test วัดสันติธรรม : Santidham : นครเชียงใหม่

เปิดตำนานการจัดสร้าง พระกริ่งพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เพื่อบูรณะพระสันติเจดีย์ วั

 


ตำนานการจัดสร้าง
 
พระกริ่งพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม

 

เพื่อบูรณะพระสันติเจดีย์ 

วัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

 

 


๑. วัตถุประสงค์การจัดสร้าง
เพื่อสร้างวัตถุมงคลพระกริ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์สามารถอาราธนาทำน้ำพระพุทธมนต์รักษาโรค คุ้มครอง ป้องกันภัยอันตราย อำนวยพรให้เกิดโชคลาภได้ โดย ได้ประกอบพิธีทุกขั้นตอนตามพิธีกรรมโบราณ ทั้งในฝ่ายเถรวาทและมหายาน เพื่อที่จะมอบเป็นที่ระลึกให้กับผู้ร่วมทำบุญบูรณะพระสันติเจดีย์ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ และเป็นอนุสรณ์ ๕๕ ปี วัดสันติธรรมได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

 

๒. ชนวนมวลสารที่สำคัญประกอบด้วย

มวลสารที่สำคัญในการหล่อพระกริ่งพุทธชยันตีนี้ได้แก่ แผ่นทองยอดฉัตรพระสันติเจดีย์ ทองจังโกพระธาตุลำปางหลวง, พระธาตุหริภุญไชย, วิหารลายคำพระพุทธสิหิงค์, พระกริ่งวัดสุทัศน์ เจ้าคุณศรี ๑ องค์, พระกริ่ง ๑๕๐ ปี เจ้าคุณอุบาลี, ตระกุดเก่าของพระเกจิอาจารย์ อาทิ ญาท่านส่วน,หลวงพ่อแดง,หลวงพ่อคูณ,ครูบาดวงดี ฯลฯ แผ่นทองจารย์อธิษฐานจิตจากพระเถราจารย์ อาทิ พระธรรมมังคลาจารย์, หลวงพ่อประสิทธิ์, หลวงปู่สังข์, หลวงพ่อทองอินทร์,หลวงพ่อคูณ ฯลฯ และพระเถราจารย์อีกว่า ๑๔๑ รูป,รูปเหมือนหลวงพ่อประสิทธิ์รุ่นแรกที่ชำรุด พระสีวลีมหาลาภ รุ่น สองที่ชำรุด เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร รุ่น สันติเจดีย์ ปี ๒๕๑๗ เหรียญพระนพีสีพิศาลคุณ รุ่น ๑ รุ่น ๒ เหรียญพระเถราจารย์ต่าง ๆ และอื่น ๆ ยันต์ ๑๐๘ และ นะ ๑๔ ฯ ล ฯ  มวลสารอื่นที่ได้รับบริจาคจำนวนมาก

พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง  สิริมงฺคโล) วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมตตาจารย์แผ่นทองมอบให้เพื่อเป็นชนวนหล่อพระกริ่งพุทธชยันตี

พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ เมตตาจารแผ่นให้เพื่อเป็นชนวนหล่อพระกริ่ง

ฉัตรเก่าพระสันติเจดีย์

 

ทองชนวนคชสีห์ หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร วัดโรงธรรมสามัคคี

 

ทองจังโก พระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง

ทองจังโก พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน

ชนวนพระกริ่ง ๑๕๐ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส กรุงเทพ ๆ

 


ทองชนวน หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น

เหรียญคณาจารย์ต่าง ๆ และตระกุดต่าง ๆ

ชนวนพิเศษของพระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท


เครื่องเงินเก่า เป็นสมบัติส่วนตัวของญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาค


ขันสัมฤทธิ์ เครื่องใช้สัมฤทธิ์เก่า


ทองจังโกเก่า จาก พระธาตุลำปางหลวง, พระธาตุหริภุญไชย, วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เป็นต้น และยันต์เก่าที่พระเกจิอาจารย์ได้ปลุกเสกแล้ว

 

๓. พิธีเททองนำฤกษ์ 
วันจันทร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ 


พระพรหมเมธี เจ้าคณะภาค ๔ – ๕ – ๖ – ๗ (ธ)และกรรมการมหาเถรสมาคม วัดสัมพันธวงศาราม กรุงมหานคร เมตตาจารแผ่นทองชนวน และเจิมเทียนชัย










พระครูสังวรญาณโสภณ (หลวงปู่เจริญ ญาณวุฑฺโฒ) วัดถ้ำปากเปียง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พระมหาเถราจารย์ฝ่ายกรรมฐานที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับ วัดสันติธรรม และหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร โดยตรงและเป็นเวลายาวนาน

 

พระวิมลศีลาจารย์ (หลวงอำนวย) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร  เมตตาเขียนแผ่นยันต์ และประพรหมน้ำพระพุทธมนต์ ชนวนมวลสาร

 

วันอังคารที่ ๖ มีนาคม เวลา ๐๘.๓๐ น. 
พิธีบวงสรวงบอกกล่าวเทวดา สามแดนโลกธาตุ ให้มาร่วมอนุโมทนาบุญ และอำนวยพรให้การหล่อพระกริ่งสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

