้ แล้วทำวัตรเช้า
๓. นั่งสมาธิภาวนาพอสมควรแก่เวลา
๔. เดินจงกรมรักษาสติทุกฝีก้าว มีองค์ พุท – โธ เป็นองค์ภาวนา เมื่อสัมผัสสิ่งใด ต้องรู้ชัดแจ้ง ภายในความรู้สึก นั้นจนกว่าจะได้เวลาออกรับบาตร
๕.. บิณฑบาตเลี้ยงชีวิตเพื่อการปฏิบัติบูชาต่อไป กลับจากบิณฑบาตแล้วก็ให้เตรียมอาหาร แบ่งปัน แยกส่วน ให้เป็นระเบียบพองาม
๖. ปรนนิบัติพระอาจารย์จัดอาหารบาตรถวายก่อนถึงเวลาฉัน
๗. ฉันอาหารด้วยอาการสำรวม ฉันแล้วล้างบาตรเช็ด ตาก จนแห้งสนิทแล้วเก็บเข้าที่
๘. จากนั้นเดินจงกรมเป็นเวลา ๑ ชั่วโมงก่อนพักผ่อนหรือจะนั่งสมาธิภาวนา
๙. ตอนบ่ายเตรียมน้ำร้อน น้ำสำหรับพระอาจารย์สรง ทำความสะอาดกุฏิพระอาจารย์ของตนเอง แล้วมาช่วยกัน ทำความ สะอาด กวาดลานวัดและถนน ในบริเวณวัดให้สะอาด
๑๐. สรงน้ำนุ่งห่มเป็นปริมณฑลรวมหมู่คณะทำวัตรเย็นฟังอบรมธรรมะ หรือจะสงสัยสิ่งใดก็จะกราบเรียนถาม นั่งสมาธิภาวนาจนเวลาพอสมควร จึงแยกย้ายกันไปยังที่พักของตนหรือเดินจงกรมต่อไปจนถึงเวลาพักผ่อน
ปฏิบัติภาวนา
ท่านเล่าว่าสมัยแรกๆตอนเป็นสามเณรนั้น จิตใจยังอ่อนมากจิตใจไม่เข้มแข็ง เวลานั่งมันจะง่วงหลับอยู่ร่ำไป ครูบาอาจารย์ท่านก็ว่าจิตใจ ยังอ่อนสติที่มา ควบคุมความรู้สึกความรู้สึกทั้งหลายนั้น มันยังเข้าไม่ถึง อุปมาเหมือน บุรุษหนึ่งคิดอยากจะช่วยบุคคลผู้กำลังรับภัยอยู่ต่อหน้า แต่การจะช่วย อย่างฉับพลันนั้นมันทำ ไม่ได้ใน เมื่อบุรุษนั้นอยู่ห่างไกลจากจุดที่เกิดเหตุเพียงแต่มองเห็นเท่านั้น ดังนั้นกว่าจะมาช่วยไว้ทัน บุคคลก็เคราะห์ร้าย เสียก่อนแล้ว เช่นเดียวกับสติของท่านตอนนั้นมันไล่ตามอารมณ์จิตไม่ทันก็เลยเผลอหลับไปหลายครั้ง ด้วยเหตุน ี้สมัยเป็นเณรจึงชอบเดิน จงกรมมากกว่า จะให้นั่งสมาธิภาวนา ท่านเดินจงกรม ได้เป็นเวลา นานๆและ จิตใจก็สงบเป็นสมาธิดีมากอีกด้วย การเดินจงกรมก็ว่างอารมณ์เป็นกลาง เดินไปเรื่อยๆมีสติรู้อยู่เสมอใจนั้นก็บริกรรมพุท-โธๆไม่ขาด บางครั้งท่านรู้สึกว่าการบริกรรมภาวนาพุท-โธนั้น ดูเหมือนมันจะควบคู่ไปทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ตั้งใจ นั้นแหละพุทโธเกิดความชำนาญมันเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ มันรู้สึกพุท-โธไปเรื่อยๆ ออกจากเดินจงกรมแล้วก็เป็น นั่งฉันอาหารอยู่ก็เป็น นั่งภาวนาอยู่ก็เป็น นอนหลับก็เป็น พุท-โธอยู่อย่างนั้น เวลาตื่นขึ้นคำว่าพุท-โธนั้นก็ยัง ก้องอยู่ในจิตใจ ดูเหมือนๆกับว่าตนเองตื่นอยู่โดยไม่ได้หลับเลย เลยทำให้ได้คิดว่า นี่เราเอง ไม่ประสาอะไร เลยก็ยังได้รับความทราบซึ่งในธรรมะถึงขนาดนี้ แล้วพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ครูบาอาจารย์ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งหลายว่าท่านมิเปี่ยมสุขอย่างมหาศาลนี่ละหรือ ได้คิดเช่นนั้นก็เกิดปิติใจมีความมานะพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อฝึกฝน จิตใจของตนเองให้เข้มแข็งกล้าหาญยิ่งขึ้นต่อไป
กำหนดรู้จิต
ครั้งหนึ่งท่านกำลังเดินจงกรมไปมาอยู่นั้น จิตรวมอย่างรวดเร็วมีความรู้สึกแต่ตอนต้นว่าจิตวูบลง ไปเหมือน ทิ้งก้อนหินลง ไปยังหน้าผาแล้ว นิ่งสงบอยู่มัน เหมือนมีก้อนอะไรปรากฏขึ้นตรงหน้าอกช่วงนั้น แล้วตกวูบ ลงไปท่านไม่กลัวอะไรสิ่งหนึ่งมันปรากฏให้รู้ภายในนั้นว่า นี่คือใจมันรู้สึกขึ้นมาเท่านั้นแหละ พอออกจาก สมาธิความรู้สึกนั้นก็ยังมีอยู่มันรู้ชัดอยู่อย่างนั้น ก็เลยทำให้รู้จักคำว่าจิต-ใจนั้นเป็นอาการอย่างไร ตั้งแต่บัดนั้นในเรื่องนี้ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือแบบถึงไตรสรณาคมน์ดังนี้ วิธีกำหนดให้รู้จิต ที่ตกลงสู่ภวังค์เอง พึงมีสติให้กำหนดรู้จิต ในเวลาที่กำลัง นึกคำ บริกรรมภาวนาอยู่นั้น ครั้นเมื่อเรา มีสติกำหนดจดจ่อคำบริกรรมภาวนาจริงๆ จิตของเราก็ย่อม จดจ่อต่อคำบริกรรมด้วยกัน เมื่อจิต จดจ่อต่อคำ บริกรรมอยู่แล้ว จิตก็ย่อมตั้งอยู่ในความเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางจิตย่อมวางอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตวาง อารมณ์ภายนอก แล้วจิตย่อมตกลงสู่ภวังค์เอง เมื่อจิตลงสู่ภวังค์ย่อม แสดงอาการให้รู้สึกได้ทุกคนตลอดไป คือแสดงให้รู้ว่ารวมวูบวาบแรงก็ดี หรือแสดง ให้รู้สึกว่าสงบนิ่งแน่วลงถึงที่แล้ว สว่างโล่งเยือกเย็น อยู่ในใจจนลืมภายนอกหมด คือลืมตนลืมตัวลืมคำบริกรรมภาวนาเป็นต้น แต่บางคน ก็ไม่ถึงกับลืมภายนอกแต่ก็ย่อม รู้สึกว่าเบากายเบาใจ เยือกเย็นเป็นที่สบายเฉพาะภายในเหมือนกันทุกคน
หลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต
ภาวนารักษาไว้
ท่านเป็นสามเณรที่มีความคิดพิจารณาได้ดีเยี่ยม สมกับเป็นผู้มีบารมีธรรมเมื่อการปฏิบัติภาวนา ได้ก้าวขึ้นสู่ ความสงบแล้ว ท่านก็ได้ชักชวน พระพี่ชาย(อาจารย์แส่ว) ไปบำเพ็ญธรรมในละแวกป่าใกล้ๆวัดที่จำพรรษานั้น เพื่อจะได้ฝึกกันให้เต็มที่ ยิ่งนานวันก็ยิ่งพึงพอใจกับสภาพความเป็นอยู่นั้น แต่สังขารของท่านกลับจะแย่ลง เนื่องจาก ป่าสมัยนั้นเป็นดงดิบ แม้จะไม่ไกลจากบ้านเกินไปนัก แต่ก็มีสิทธิที่จะเป็นไข้มาลาเรีย(ไข้ป่า)ได้ทุกคน ท่านเป็น ไข้ป่าในช่วงสงครามเลิกใหม่ๆราวสองสามปี แม้สงครามเลิกไปแล้วก็ตามแต่ว่ายารักษาไข้นั้นมันหายากมาก แล้วไม่ค่อย จะมีด้วย ไข้ป่าจะกำเริบเวลากลางวันเท่านั้น ตัวร้อนเพ้อจัดต้องคอยเฝ้าดูอาการ แต่เวลากลางคืน ก็มีอาการ เพียงครั่นเนื้อครั่นตัวเท่านั้น อาศัยว่าท่าน เคยได้สมาธิมาก่อนแล้วไม่มีความกลัวอะไรเลย คิดว่าเอาสมาธิภาวนา รักษาก็คงจะหายขาดได้ จิตใจมันคิดอย่างนี้แหละมันกล้าจริงๆ พอรู้สึก อาการเป็นอย่างนั้น ก็นั่งสมาธิภาวนา เลยแล้วอธิษฐานว่าหายๆๆๆๆ ไข้ป่าก็หายไปทั้งวัน วันที่สองก็เป็นอีกทำอย่างเก่าก็หายไปอีก ไข้ป่ากำเริบ อยู่สามวันก็หายขาด ด้วยอำนาจสมาธิภาวนานี้ โดยไม่ต้องกินยาเลย จิตใจกล้าเข้มแข็ง ก็สู้กับโรคภัย ไข้เจ็บได้อย่างอาจหาญเช่นนี้เอง
ไข้ป่าไปโรคใหม่มา
ภายหลังจากโรคมาลาเรียหายไปแล้ว ยังไม่ทันได้หายใจทั่วท้องโรคใหม่ก็ปรากฏโฉมให้เห็นอีก ท่านเป็นรูมาติกซั่ม กำเริบหนักปวด เข้าข้อเข้ากระดูกเจ็บปวดมากจนน้ำตาไหลปวดร้าวไปหมด ตอนนั้นยากินหรือยาทาไม่มีหรอก ทางที่ดีก็นอนทำสมาธิภาวนาทำจิตใจปล่อยอารมณ์โลก ซึ่งเมื่อนอนลงไปแล้วจะพลิกตัวไม่ได้เลยมันทรมานมาก ความเจ็บ ปวด รวดร้าวนั้นเป็นเรื่องของสังขารจิตของท่าน จะต้องการความอิสระก็ทำ
ภาวนาต่อไป ที่สู้พยายามบำเพ็ญคุณงามความดีก็หวังความอิสระให้เกิดขึ้นทางจิตมากกว่าความผูกพันท่านเป็นนักต่อสู้ กับอุปสรรคก็เกิดกำลังใจ ไม่ท้อถอย ทำจิตใจเข้าสู่ความสงบเป็นเวลานานๆ แต่ครั้นถอนสมาธิออกมา ก็พยายามพลิก ตัวดูความเจ็บปวด ก็ยังปรากฏ อยู่โรคร้ายนี้สร้าง ความรำคาญแก่ท่านเป็นอันมาก เวลาฉันอาหารก็ต้องกระดุกกระดิกตัว แต่ก็ทำได้เท่านั้นเพราะเจ็บปวดมาก ฉันอาหารได้เล็กน้อยความมานะอดท นต่อสู้กับวิบากอันเป็น เพื่อนเก่าต้อง ทนทานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ได้อาศัยสมาธิระงับดับความเจ็บปวดเป็นบางครั้งบางคราว ท่านเป็นรูมาติซั่มเพียง ๑๐ วันก็หายขาด
หลบเวทนา
วิธีหลบความเจ็บปวดของท่าน ได้รับอุบายมาจากหนังสือแบบเข้าถึงไตรสรณาคมน์ของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม โดยถือหลักหลบเวทนาดังนี้(พระพุทธเจ้าทรงรับรองความเบากายเบาใจนี้เรียกว่ายุคลธรรมมี ๖ ประการ) คือ
๑. กายลหุตา จิตตลหุตา แปลว่า เบากายเบาใจ
๒. กายมุทุตา จิตตมุทุตา แปลว่า อ่อนหวาน พร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
๓. กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ แปลว่า สงบพร้อมทั้งกาย ทั้งใจ
๔. กายุชุกตา จิตตุชุกตา แปลว่า เที่ยงตรงทั้งกาย ทั้งใจ
๕. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา แปลว่า ควรแก่การกระทำพร้อมทั้งกายทั้งใจ
๖. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา แปลว่า คล่องแคล่วสะดวกดีพร้อมทั้งกายทั้งใจ
ทั้ง ๖ ประการดังกล่าวนี้ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าทรงรับรอง เพื่อระงับทุกข์เวทนา ต่างๆคือระงับความเหน็ดเหนื่อยความเมื่อยล้า ความหิวโหยทั้งปวงตลอดถึงความเจ็บปวดทุกประการ ก็จะระงับกลับหายไปพร้อมกันรู้สึก ได้รับความสบายกายสบายใจปลอดโปร่งในใจขึ้นพร้อมกันทีเดียว นี้เป็นวิธีที่สามเณร ทองอินทร์ แก้วตา ปฏิบัติตอนที่มีอายุได้ ๑๘ -๑๙ ปี ดังเมื่อมีไข้ป่ากำเริบอย่างหนักไข้สูงถึงกลับเพ้อในบางโอกาส ก็อาศัยธรรมเป็นโอสถรักษาขณะป่วย-ไข้เป็นไข้ป่าอาหารขบฉันก็ไม่ค่อยได้พ้น ๓ วัน โรคร้าย รูมาติซั่มก็ มาเบียด เบียนเข้าอีกเป็นเวลา ๑๐ วัน ความอ่อนเพลียความเจ็บปวดและความหิวโหยก็ประดังกันเข้ามาทะลักดุจน้ำป่า ท่านจึง ต้องอาศัยธรรมะที่ตนเองเคยได้รับมารักษาอาการเจ็บป่วย อนึ่งหยูกยาในยุคสงครามเลิกใหม่ๆนั้นหาไม่ได้เอาทีเดียว มิหน่ำซ่ำการเจ็บป่วยนั้นก็นอน อยู่เฉยๆ ถ้าใครเป็นไข้หนักๆก็นอน รอความตายเท่านั้นเอง ตลอดเวลาที่ท่าน ป่วยไข้และรักษาโรคภัยด้วยสมาธิธรรมนั้น ไม่มีผู้ใดรู้เลยแม้แต่น้อย ว่าท่านปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จนจิตใจเป็น สมาธิและรู้วิธีหลบเวทนาได้อย่างคล่องแคล่วและชำนาญยิ่ง
อย่าห่างครู
แม้ท่านจะมีความแน่วแน่ปฏิบัติธรรมจนเกิดเป็นสมาธิทรงความสงบอยู่ได้ หลบเวทนาอยู่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่าน ต้องหลงผิด อยู่เสมอซึ่ง ท่านได้เล่าไว้เป็นคติสอนใจนักปฏิบัติทั้งหลายว่า จงอย่างห่างไกล ครูบาอาจารย์ จงพยายามไปมาหาสู่ท่านเสมอๆ ดูตัวอย่างในสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ท่านไปอยู่แห่งหนตำบลใด ลูกศิษย์ลูกหาก็เฝ้าติดตาม แม้ใครได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ได้ฟังธรรมได้สนทนาธรรม ก็จะเป็นผู้มีความสามารถ เอาตัวรอดปลอดภัยจากกิเลสตัญหาอุปาทานได้ ตอนที่ท่านบวชใหม่ๆ มองเห็นพระแก่ๆที่บวชมานาน ก็มานึกว่า ท่านน่าจะได้บุญมากมายแล้ว น่าจะสึกออกไปใช้ชีวิตภายนอก แต่เมื่อท่านนั่งสมาธิเข้าถึงความสงบทีไร มันก็นั่งเงียบดับหมด ไม่ได้ยินไม่ได้สนใจอะไรเลย ครั้นได้เวลามันก็คลายสมาธิเอง เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านคิดว่าตนเอง เป็นเณรบวช ไม่นานคงจะมีบุญน้อยยังไม่พอ ต้องฝึกฝนอบรมต่อไป จนกว่า จะสะสมบุญไว้มากๆ ก็คิดเอาเองเพราะมันขาดครูบาอาจารย์ ในตอนนั้นเลยทำให้เข้าใจไปเองทุกอย่างที่จะคิดได้
หลงผิดติดสงบ
ความสำคัญมีอยู่ว่า เวลานั่งสมาธิทีไรจิตจะดิ่งวูบลงไปเหมือนเอาก้อนหินหนักๆโยนลงน้ำวูบลงไปถึงก้นคลอง จิตวูบลงสู่ ความสงบมันว่างไปหมด สบายดีเหลือเกิน ไม่รับรู้อะไร คิดว่าดีแล้วพอแล้ว เมื่อท่านย้าย ไปอยู่วัดเนินแก้วสว่างสีทอง บ้านน้ำเฮี้ยใหญ่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พอดีพระอาจารย์หลอด ปโมทิโต ซึ่งเป็นพระพี่ชายเหมือนกัน ท่านฝักใฝ่ในทางธรรมะก็เลยได้คู่ดำดุ่ยๆ ทั้งที่ไม่มีครูบาอาจารย ์ชวนกันเที่ยวรุกขมูลโดยตั้งจุดประสงค์ว่า
๑ .เพื่อจะไปโปรดญาติโยม
๒. ประสงค์ปฏิบัติขั้นเด็ดขาดแบบอุกฤษฏ์ เพราะได้ทราบว่าพระในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านมีความเพียร อย่างมากชนิดเอาเดิมพันด้วยชีวิต ท่านก็พยายามเหมือนกัน ขณะเดินธุดงค์ในป่าพร้อมกับพระพี่ชาย ผลของการ บำเพ็ญภาวนาก็เหมือนเดิมทุกอย่างนั่งตัวตรงเป็นตอไม้ นั่งสมาธิทีไร ก็เข้าสู่ความสงบจิตดับหูดับไปเหมือนเดิม ไม่มีอะไรก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
นี่แหละถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ หรือห่างไกลครูบาอาจารย์ก็จะทำให้หลงทางได้ และมีเปอร์เซ็นมากเสียด้วย เป็นการหลงผิดติดสงบ อย่างที่ว่านี้แหละ
ภายหลังจากเข้าพรรษาปีนั้น ก็หยุดพักในการไปจำวัดในเขตป่าดงมาศึกษาเกี่ยวกับพระปริยัติธรรมบ้าง โดยการหาหนังสือนวโกวาท และวินัยมุขอีกเล่มหนึ่ง เอามาท่องให้ขึ้นใจอนุศาสน์ ๔ นั้น พยายามมากที่จะท่องจำ แต่การปฏิบัติภาวนาก็ไม่เคยทอดทิ้ง ยังนั่งสมาธิเดินจงกรมอยู่เสมอไม่ขาดตลอดพรรษา
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุ ๑๙ ปีจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านโนนแก้วสว่างสีทอง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ซากกุฏิวัดเนินแก้วสว่างสีทอง
ไปเชียงใหม่
ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๐ - พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านกับสามเณรไข่ กาญจกิงไพและนายนิพนธ์ กงถัน ผ้าขาวอีกคนหนึ่ง แล้วชวนกัน ไปภาคเหนือโดยเดินทาง จากจังหวัดเพชรบูรณ์มุ่งตรงไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยอาศัยเดินธุดงค์เพื่อไปหาพระพี่ชาย( พระอาจารย์แส่ว ) ก็ได้รับทราบว่าพระพี่ชายได้ไปอยู่จำพรรษา อยู่ที่สำนัก ปฏิบัติธรรมสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ จึงไปสมทบอยู่ด้วย ท่านก็ได้เข้า กราบพระเถระผู้ใหญ่แจ้งความประสงค์ ท่านได้ฟังธรรมะจากหลวงพ่อสิม พุทธาจาโร ก็เกิดศัทธาอย่างยิ่งได้ ถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านเลย และไปสมัครเรียนนักธรรมตรีและบาลีไวยากรณ์ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะแสวงหา ที่ศึกษา ปริยัติธรรมตามที่ตั้งใจไว้
หลวงพ่อสมัยยังหนุ่ม
โยมนิพนธ์ กงถัน
คิวริเปอร์อาศรม