พระครูสังวรญาณโสภณ (หลวงปู่เจริญ ญาณวุฑฺโฒ) วัดถ้ำปากเปียง  ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 
พระราชวินัยโสภณ (หลวงพ่อบุญส่ง สุขปฺปตฺโต)  วัดล้านนาญาณสังวราราม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
พระครูวิทิตศาสนกิจ (หลวงพ่อไพโรจน์ วิโรจโน) วัดดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระวิมลศีลาจารย์ (หลวงพ่ออำนวย ภูริสุนฺทโร) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร 
พระครูโสภณกิตยาภรณ์  (หลวงพ่อเมธา สุเมโธ) วัดถ้ำผาปล่อง   อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
พระครูวิมลธรรมรัต (หลวงพ่อมหาศรีนวล วิมโล) วัดสันติธรรม  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่
และพระอาจารย์สำรอง ภทฺทิโย วัดป่าภูริทัตตาราม เมืองจีเซ่น เยอรมนี 
ร่วมอธิษฐานจิตในพิธีเททองหล่อนำฤกษ์ ณ มณฑลพิธี หน้าอุโบสถวัดสันติธรรม

พระกริ่งพุทธชยันตี หล่อนำฤกษ์ เมื่อนำออกจากเบ้าแล้ว มีสภาพสมบูรณ์สวยงามเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซนต์

๔. จำนวนจัดสร้าง 
พระกริ่งพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ ก้นทองคำ เฉพาะกรรมการ            จำนวน  ๑๙๙ องค์ 
พระกริ่งพุทธชยันตีก้นเงิน + พระชัยวัฒน์ เนื้อนวโลหะ                     จำนวน  ๒,๐๐๐ องค์ 
พระกริ่งพุทธชยันตี + พระชัยวัฒน์ เนื้อสัมฤทธิ์                                จำนวน  ๒,๐๐๐ องค์ 
พระกริ่งสันติธรรม เนื้อนวโลหะ                                                         จำนวน ๕๕๕ องค์
เหรียญหล่อพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ                                                 จำนวน ๒,๖๐๐ เหรียญ 
พระผงพุทธชยันตี เนื้อผงพุทธคุณ                                                    จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ 

๕. พุทธลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ 
๑) พระกริ่งทรงประทับนั่งฐานบัวหงาย ถือเป็นเอกลักษณ์ ของพระกริ่งพุทธชยันตี วัดสันติธรรม
๒) ทุกองค์ ตอกโค๊ด กำกับ ๓ โค๊ต  คือ โค๊ตเลข ๕ ตอก ๒ ตัว และโค๊ต รูป สันติเจดีย์ ตอก ๑ ตัว  ตอกตัวเลขกำกับตามจำนวนสร้างก้นทองคำ ๑๙๙ องค์ เฉพาะกรรมการ 
อุดกริ่งด้วยหัว “ส”ทองคำ หมายถึง “สันติธรรม”และ“หลวงปู่สิม”และ”หลวงพ่อมหาศรีนวล” ก้นเงิน ๒,๐๐๐ องค์ อุดกริ่งด้วย หัว”ช” เงิน หมายถึง “ชยันตี” แปลว่าชัยชนะ 
ก้นทองแดง อุดกริ่งด้วยหัว “ช”  เช่นเดียวกัน 
๓) ก้นของพระกริ่งพุทธชยันตีทุกองค์อุดสองรูป คือ อุดกริ่ง ๑ รู และอุดผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ๑ รู

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อนวะโลหะ ด้านหน้า

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อนวะโลหะ ด้านข้าง

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อนวะโลหะ ด้านข้าง

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อนวะโลหะ ด้านหลัง

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านหน้า

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านข้าง

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านข้าง

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านหลัง

พระกริ่งพุทธชยันตีเนื้อนวะโลหะ และเนื้อสัมฤทธิ์

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อนวโลหะพิ้งโกล ด้านหน้า

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อนวโลหะพิ้งโกล ด้านข้าง

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อนวโลหะพิ้งโกล ด้านข้าง

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อนวโลหะพิ้งโกล ด้านหลัง


พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านหน้า

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านข้าง

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านข้าง

พระชัยวัฒน์พุทธชยันตีเนื้อสัมฤทธิ์ ด้านหลัง

 

พระกริ่งสันติธรรม สร้าง ๕๕๕ องค์ มีเฉพาะในชุดกรรมการ ๑๙๙ ชุด เท่านั้น

พระกริ่งสันติธรรม ด้านข้าง

พระกริ่งสันติธรรม ด้านข้าง

พระกริ่งสันติธรรม ด้านหลัง

แบบขี้ผึ้งเหรียญหล่อโบราณนวโลหะ พระพุทธชยันตี

พระผงแจกทาน พุทธชยันตี สร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อต่ออายุพระพุทธศาสนา วัตถุประสงค์เพื่อแจกทาน และบรรจุในกรุพิพิธภัณฑ์พระธาตุบูรพาจารย์

 

ยันต์พุทธชินบัญชรชยันตี ลงหัวใจพระคาถาชินบัญชร และหัวใจพาหุง เพื่อเป็นที่ระลึกชัยชนะของพระพุทธเจ้า

 