ท่านพักอยู่กับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม ซึ่งเดิมใช้บ้านมิสเตอร์อาเธอร์ ไลอันแนส คิวริเปอร์ กับแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล ซึ่งเป็นบ้านร้างเนื่องจากเจ้าของหนีภัยสงคราม อพยพไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ปัจจุบันคือสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเวลา ๑ พรรษา ต่อมาหลวงปู่เหรียญ วรลาโภได้เดินทางไปอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง หลวงปู่สิม จึงกลับมา จากวัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง เจ้าของบ้านต้องการใช้บ้าน หลวงปู่สิมและคณะศิษย์จึงจำเป็นต้องหาที่อยู่ใหม่ หลวงปู่ได้ปรารภระหว่างเทศน์ว่า “ นกมันยังทำรังได้ คณะศรัทธา จะสร้างวัดอยู่สักวัดหนึ่งไม่ได้หรือ ”
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ พระนพีสีพิสาลคุณ อายุได้ ๒๑ ปีสอบนักธรรมตรีได้และในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ อายุได้ ๒๓ ปี สอบได้นักธรรมโท ที่สำนักเรียน วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
บ้านคิวริเปอร์อาศรมปัจจุบัน เป็นสำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อุโบสถวัดเจดีย์หลวง
อุปสมบท
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษาในปีนั้นที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ( ปัจจุบัน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ) ที่พำนักอยู่ด้วยกันที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม ได้มองเห็น ความสามารถและความประพฤติ ความตั้งใจจริง จึงได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดหาสิ่งของอันเป็นบริขาร ๘ คือเครื่องบวชทุกอย่าง และยังได้ถือ เอาเป็นพระอาจารย์ อีกองค์หนึ่งของท่าน ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ปีชวด เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระพุทธิโศภณ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลขันติคุณ(ต่อมาท่านได้เป็นท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก แห่งวัดเจดีย์หลวง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีแม่กาบคำ ณ เชียงใหม่เป็นเจ้าศรัทธา โดยได้ฉายาว่า กุสลจิตฺโต
พระพุทธิโศภณ
พระธรรมดิลก
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
ย้ายสำนักสงฆ์สร้างวัดใหม่
พระนพีสีพิสาลคุณพร้อมหมู่พระภิกษุสงฆ์โดยการนำของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร และศรัทธาญาติโยม ได้ช่วยกัน ทำการสร้างวัด
หนังสือสุทธิหลวงพ่อมหาทองอินทร์
เริ่มก่อตั้งรังใหม่สำนักสันติธรรมที่ถนนหัสดิเสวี
พ.ศ.๒๔๘๙- พ.ศ.๒๔๙๐ คณะศรัทธาญาติโยมนำโดยนางสาวนิ่มนวล สุภาวงศ์ หรือ นางสาวนิ่มคิ้ม แซ่เฮ้ง เป็นหัวหน้าหมู่คณะ ได้เจรจา ขอซื้อที่ดินของ พันโทพระอาสาสงคราม( ต๋อย หัสดิเสวี )และคุณนายพื้น อาสาสงคราม ๕ ไร่ และซื้อที่นาด้านใต้ อีก ๓ ไร่ ๓ งาน และซื้อเพิ่มอีกำรวมเป็น ๑๐ ไร่ ๑ งาน ๘๑ ตารางวา เป็นเงินทั้งสิ้น ๗,๕๖๘.- บาท ที่บ้านแจ่งหัวริน เพื่อจะสร้างวัด ซึ่งพันโทพระอาสาสงครามเมื่อขายที่ดินให้แล้ว ยังออกเงินช่วยสมทบสร้างกุฏิ และห้องน้ำเพิ่มให้อีก รวมทั้งควบคุมงานแผ้วถางและงานก่อสร้าง นายฮังยิ้น หรือแป๊ะฮังยิ้น ได้ขุดบ่อน้ำ ที่ได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้เรียกว่าน้ำบ่อแป๊ะในพรรษาแรกนี้มีพระภิกษุสามเณร อยู่ปฏิบัติธรรมจำพรรษามากกว่า ๑๕ รูปด้วยกัน ในจำนวนนี้ต่อมาได้มีชื่อเสียง และเป็นที่เคารพนับถือ ของคนทั่วไปคือ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่จาม มหาปุญโญ หลวงปู่ชอบ ฐานสโมฯลฯ ถือได้ว่า เป็นปฐมฤกษ์ที่ดีงาม
กุฏิสมัยแรก
พันโทพระอาสาสงครามและภรรยา
แม่นิ่มนวล สุภาวงศ์
ผลดีมีสอง
การที่พระภิกษุ สามเณรไปอยู่จำพรรษาตอนแรกนั้น ชาวบ้านก็ปลูกกระต๊อบเล็กๆให้อยู่เท่านั้น ไม่ได้เป็นวัด หรอกนะ เป็นที่เก่าแก่ไม่มีผู้คน มีความสงบเงียบดีมากเลยทีเดียว เพราะเป็นยุคสงคราม ผู้คนหลบหนีภัยความตายกันหมด จะมีอยู่บ้างก็ส่วนน้อยเป็นชาวบ้านธรรมดาๆเท่านั้น
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้เริ่มท่องตำหรับตำราและเดินทางไปเรียนยังวัดเจดีย์หลวง ซึ่งตอนนั้นได้เปิด สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แล้วท่าน เดินไปกลับราวๆ ๖ กิโลเห็นจะได้ ท่านชอบใจ เพราะว่า จะได้เดินจงกรมไปด้วยในตัวเลย เป็นผลดีทั้งในด้านพระปริยัติธรรม และปฏิบัติธรรม ควบคู่กันไปเลยทีเดียว