พระผงพุทธชยันตี จัดสร้าง ๔ สี
สีขาว จำนวน ๒๑,๐๐๐ องค์
สีดำ จำนวน ๒๑,๐๐๐ องค์
สีน้ำหมาก จำนวน ๔๒,๐๐๐ องค์ 
ชุดพิเศษกรรมการจัดสร้าง
สีเทาฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์บาตร จำนวน ๒,๖๐๐ องค์ 
สีขาว ฝังหัวนะโม จำนวน ๓๐๐ องค์ 
สีดำ ฝังหัวนะโม จำนวน ๓๐๐ องค์ 
สีน้ำหมาก ฝังหัวนะโม จำนวน ๓๐๐ องค์

 

๖.  งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม 
ฤกษ์พิธีมหาพุทธภิเษก เสาร์ ๕ มหามงคลพระกริ่งพุทธชยันตี

วันเสาร์ ที่ ๕  วันวิสาขบูชา (ของประเทศศรีลังกา) วันฉัตรมงคล  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ไทย ตรงกับ เดือนพฤษภาคม (๕) ปี มะโรง (๕) พุทธศักราช ๒๕๕๕  เป็นปีที่ ๕๕ 
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เป็นปีครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี พุทธชยันตี การตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  (พุทธปรินิพพานได้ ๒๕๕๕ ปี + บำเพ็ญพุทธกิจหลังตรัสรู้ ๔๕ ปี = ๒,๖๐๐ ปี)

พิธีบวงสรวงเทวดา วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๕.๕๕ น. โดยมีหลวงพ่อพระครูวิมลธรรมรัต เป็นประธานและคณะศรัทธาวัดสันติธรรม ผู้บวชเนกขัมมะ ร่วมพิธี 
บอกกล่าวประกาศเทวดาทั่วสามแดนโลกธาตุให้มาร่วมอนุโมทนามหาบุญที่กำลังจะประกอบพิธีกรรม

เวลา ๐๙.๓๐ น. ประกอบพีธีบวชเนกขัมมะบารมี มีผู้สมัครเข้าร่วมพิธีกว่า ๒๕๐ ท่าน ถือว่ามีผู้มาร่วมงานมากเกิดกำหนดกว่า ๒ เท่า ซึ่งแต่เดิมคาดว่า ๑๐๐ ท่าน

เครื่องประกอบสำคัญในพิธี

๑.มณฑลพิธี ราชวัตร ฉัตรเก้าชั้น ๑๒ ฉัตร 
๒. ต้นกล้วย อ้อย มะพร้าว เป็นต้น
๓. ตัวนะกำกับ ๑๔ ตัว ถักด้วยสายสิญจน์ และด้วย ๗ สี
๔. ภาพตังก้า (พระบฏ) รูปพระไภษัชชัยยะคุรุพุทธเจ้า 


เนื่องจากพระกริ่ง เป็นพระพุทธปฏิมาของพระไภษัชชัยยะคุรุพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นราชาแห่งการรักษาโรคทั้งทางกายและทางใจของสรรพสัตว์  จึงได้อัญเชิญภาพตังก้าของ
พระองค์มาเป็นประธานในมณฑลพิธี ซึ่งภาพตังก้านี้ ทำการวาดโดย พระฬส สุกิตฺติยานนฺโทและคุณสมสกุล วาดกันเองภายในวัด ใช้เวลา วาด ๑ เดือน มีการบริกรรม
ภาวนากำกับตลอดเวลา โดยผู้วาดได้ถือรับประทานมังสะวิรัตตลอดชีวิต  ด้านหลังของภาพตังก้า  เขียนจารึก พระสูตร ไภษัชชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร 
พร้อมอักขระธารณี ประจำพระองค์ โดย พระมหาอมรเทพ อมรเทโว  หลวงพ่อพระครูวิมลธรรมรัต ได้ปิดทองคำเปลว จำนวน ๗ แผ่นกำกับไว้ด้านหลัง

๕. ผ้ายันต์พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี มหาชัยมงคล  เป็นยันต์กำกับมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีผ้าขาว อักขระสีแดง และผ้าแดง อักขระสีทอง ออกแบบโดย พระมหาอมรเทพ อมรเทโว 
วัดสันติธรรม เขียนภาพประกอบยันต์โดย พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท และคุณโจ ทำการพิมพ์สกรีน โดย คุณไพฑูรย์ ชะอุ้ม ร้านไพฑูรย์โฆษณา โดยมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา 
ช่วยเป็นลูกมือ ทำการสกรีน ในศาลาปฏิบัติธรรมชั้น ที่ ๑  ได้ผ้ายันต์เล็ก จำนวนประมาณ ๑,๖๐๐ ผืน   ผ้ายันต์ใหญ่ สีขาว จำนวน ประมาณ ๓๐๐ ผืน  สีแดง ประมาณ ๓๐๐ ผืน

๖. เทียนมงคลต่าง ๆ  ดังรายการข้างล่างนี้ เขียนไส้เทียนด้วยอักษรธรรมล้านนา ลงยันต์กำกับตามประเภทของเทียน จำนวนไว้เทียน ถือตามความเหมาะสมของเทียนประเภทนั้น ๆ  ทำการสีเทียนโดยพระสงฆ์วัดสันติธรรมร่วมกันทำ ดังนี้


๑. เทียนบูชาพระรัตนตรัย ๒ เล่ม  
๒. เทียนน้ำมนต์ใหญ่ ๑ เล่ม  
๓. เทียนบูชา พระไภษัชชัยคุรุพุทธเจ้า จำนวน ๔๙ เล่ม  
๔. เทียนบูชา พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์  ๒๘ เล่ม
๕. เทียนบูชา พระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์  ๘๐ เล่ม
๖. เทียนนวหรคุณ ๙ เล่ม๗. เทียนโสฬสมงคล ๑๖ เล่ม
๘. เทียน ธาตุ ๔ ๔ เล่ม
๙. เทียน มงคลซ้าย – ขวา ๒ เล่ม
๑๐. เทียนบาตรน้ำพระพุทธมนต์ ๙ เล่ม
๑๑. เทียนพระพิธีธรรม ๕ เล่ม
๑๒. เทียนชัยมหาพุทธภิเษก ๑ เล่ม     

ก่อนจะนำพระเข้าพิธีมหาพุทธภิเษก ได้นำพระกริ่งพุทธชยันตี ไปขอเมตตาจากพระมหาเถราจารย์ผู้ทรงคุณธรรม ได้แผ่เมตตาปลุกเสกอธิษฐานจิต ดังนี้

๑. เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์  วัดสัมพันธวงศาราม  กรุงเทพมหานคร

๒.พระราชภาวนาพินิจ (หลวงปู่สนธิ์  อนาลโย) 
วัดพุทธบูชา แขวงบางมด  เขตทุ่งครุ  กรุงเทพมหานคร

๓.พระวิมลศีลาจารย์ (หลวงพ่ออำนวย  ภูริสุนฺทโร) 
วัดบรมนิวาส แขวงรอบเมือง  เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร

๔. พระครูนิทัศนพลธรรม (หลวงพ่อต่อ)  วัดเขาแก้ว อ.พยุหคีรี  จ.นครสวรรค์

๕. พระครูนิสิตคุณากร (หลวงพ่อสนม)  วัดพระปรางค์เหลือง  อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์

 

พิธีมหาพุทธาภิเษก พระกริ่งพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี
ณ อุโบสถวัดสันติธรรม ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

พระครูปัญญาวราภรณ์ (หลวงปู่สมภาร ปญฺญาวโร)  
วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ เป็นประธาน จุดเทียนชัย มหาพุทธาภิเษก

พระครูวิมลธรรมรัต (หลวงพ่อมหาศรีนวล  วิมโล) 
เจ้าอาวาสวัดสันติธรรม จุดเทียนบูชาพระไภษัชชัยคุรุพุทธเจ้า ๔๙ เล่ม
และคณะศรัทธา เนกขัมมะกว่า ๒๕๐ คนร่วมตั้งจิตอธิษฐานในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้

พระเถราจารย์ ๑๑ รูป นั่งปรกอธิษฐานจิต

พระครูปัญญาวราภรณ์ (หลวงปู่สมภาร  ปญญาวโร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ  จ.บึงกาฬ 
พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เคยรับโอวาทจากหลวงปู่มั่นโดยตรง เป็นพระมหาเถระผู้มีพรรษากาลสูงสุดในจังหวัดบึงกาฬ

พระราชเจติยาจารย์ (หลวงปู่ชูเกียรติ อภโย) วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นพระมหาเถระฝ่ายธรรมยุต ผู้มีพรรษากาลสูงสุดในเขตจังหวัดเชียงใหม่


พระราชวินัยโสภณ (หลวงพ่อบุญส่ง สุขปฺปตฺโต) วัดล้านนาญาณสังวราราม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน - แม่ฮ่องสอน (ธ)
เป็นศิษย์โดยตรงของ พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) ท่านได้เคยรับโอวาทจาก 
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นต้น

พระอาจารย์เปลี่ยน  ปญฺญาปทีโป  วัดอรัญญวิเวก  อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อเป็นพระมหาเถระองค์สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ผู้ทรงคุณธรรมเป็นที่เคารพสักการะทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ

พระครูธรรมคุณาทร (หลวงตาศูนย์ จนฺทวณฺโณ) วัดป่าอิสสระธรรม อ.อากาศอำนวย  จ.สกลนคร
หลวงตาท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ซึ่งเป็นศิษย์องค์ผู้ใหญ่ในหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงตาศูนย์ ท่านมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระนพีสีพิศาลคุณ (หลวงปู่มหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม
เพราะท่านเคยได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันที่ถ้ำผาจรุย อ.ป่าแดด จ.เชียงใหม่

พระครูเกษมวรกิจ(หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) วัดถ้ำผาจม  อ.แม่สาย จ.เชียงราย 
หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่แป่น ธมฺมธโร ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เป็นเสาหลักของจังหวัดเชียงราย

พระครูจันทสีลคุณ (หลวงพ่อบุญจันทร์  จนฺทสีโล) วัดป่ากิ่วดู่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 
หลวงพ่อบุญจันทร์ จนฺทสีโล เป็นศิษย์อุปัฏฐากใกล้ชิดของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งของเชียงใหม่

พระอาจารย์บุญหนัก  ถาวโร  วัดพระธาตุดอยอ่างขาง อ.ไชยปราการ  จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อบุญหนัก ถาวโร เป็นศิษย์ของหลวงปู่อ่อนศรี สุเมโธ, หลวงปู่บัวพา ปญฺญาพาโภ, หลวงปู่ต้น สุทฺธิกาโม
หลวงพ่อเป็นพระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รูปหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่