ในปีพ.ศ. ๒๔๙๒ เมื่อมีการสำรวจพื้นที่ครั้งแรกๆพบว่ามีอิฐ กระเบื้อง แนวกำแพงและมีเนินโบสถ์หรือวิหาร พอสันนิษฐานได้ว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นวัดมาก่อน ชื่อว่า “ วัดผ้าขาว ”แต่ไม่อาจสืบหาประวัติได้ เมื่อก่อสร้างพอม ีที่พักเป็นกุฏิไม้ ฝาไม้ไผ่ ขัดแตะ หลังคามุงใบตองตึงพออยู่ได้ พระนพีสีพิศาลคุณ จึงได้ย้าย จากสำนัก ปฏิบัติธรรมสันติธรรม อยู่มากับหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร ที่สำนักสงฆ์สันติธรรมนับแต่นั้นเป็นต้นมา
วันเปิดป้าย “วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่”
วัดสันติธรรมเป็นวัดราษฎร์ ทำการเปิดป้ายชื่อ “วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่”เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่สิม พุท?ธาจาโร เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าอาวาส รูปแรก ระหว่าง ปีพ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๑๐ ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้สร้างวัด ตามหนังสือเลขที่ ๑ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๙๖
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงตาแสง ชาวหลวงพระบาง ได้เศียรพระมาจากวัดปางมะโอ อำเภอพร้าว จึงได้นำมาถวายหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร หลวงปู่ได้ให้ช่างต่อเศียรพระ ให้เต็มองค์โดย ให้ช่างตั้งโรงหล่อ ที่วัดสันติธรรม พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย หน้าตัก ๒๙ นิ้ว นามว่า “ พระอนันตญาณมุนี ” เป็นพระพุทธรูปองค์รองในอุโบสถ ” ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ คือขุนเจริญจรรยา เสียมภักดี (ดังจะได้เล่าถึงประวัต ิความเป็นมาของในตำนาน“วัดสันติธรรมนครเชียงใหม่”อีกครั้ง)
พร้อมกับหล่อพระยืน ๒ องค์ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ คือ คุณอุไร เลาหไพบูลยกับคุณแม่ของคุณชุลี ปิฏกานนท์
ได้มีคุณหมอบรรจงเป็น ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินผ่าน ท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดาภรณ์ (สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี) ปัจจุบัน วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพ ฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูป พระประธานในอุโบสถ วัดสันติธรรมเป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง หน้าตัก ๕๙ นิ้ว สูง ๔ ศอกนามว่า” พระบรรจงนิมิตร”
วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๙๘ ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด และวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาที่มีขนาดส่วนกว้าง๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
พระอนันตญาณมุนี
งานฉลองวันเปิดป้ายวัดสันติธรรม
กลับไปอยู่เพชรบูรณ์
ในปีพ.ศ. ๒๔๙๗ พระนพีสีพิศาลคุณ อายุได้ ๒๖ ปี พระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต (แส่ว ) ได้ขึ้นมาจากเพชรบูรณ์ เพื่อมารับเอาตัวท่าน กลับไปอยู่ที่วัดศิลามงคล บ้านหินฮาว ตำบลหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และสอบนักธรรมชั้นเอกได้ที่สำนักเรียนวัดศิลามงคลนี้
วัดศิลามงคล
สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค
ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ปีต่อมาท่านอายุได้ ๒๗ ปีสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้เป็นพระมหา โดยได้ไปสอบที่สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการ เจ้าคณะอำเภอ จังหวัดเพชรบูรณ์
สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค
ในปีพ.ศ.๒๔๙๙ ท่านอายุได้ ๒๘ ปี สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ที่สำนักเรียน วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร ท่านได้รู้ธรรมวัจนะ คำสอนของพระพุทธเจ้า และท่านต้องการที่จะรู้ในทางปฏิบัติ จึงตั้งจิตทำใจให้แน่วแน่เป็นหนึ่ง แล้วนึกว่าจะอยู่ในเพศบรรพชิตนี้ต่อไปหรือจะสึก เกิดนิมิตมีเสียงดังขึ้นมา ภายในใจว่า “เราจะอยู่ไม่สึก ถ้าอยู่ก็หยุดเรียนได้แล้ว จงบำเพ็ญภาวนา เพื่อ มรรค ผล นิพพานต่อไป”
หลักฐานสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค
คุณพ่อตัวอย่าง
ช่วงนี้ท่านได้รับหนังสือจิต-สิกขา ศีล สมาธิ ปัญญาเล่มหนึ่งเขียนโดยพระสุธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)วัดอโศการาม จังหวัดมุทรปราการอ่านแล้วเกิดความซาบซึ้งในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก หนังสือเล่มนี้ท่านได้ส่งไปให้โยมพ่อได้อ่าน และให้ถือเอา ปฏิบัติตนด้วย เมื่อโยมพ่อได้รับหนังสือ ก็ได้ปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด นับเป็นผู้มีสติปัญญาและมีสัมมาปฏิบัติที่ควรแก่การสรรเสริญ โยมพ่อ ท่านได้ปฏิบัติ อยู่ในขอบเขตแห่งศีลธรรมมาด้วยดี ขณะที่ท่านทำไร่ไถนา ที่บ้านเพชรบูรณ์ ทุกฝีก้าวจะมีแต่คำภาวนาพุท-โธ ตลอดเวลา แม้กับการพูดจากับผู้หนึ่งผู้ใดคำว่าพุท-โธ จะต้องกล่าวนำก่อนทุกครั้ง แม้คำอุทานภาษา ชาวบ้านก็จะพูดคำหยาบยาวเหยียด แต่โยมพ่อของท่าน ใช้คำสั้นๆอุทานว่าพุท-โธ แล้วก็เงียบ ไม่พูดคำอื่นต่อ ทำให้ท่านสามารถควบคุมอารมณ์จิตได้ดีมาก
เมื่อถึงวันโกนวันพระท่านจะรักษาศีล นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกลมอย่างไม่ย่อท้อ เพราะท่านมีที่พึ่ง ทางใจอย่างมั่นคงแล้ว โยมพ่อของท่าน ยึดถือว่าการปฏิบัติบูชาสามารถกระทำให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้กำลัง ทำงานอยู่ก็สามารถอาราธนาศีล ละเว้นความชั่วบาปกรรมทั้งปวงได้เสมอ การกระทำความชั่วของตนนั้น ก็ไม่เห็นบุคคลนั้นไปขอใคร ก็ตัวเองเป็นผู้ก่อกรรมเองทั้งนั้น ฉะนั้นความดีเป็นผู้กระทำขึ้น ก็ไม่ต้องหา ที่อื่นอีกเพราะมันไม่มี
ความดีจะหาได้ในใจตนเองการทำความดีแม้ใครไม่เห็นเราก็หาสนใจไม่ มีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ท่านมองเห็นเทพเทวดาก็ ย่อมเป็นเพื่อนแก่เราได้ เพราะเรามีที่พึ่ง บุคคลเช่นโยมพ่อ ของท่านถือได้ว่าเป็คนจิตใจบริสุทธิ์จริง เชื่อผลของความดี มีหลักแหล่ง ของจิตใจที่บริสุทธิ์กว้างขวางสมบูรณ์ดีแล้ว
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
หนังสือ จิต-สิกขา
ของพระอาจารย์ ลี ธมฺมธโร
ดวงพุทโธอยู่ที่ใจ
ในปีต่อมาท่านได้เดินธุดงค์อยู่ในป่าดง พระอาจารย์แส่ว ได้ออกติดตามมาจากเพชรบูรณ์เพื่อแจ้งว่า ให้กลับไปเยี่ยมบ้าน เนื่องจากโยมพ่อป่วยหนัก ท่านจึงเดินทางไปเพชรบูรณ์
ท่านเล่าว่า “หนังสือจิตสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา เล่มนั้น มีพระคุณต่ออาตมาและโยมพ่อเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ท่านได้ปฏิบัติตาม แล้วสามารถควบคุม อารมณ์จิตที่เข้ามากระทบได้ดี ตอนที่ท่านป่วย ท่านสามารถใช้พลังจิตบังคับความเจ็บปวดได้อย่างดียิ่ง วิธีหลบจิตนี้เป็นวิธีหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนมาแล้ว เพราะตอนที่โยมพ่อท่านป่วย เป็นโรคท้องร่วงอย่างแรง ได้รับความทุกข์ทรมานมาก..ร่างกายผ่ายผอม กำลังวังชาก็ไม่มี การที่ท่านพระมหาทองอินทร์ ได้เห็นโยมพ่อสามารถใช้พลังจิต บังคับความเจ็บปวด ได้ด้วยความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ท่านถามโยมพ่อว่าสภาพสังขารเป็นถึงขั้นนี้ท่านอยู่ได้ด้วยอะไรหรือ โยมพ่อท่านตอบว่า อยู่ได้ด้วยพุทโธ สังขารนั้นสุดท้ายก็แตกดับไป จะมีอยู่ด้วยด้วยดวงพุทโธเท่านั้นเอง... ”
อำนาจจิตในธรรม
ท่านได้อยู่ปรนนิบัติดูแลโยมพ่อเป็นเวลานาพอสมควร นับได้ว่าผลการบวชเป็นพระ สามารถขอแนะนำ วิถีส่องทางเดินให้โยมพ่อได้ถูกต้อง แม้เพียงหนังสือจิตสิกขา ที่ส่งมาให้โยมพ่ออ่านเพียงเล่มเดียว ทำให้โยมพ่อ มีอำนาจสมาธิจากการที่ท่านปฏิบัติและอาศัยอำนาจศีลที่รักษามาโดยตลอด ก็มีผลทางจิตใจมาก ทำให้โยมพ่อ
๑ .เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
๒. สามารถบังคับโรคภัย บังคับเวทนา ขณะเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้
๓.มีความแกล้วกล้าอาจหาญ แม้จะมีความเจ็บปวดอยู่ต่อหน้า แม้จะมีความตายรออยู่ต่อหน้า ก็มีจิตใจ เป็นปรกติไม่หวั่นไหว
๔.มีอารมณ์จิตแจ่มใส เบิกบาน ยิ้มได้ทั้งๆที่อยู่ในขั้นทุกเวทนาอย่างแสนสาหัส
๕.มีดวงจิตติดแน่นอยู่กับพุทโธ วางสภาวะได้ และมีที่พึ่งทางใจคือความดีงาม
หากมีผู้ใดได้ปฏิบัติและยึดมั่นในความดีท่านทั้งหลายมีสุคติแน่นอน
สุคติเป็นที่ไป
ในปีพ.ศ. ๒๔๙๙ โยมพ่อของท่านพระนพีสีพิศาลคุณ ได้ถึงแก่กรรม แต่ก่อนที่จะสิ้นคืนนั้น ท่านเป็นผู้ให้สติ ให้ท่านเจริญสมาธิ ตลอดเวลา โยมพ่อท่าน นอนหลับเอาพุทโธเป็นเป็นที่พึ่งตลอด ตอนที่จิตออกจากร่างท่าน คงจะได้อารมณ์พระกรรมฐานแน่นอน ท่านอยู่จัดการ งานศพโยมพ่อเรียบร้อย จึงเดินทางกลับเชียงใหม่