พระครูสุจิณณานุวัตร (หลวงพ่อหนูพิน  ฐานุตฺตโม) วัดดอยแม่ปั๋ง  อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อหนูพิน ฐานุตฺตโม เป็นศิษย์โดยตรงของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ และหลวงปู่หนู สุจิตฺโต แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง
หลวงพ่อเป็นพระกรรมฐานผู้มีประสบการณ์เที่ยวธุดงค์มาอย่างโชกโชน เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

พระครูปัญญาศีลวัฒน์ (หลวงพ่อทองปาน ปญฺญาสาโร) วัดป่าบ้านใหม่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 
หลวงพ่อเป็นพระสุปฏิปันโน อีกรูปหนึ่งผู้เป็นเสาหลักพระกรรมฐานของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

พระครูวิมลธรรมรัต (หลวงพ่อมหาศรีนวล วิมโล) เจ้าอาวาสวัดสันติธรรม ได้ร่วมนั่งแผ่เมตตาอธิษฐานจิตพระกริ่งพุทธชยันตีพร้อมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งปวง

 

ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในพิธี


๑. หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร พระมหาเถระผู้เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดย ตรง ได้มาเมตตามาอธิษฐานจิตให้ ถึงที่วัดสันติธรรม  เนื่องจากเบื้องต้น
ได้รับคำตอบจากศิษย์ของหลวงปู่ว่า หลวงปู่อาพาธ เดินทางไม่ได้ ทำให้คณะผู้จัดงานถอดใจแล้ว ว่าหลวงปู่ไม่มาแน่นอน พอถึงตอนเย็นของวันที่ ๔ 
หลวงปู่มาถึงวัดสันติธรรม ทำให้มีความอัศจรรย์ใจ และทราบซึ้งในเมตตาคุณของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง

 

 

๒. หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก เมตตามาร่วมงาน โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เบื้องต้นทางวัดได้ส่งฎีกาถึงหลวงพ่อแล้ว แต่ไม่ได้รับยืนยันว่า
ท่านจะมาได้ เพราะส่งก่อนวันงานเพียง ๓ วันเท่านั้น เมื่อเริ่มงานไปแล้วกว่า ๑ ชั่วโมง ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่า หลวงพ่อจะมาเมตตาอธิษฐานจิตให้ ซึ่งพอดีกับที่
หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ท่านมีภารกิจต้องเดินทางไปกรุงเทพมหานครก่อนเสร็จพิธี  หลวงพ่อเปลี่ยน จึงได้มานั่งปรกต่อจากหลวงพ่อวิชัย เขมิโย สร้างความตื่นเต้น
และอัศจรรย์ใจให้กับคณะศรัทธาทั้งหมด เพราะไม่ทราบมาก่อนว่าหลวงพ่อจะมาร่วมพิธีได้

 

หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป ทักทาย หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ซึ่งกำลังจะเดินทางไปกิจนิมนต์ที่กรุงเทพมหานครต่อ

 

๓. มีผู้มาร่วมบวชเนกขัมมะมากมายจนล้นอุโบสถและเต้นท์ที่จัดเตรียมไว้ให้ เบื้องต้นรับสมัครเพียง ๑๐๐ คน พอถึงวันงานมีผู้มาบวชมากถึง ๒๕๐ กว่าคน 
มีบางคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนด้วยก็มีจำนวนมาก

๔. อากาศธรรมชาติ ชุ่มเย็น ตั้งแต่วันแรกที่พระกริ่งพุทธชยันตี เดินทางมาถึงจังหวัดเชียงใหม่  ก่อนหน้านั้นอากาศร้อนจัดทุกวัน แต่เมื่อพระกริ่งมาถึงวันแรก
ฝนก็ตกหนักเป็นครั้งแรกในรอบเดือน เมื่อเริ่มตั้งปรัมพิธีโยงสายสิญจน์ฝนก็ตกหนักทุกวัน ท้องฟ้ามีเมฆมาบังให้ได้รับความร่มเย็นตลอด แม้ในวันประกอบ
พิธีมหาพุทธาภิเษก ขณะเวลาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์พุทธาภิเษกนั้น มีละอองฝนตกลงมาเล็กน้อย ไม่เปียก เมื่อหลวงพ่อเปลี่ยนมาถึงมณฑลพิธี
มีลมกรรโชคแรงเกิดขึ้น จนกระทั้งหลวงพ่อท่านนั่งประจำที่แล้ว ลมก็สงบลง จนพิธีของพระเถรานุเถระเสร็จหมดแล้ว ฝนจึงได้ตกลงมาอย่างกับว่าฟ้ารั่ว  
มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง น้ำไหลเจิ่งนองวัดสันติธรรม ชุ่มเย็นตลอดทั้งคืน  จนกระทั้งเช้าแล้วก็ไม่หยุดตก  ฝนได้ตกหนักติดต่อกันไปอีกเป็นเวลา ๓ วัน  หลวงตาศูนย์ จนฺทวณฺโณ 
ท่านกล่าวว่า “ เทวดาทั้งหลายได้มาอนุโมทนา ในมหากุศลที่พวกเราได้จัดงานฉลองพุทธชยันตีครั้งนี้ ทำให้เกิดความร่มเย็นไปทั่ว”

๕. เทวดาชั้นผู้ใหญ่ ลงมาร่วมพิธี ตาม คำบอกเล่าของ หลวงปู่สมภาร ปญฺญาวโร หลังจากที่หลวงปู่กลับเข้าที่พักแล้ว ท่านได้เมตตาเล่าให้คณะศิษย์ ฟังว่า
"พระอินทร์ได้ลงมาร่วมพิธีด้วย พระอินทร์ตัวเขียว ๆ เดินเข้ามาในโบสถ์ด้วย" ซึ่งตรงกับพระเถระอีกรูปหนึ่ง ท่านบอกกับคณะศิษย์ของท่าน 
เมื่อว่า “ พิธีดีมากว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ มากให้อยู่จนสว่างให้ได้นะ ไม่ต้องไปนอนโรงแรม” "พระอินทร์ และวิสสุกรรมเทวบุตร 
พร้อมเทวดาบริวารจำนวนมากลงมาร่วมงานในพิธีนี้ ทำให้พระกริ่งนี้มีคุณเป็นแก้วสารพัดนึก เพราะวิสสุกรรมเทวบุตรเนรมิตให้" "หลวงพ่อเคยไปพุทธาภิเษกมาหลายพิธี
พิธีที่พระอินทร์ลงมาร่วมเองนี้ หลวงพ่อได้พบเพียงสองครั้ง คือ ครั้งแรกเป็นพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดสะเกศ กรุงเทพมหานคร เมื่อนานมาแล้ว และได้มาพบอีกครั้งใน
พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพุทธชยันตี วัดสันติธรรมนี้เอง"

 

 

พระเถรานุเถระฝ่ายกรรมฐาน ที่รับอาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
และอธิษฐานจิตพระกริ่งพุทธชยันตี มีรายนามดังต่อไปนี้ 
๑    พระครูจิตตภัทราภรณ์ (หลวงพ่อบุญฤทธิ์  จิตฺตสุโภ) วัดโรงธรรมสามัคคี  สันกำแพง เชียงใหม่ 
๒    พระครูธรรมวิวัฒนคุณ (หลวงพ่อเจริญ จตฺตสนฺโร) วัดอรัญญวิเวก  แม่แตง  เชียงใหม่ 
๓    พระครูปัญญาวรคุณ (หลวงพ่อทองแดง วรปญฺโญ) วัดพระเจ้าตนหลวง  แม่แตง  เชียงใหม่ 
๔    พระอาจารย์ถาวร  อนุตฺตโร สำนักสงฆ์  กม๒๗  กรุงเทพฯ 
๕    พระครูสุเมธปัญญาคุณ (พระอาจารย์สุเมธ สุเมโธ) วัดสันติวนาราม  อ.ฝาง  จ.เชียงใหม่ 
๖    พระครูธรรมวารีนุรักษ์ (พระอาจารย์คำหล้า) วัดป่าน้ำริน  อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่ 
๗    พระครูสิริบุญญวัฒน์ (พระอาจารย์เศวต สุกฺกสิริ) วัดเจติยบรรพต  พร้าว  เชียงใหม่ 
๘    พระครูโสภณกิตยาภรณ์ (พระอาจารย์เมธา  สุเมโธ) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงดาว  เชียงใหม่ 
๙    พระครูสุวิมลวรการ วัดป่าเจริญธรรม สันป่าตอง เชียงใหม่ 
๑๐  พระครูประสิทธิ์คณารักษ์ (หลวงพ่อถนอม ญาณปาโล) วัดแม่ปาง  แม่ลาน้อย  แม่ฮ่องสอน 
๑๑  พระครูสังวรธรรมาภินันท์ (พระอาจารย์สำเริง อุชุจาโร) วัดทุ่งเมืองปอน  ขุนยวม  แม่ฮ่องสอน 
๑๒  พระครูวินัยธรสำรอง  ภทฺทิโย วัดภูริทัตตาราม เมืองจีเซ่น ประเทศเยอรมนี 
๑๓  พระครูวิชัยธรรมมงคล วัดท่าศิลา  อ.ส่องดาว  จ.สกลนคร 
๑๔  พระอาจารย์จรัญ  อภิชาโต วัดถ้ำพระโบราณ  แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน 
๑๕  พระอาจารย์สัมภาษณ์  สมฺภาโส วัดป่าธรรมรส  ดอยหล่อ  เชียงใหม่ 
๑๖  พระอาจารย์กาเข่ง  เขมโก วัดป่าดอยอุดมธรรม บ้านอมแพลม จังหวัดเชียงใหม่ 
๑๗  พระโสภณธรรมสาร วัดป่าดาราภิรมย์ แม่ริม เชียงใหม่ 
๑๘  พระครูปลัดสุวัฒนวรคุณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เมือง เชียงใหม่ 
๑๙  พระอาจารย์ภักดี  เขมธโร วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม จ.ปราจีนบุรี 
๒๐  พระอาจารย์สถิตย์   สมาหิโต สำนักสงฆ์เขาชีปิด  จ.ปราจีนบุรี

พระสงฆ์วัดสันติธรรมและผู้บวชเนกขัมมบารมี ร่วมกันเจริญพระพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) ๒,๖๐๐ จบ