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านอายุได้ ๒๙ ปีท่านยังอยู่กับหลวงปู่หลอด ปโมทิโต (พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ) ที่วัดศิลามงคล บ้านหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านได้อุทิศชีวิตให้กับ พระพุทธศาสนา และศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นท่านก็ขอกราบลาพระอาจารย์กุศล กุสลจิตฺโต กลับมาหาหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ที่วัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
มุ่งเข้าป่าหาดวงธรรมถ้ำผาจรุย
ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่อท่านสอบได้แล้ว ท่านก็เกิดความเบื่อหน่ายที่จะศึกษาเล่าเรียนต่อไป จึงคิดหาทางออก โดยการออกบำเพ็ญ มุ่งสู่ป่าดงพงไพร ท่านจึงขอกราบลา หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ไปหาสถานที่ปฏิบัติธรรมภาวนา เพื่อความรู้แจ้ง ในพระธรรม คำสอนขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น ตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเตรียมบริขารที่จำเป็น ก็มุ่งหน้าเข้า สู่ป่าเขาลำเนาไพร เพื่อออกธุดงค์กรรมฐานเพื่อแสวงหาสิ่งอันประเสริฐ คือดวงธรรมความจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ด้วยจิตใจ อันเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ โดยธุดงค์จากจังหวัดเชียงใหม่ไปทางจังหวัดเชียงราย โดยได้ขึ้นรถลากไม้จากเชียงใหม่ ไปต่อรถที่สถานีขนส่งจังหวัดลำปาง แล้วต่อรถไปจังหวัดเชียงราย ไปลงรถที่อำเภอพาน ขึ้นรถต่อไปบ้านป่าแงะ ซึ่งสมัยนั้นถนนหนทางลำบาก เต็มไปด้วยฝุ่นของถนนลูกรัง ท่านเลือกสถานที่อันสงบระงับแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย สถานที่แห่งนั้น ท่านเรียกว่าถ้ำผาจรุย โดยต้องเดิน ลุยโคลนตมมุ่งหน้าไปยังถ้ำ เพราะโดยรอบในเวลานั้น เป็นที่ลุ่ม เป็นท้องนาของชาวบ้านก็มี ที่ถ้ำผาจรุยนี้ ชาวบ้านที่แท้จริงนั้น มีบ้านเป็นส่วนน้อย มีผู้อพยพมาจากจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า บางครอบครัวก็นับถือกันมากเพราะเคยรู้จักกันมาก่อนหน้านี้ ไปพักที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาจรุยซึ่งเป็นสำนักกรรมฐาน ท่านบำเพ็ญสมณะธรรม ทำความเพียรภาวนาวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่จำพรรษาที่ถ้ำผาจรุยเป็นเวลา ๖ พรรษา สั่งสอนญาติโยม หลังจาก ที่ชาวบ้าน เสร็จจากการทำนาทำไร่ทำสวน ได้ผลัดเปลี่ยนหมุดเวียน กันมานิมนต์ขอฟังธรรมอยู่เป็นประจำมิได้ขาดทุกคืน จนเป็นที่เคารพนับถือ ของคณะศรัทธา และก่อให้เกิด ความศรัทธาเลื่อมใสของญาติโยมเป็นอย่างมาก ที่นี่ท่านมีเพื่อนสหธรรมิกที่เคยมาร่วมปฏิบัติภาวนาด้วยกัน พระครู วิเวกวัฒนาทร (หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก ) พระญาณวิศิษฐ์ (หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ) พระภาวนาภิรัต (หลวงปู่สังข์ สังข์กิจโจ) พระครูธรรมคุณาทร (สูนย์ จนทวฺณโณ ) เป็นต้น
วัดถ้ำผาจรุย
ถ้ำที่หลวงพ่อขึ้นไปนั่งภาวนา
จิตสอนจิต
ที่ถ้ำผาจรุยนี้ มีถ้ำผามากมาย มีสถานที่ปฏิบัติธรรม เดินจงกรมหลายแห่ง ท่านได้เข้าไปบำเพ็ญธรรมในถ้ำ เช่น ถ้าหน้าร้อนก็มีถ้ำบนเชิงเขา ภายในมีความกว้างขวางพอสมควร ถ้ำเป็นฤดูฝนก็ขึ้นไปถ้ำข้างบน เพราะถ้ำนี้อบอุ่น อากาศถ่ายเทได้ดี เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา อารมณ์จิตของท่านได้ปล่อยวาง ภาระทั้งหลาย ออกจากความคิดทั้งหมด ทำจิตใจตลอดเวลา ๓ วัน ๓ คืน ขณะที่นั่งสมาธิภาวนา อารมณ์จิต ที่เคยคิดวุ่นวายอยู่กับโลกเริ่มถูกคนให้ขุ่นอีก เลยพิจารณาถามขึ้นในใจว่า ทำไมหนอเราจึงทุกข์เช่นนี้ เราเอง สู้หลบหน้าเข้าป่า มาอาศัยถ้ำอยู่ หลบหน้าผู้คน จนแล้วจนรอด ความทุกข์ สัญญาที่เคยพบ ประสบมามันยังเฝ้าติดตามมารบกวนได้ในป่านี้เราจะทำอย่างไรหรือ พอท่านพิจารณายกเอาความทุกข์ขึ้นมา จิตใจภายในนั้นกลับผุดขึ้นว่า “ ก็ปล่อยวางเสียสิ ” เมื่อจิตตอบมาอย่างนั้น ความสงบก็สลัดอารมณ์ ที่คอยส่งออกไป ข้างนอกเสียจนหมดสิ้น เหลือแต่อารมณ์รู้อย่างเดียวคือ ความสบาย สงบเยือกเย็น นี้คือได้พบกับ ความจริงในครั้งแรกของสมาธิ
วิธีดับความคิด