รอบที่ ๒)         ๒๑.๐๐ น. – ๒๒.๓๐ น. พระภิกษุสามเณรวัดสันติธรรมเนกขัมมะ ๒๕๐ คน ร่วมเจริญพุทธมนต์ บท พาหุง ๙ จบ    
รอบที่ ๓)        ๒๓.๐๐ น. – ๐๐.๓๐ น. พระภิกษุสามเณรวัดสันติธรรม และเนกขัมมะ ๒๕๐ คน ร่วมกันสวดทิพย์มนต์ (สวดธาตุ)
รอบที่ ๔)         ๐๑.๐๐ น. – ๐๒.๓๐ น. พระภิกษุสามเณรวัดสันติธรรมเนกขัมมะ ๒๕๐ คน ร่วมเจริญพุทธมนต์ บท พาหุง ๙ จบ
รอบที่ ๕)         ๐๓.๐๐ น. – ๐๔.๓๐ น. พระภิกษุสามเณรวัดสันติธรรมเนกขัมมะ ๒๕๐ คน ร่วมกันเจริญ คาถา พระไภษัชชัยคุรุ ๑๐๘ จบ
รอบที่ ๖)        ๐๕.๐๐ น. – ๐๖.๓๐ น. พระภิกษุสามเณรวัดสันติธรรมเนกขัมมะ ๒๕๐ คน ร่วมเจริญพุทธมนต์ บท พาหุง ๙ จบ

 

พระภิกษุ – สามเณรวัดสันติธรรม ร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์ ทิพย์มนต์ และบทสรรเสริญพระไภษัชชัยคุรุพุทธเจ้า เพื่อสมโภชพระกริ่งตลอดราตรี

ผู้บวชเนกขัมมะบารมีร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระกริ่งพุทธชยันตี

มีคณะศรัทธามาร่วมงานมากจนล้นอุโบสถ

ในเต็นท์ที่เตรียมสำรองไว้ก็เต็มไปหมด

ในศาลาปฏิบัติธรรมก็มีศรัทธาบางส่วนมาร่วมนั่งเจริญพระพุทธมนต์เช่นกัน

พระครูธรรมคุณาทร (หลวงตาศูนย์  จนฺทวณฺโณ) วัดป่าอิสสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร 
ประกอบพิธีดับเทียนชัย เวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕

 
 

รายการร่วมทำบุญ

ลำดับ

รายการ

สร้าง

บูชา (บาท)

ชุด กรรมการอุปถัมภ์ 
พระกริ่งพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ อุดก้นทองคำ เฉพาะกรรมการ ๑ องค์ ๘,๐๐๐ บาท 
พระกริ่งพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ อุดก้นเงิน ๑ องค์ ๒,๕๐๐ บาท 
พระชัยวัฒน์ฯ เนื้อนวโลหะ ๑ องค์ (รวมกับพระกริ่ง นวโลหะ) 
พระกริ่งพุทธชยันตี เนื้อสัมฤทธิ์ ๑ องค ์ ๑,๐๐๐ บาท 
พระชัยวัฒน์ฯ เนื้อสัมฤทธิ์ ๑ องค์ (รวมกับพระกริ่ง สัมฤทธิ์) 
พระกริ่งสันติธรรม เนื้อนวโลหะ ๑ องค์ ๒,๐๐๐ บาท 
เหรียญหล่อพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ ๑ เหรียญ ๓๐๐ บาท 
พระผงพุทธชยันตี เนื้อผงพุทธคุณ ๑ องค์ (แจกสมณาคุณฟรี) 
รวมมูล ค่า ๑๓,๘๐๐ บาท

(เต็มหมดแล้ว)

 

 

 

๑๙๙ ชุด

 

 

 

 

 

๑๐,๐๐๐

บูชา ทั่วไป

พระกริ่งพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ อุดก้นเงิน ๑ องค์ 
พระชัยวัฒน์ฯ เนื้อนวโลหะ ๑ องค์

๒,๐๐๐ ชุด

๒,๕๐๐

พระกริ่งพุทธชยันตี เนื้อสัมฤทธิ์ ๑ องค ์ 
พระชัยวัฒน์ฯ เนื้อสัมฤทธิ์ ๑ องค์

๒,๐๐๐ ขุด

๑,๐๐๐

เหรียญหล่อพุทธชยันตี เนื้อนวโลหะ ๑ เหรียญ

๒,๖๐๐ องค์

๓๐๐

พระผงพุทธชยันตี เนื้อผงพุทธคุณ

๘๔,๐๐๐ องค์

แจกทาน

ทุกรายการสามารถร่วมทำบุญได้ที่วัดสันติธรรม โดยตรง หรือ ท่านที่อยู่ไกลสามารถ โอนเข้าบัญชีบูรณะพระสันติเจดีย์ 
ชื่อบัญชี วัดสันติธรรม(บูรณะสันติเจดีย์) ธนาคาร กรุงเทพ สาขา ประตูช้างเผือก บัญชีเลขที่ 390-4-50371-5 
จากนั้นแฟกซ์หลักฐานการโอนเงินมาที่ โทรสาร 053-221792 พร้อมโทรแจ้งการโอนเงินที่ โทร สอบถาม 
ที่ 053-221792 , 081-6027500

****รับพระได้หลังวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ****

 

ภาคผนวก

ชนวนมวลสารหล่อพระกริ่งพุทธชยันตีนี้ ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาหลายท่าน ทำให้มีรายละเอียดเป็นจำนวนมาก มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาลงไว้เพื่อเป็นหลักฐานและประวัติในการจัดสร้างครั้งนี้

แผ่นยันต์บังคับ ๑๐๘ ดวง ตามคัมภีร์ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร

ยันต์ นะ บังคับ ๑๔ ตัว

 


 

ตะกรุดของครูบาอาจารย์ที่ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา
1.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี


2.ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน


3.ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน


4.ครูบาดวงดี สุภทฺโท วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่


5.ครูบาดวงดี วัดสิงห์เคิ่ง จ.ลำพูน


6.ครูบาสิทธิ อภิวณฺโณ วัดปางต้นเดื่อ (ดอยลาง) อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่


7.ครูบาอินตา อินฺทปญฺโญ  วัดวังทอง อ.เมือง จ.ลำพูน


8.ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่


9.ครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่


10.หลวงปู่ญาท่านสวน  วัดนาอุดม จ.อุบลราชธานี


11.หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่


12.หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา


13.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี


14.หลวงพ่อตัด ปวโร วัดชายนา จ.เพชรบุรี


15.หลวงพ่อโต วัดห้วยทรายใต้ จ.เพชรบุรี


16.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอ จ.ศรีสะเกษ


17.หลวงพ่อละออ วัดหนองหลวง จ.นครสวรรค์


18.ตะกรุด วัดหัวนา เพชรบุรี


19.ตะกรุด วัดเจดีย์หลวง รุ่น ฉลองวิหารหลวง

แก้ไขข้อความ
 

 


ชนวนมวลสารชุดที่ 1.
ได้รับจาก พระภิกษุ อุตฺตภทฺโท วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งท่านได้รวบรวมไว้เป็นเวลาหลายปี ได้หลอมรวมเป็นแท่งชนวนแล้ว และได้ถวายให้กับทางวัดเพื่อจัดสร้างพระกริ่ง

แผ่นยันต์ที่ผ่านการอธิฐานจิตจากครูบาอาจารย์หลายๆท่าน 
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนานิคม กรุงเทพฯ
2 หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท
3 พระครูวิจิตร (จวบ) วัดพลับ กรุงเทพฯ
4 หลวงปู่ปลื้ม วัดสวนหงษ์ สุพรรณบุรี
5 ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
6 หลวงปู่แป้น วัดไทรงาม สุพรรณบุรี
7 ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่
8 หลวงพ่อสังวาล วัดทุ่งสามัคคีธรรม สุพรรณบุรี
9 ครูบาขัน สุสานไตรลักษณ์ แม่วาง เชียงใหม่
10 พระครูภาวนาวรคุณ วัดเขาพระ สระบุรี
11 ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น เชียงใหม่
12 หลวงปู่นาค วัดหนองโป่ง สระบุรี
13 ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง เชียงใหม่
14 หลวงปู่เจียม วัดอินทราวาสุการาม สุรินทร์
15 ครูบาเผือก วัดไชยสถาน เชียงใหม่
16 หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ลพบุรี
17 ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง เชียงใหม่
18 ครูบาหล้า วัดป่าลาน เชียงใหม่
19 ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
20 หลวงพ่อดาบส อาศรมไผ่มรกต เชียงราย
21 ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
22 ครูบาคำปัน วัดพระธาตุผาหนาม ลำพูน
23 ครูบาอินตา วัดห้วยไช ลำพูน
24 หลวงปู่สี วัดพระฉาย (เขาชะโงก) นครนายก
25 หลวงปู่ผาง วัดป่าบ้านนายม มุกดาหาร
26 หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ
27 พระอาจารย์จ่อย วัดป่าหนองล่ม สระแก้ว
28 หลวงพ่อธรรมยุต วัดหนองแท่นพระ ปราจีนบุรี
29 หลวงปู่ทองมี วัดนิคมวนาราม ยโสธร
30 หลวงปู่ทองสี วัดสุทธิมงคล ยโสธร
31 หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
32 หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
33 หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
34 หลวงน้าสายหยุด วัดสระแก อยุธยา
35 หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล อยุธยา
36 หลวงพ่อรวย วัดตระโก อยุธยา
37 หลวงปู่ชม วัดนางใน อ่างทอง
38 หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง ร้อยเอ็ด
39 หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
40 หลวงปู่จันทา วัดป่าเขาน้อย พิจิตร

2 . แผ่นยันต์ที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เมตตามอบให้เพื่อนำเป็นชนวน
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 หลวงพ่อพูน (๑ แผ่น) วัดบ้านแพน อยุธยา
2 หลวงพ่อหวล (๓ แผ่น) วัดพุทไธศวรรย์ อยุธยา
3 หลวงพ่อเอียด (๑ แผ่น) วัดไผ่ล้อม อยุธยา
4 หลวงพ่อหมื่นอุดม (๑ แผ่น) วัดตูม อยุธยา
5 หลวงพ่อเพิ่ม (๑ แผ่น) วัดป้อมแก้ว อยุธยา
6 หลวงพ่อพุฒ (๓ แผ่น) วัดขนอนเหนือ อยุธยา
7 หลวงพ่ออุดม (๑ แผ่น) วัดพิชัยสงคราม อยุธยา
8 พระอาจารย์ธรรมนูญ (๓ แผ่น) วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี
9 