พอจิตมีความสงบหลังจากได้สมาธิ ความคิดก็พุ่งขึ้นมาใช้อย่างเต็มที่ ปัญญาบ่งบอกความคิดนั้นไม่หยุดหย่อน รู้ชัดแล้วทันต่อความคิดนั้นทีเดียว แต่ต้องระวังถ้าเกิดความคิดความนึกมาก ความสงบความดับไม่เกิด ก็จะกลาย เป็นเครื่องฟุ้งซ่าน เพราะอะไร เพราะพูดมาก คิดมากมันเพ้อ ฉะนั้นคำสอนจึงมีการปล่อย วางอาศัยปัญญาวางเฉยสักแต่รู้ สักแต่ว่าทำเหมือนการงานนี้ เรากระทำไปตามหน้าที่ คือทำให้ดี ทำให้งาม เป็นที่เรียบร้อย ผลงานดี แต่อย่าหลงในผลงานนั้น หลงมากดีใจมาก มันก็ฟุ้งมากเท่านั้นเอง ปกติถ้าคนคิดมากๆ ก็กลายเป็นคนจิตไม่ว่างอยู่แล้ว อะไร ๆ ก็แบกไว้ทั้งหมด คิดว่าตัวเองเป็นผู้มีหน้าที่คิด เลยเป็นเหตุให้จิตไม่ปกติ คือ ฟุ้งซ่านเป็นทุกข์กลายเป็นโรคประสาทไปได้ ท่านจึงปฏิบัติโดยใช้วิธีดับความคิด เมื่อเวลาจิตฟุ้งซ่านขึ้นมา พิจารณาจิตให้แตกซ่านเกิด ปัญญาขึ้นมา ฝึกไปนาน ๆ พอมันคิดขึ้นมาปุ๊บ ก็เอาปัญญามาระงับ ให้สงบปล่อยวางทันทีเลย คิดดี คิดไม่ดี เอาปัญญามาดูแล้วดับวางมันเสีย เราก็จะปฏิบัติได้อย่างเต็มที่
สู่แดนธรรมถ้ำผาจม
ท่านจำพรรษาถ้ำผาจรุย ตลอดเวลาจิตสามารถถึงการปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีความตั้งใจว่า ชาตินี้จะขอเอาดีทางปฏิบัติภาวนา เมื่อไปอยู่ถ้ำผาจรุยก็ได้ผลทางจิตใจไม่น้อยเลย จิตใจสงบเยือกเย็นดี อารมณ์จิตที่กระเพื่อมไปมาเหมือนระลอกคลื่นก็ค่อยๆ สงบลงไป ถ้าเป็นอย่างสมัยแรก ๆ อารมณ์โกรธ อารมณ์ดีใจ อารมณ์ปิติ มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะแสดงยื่นออกมาเลยหน้าอีก ต่อมาเมื่อปฏิบัติฝึกอบรมเรื่อย ๆ ก็ได้ผลดี สมาธิเกิดง่าย สามารถดับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อออกพรรษาท่านธุดงค์ไปกับหมู่คณะ ไปทางเชียงราย อำเภอแม่สาย ท่าขี้เหล็ก เขตชายแดนประเทศพม่า เมื่อไปถึงก็เข้าหาที่พักบำเพ็ญธรรม ก็เลยเข้าไปถ้ำผาจม ซึ่งเวลานั้นก็มีแต่ป่ากับถ้ำ บ้านเรือนไม่มีอย่างเดี๋ยวนี้และกุฎิ ศาลา ก็ยังไม่มีอย่างเดี๋ยวนี้ อาจารย์วิชัย เขมิโย ท่านเคยอยู่ถ้ำผาจรุยด้วยกัน ไปสร้างเสียใหญ่โตเลย มีผู้คนไปพักสบายมาก เวลานี้เจริญรุ่งเรือง ภายในถ้ำผาจมสมัยนั้น ก็มีแคร่ไม้อยู่คงจะเป็นที่ครูบาอาจารย์ไปอยู่บำเพ็ญธรรมกันตลอด เพราะสภาพป่าดงเงียบดี เหมาะแก่การภาวนามาก ภายในถ้ำนี้ก็น่าศึกษา มีเหตุการณ์น่าเรียนรู้โดยเฉพาะทางจิต ท่านไปอยู่ทำภาวนา ๒ เดือนเท่านั้นเอง ได้ไปปฏิบัติธรรมในสถานที่อันเหมาะสม ผู้คนไม่มีเข้าไปวุ่นวาย มันไม่น่าดูอะไรตอนนั้น ตลาดแม่สายก็ไม่เจริญ ผู้คนก็มีไม่มาก พอได้อาหารฉันบ้างไม่ถึงกับลำบาก ท่านอยู่ครบ ๒ เดือน ก็กลับไปที่ถ้ำผาจรุยอีกครั้ง พร้อมกับคิดปรับปรุงสถานที่นั้นให้ดีขึ้น เมื่อเข้าพรรษาก็มีพระเณร มาจากที่อื่น หลายรูปมาอยู่ปฏิบัติธรรม ต่างก็ได้ซ่อมแซมแนวกำแพงหินบางส่วน ทั้งยังได้ปรับปรุงถ้ำให้เป็นที่ทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา ตลอดจนกุฏิกรรมฐานขึ้น แม้จะไม่แข็งแรงก็สามารถอยู่ได้ตลอดพรรษาเลยทีเดียว
วัดถ้ำผาจรุย
นิมิตหลวงปู่มั่น
ท่านเล่าให้ฟังว่า อาตมาเป็นพระประหลาดอยู่ คือชอบอยู่ลำพัง ไม่ชอบอยู่ร่วมหมู่คณะ นี้เป็นส่วนลึกนะ ก็ตอนนั้นอาตมามีรูปภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็ได้อัญเชิญไปด้วยทุกครั้งที่ได้ไปอยู่ป่า พอไปปฏิบัติอยู่ก็เกิดนิมิต เห็นท่านนั่งอยู่บนขอนไม้ ท่านมองดูอาตมาอยู่นิดหนึ่งก็ได้กวักมือเรียกเข้าไปใกล้ๆ แล้วท่านก็พูดว่า มานี่ซิเราจะบอกอุบายให้นำไปปฏิบัติ เมื่ออาตมาคลานเข้าไปใกล้ท่าน ทำการนมัสการแล้ว ก็ประนมมือรับฟังโอวาท ท่านพูดขึ้นว่า การภาวนานั้นให้เธอตั้งใจจับอารมณ์ไว้แต่ภายในเท่านั้น อย่าไปตั้งไว้ข้างนอกนะ เอาล่ะไปปฏิบัติได้ พอท่านพูดจบก็หายไป อาตมาได้พิจารณาดูตามนิมิต ก็เห็นเป็นความจริง จะว่านิมิตหลอกหลอนก็ช่างเถิด เมื่อปฏิบัติไปเราก็ได้ธรรมะที่แท้จริง เพราะจิตส่งออกไปภายนอกนั้นครูบาอาจารย์สอนว่า มันจะไม่เป็นผลดีแก่ นักปฏิบัติเลย ส่วนหลวงปู่สิม พุทธาจาโรท่านได้แนะนำอุบายธรรมไว้อย่างนี้ ให้กำหนดรู้ คือรู้ภายใน และสิ่งที่มันห่อหุ้มตัวรู้อยู่ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ คือพิจารณาให้ประกอบด้วยเหตุผล แล้วพิจารณาความไม่เที่ยงในกองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร และกองวิญญาณ อันเป็นธาตุขันธ์ให้เป็นขันธวิมุตติ พ้นขันธ์เหล่านี้
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต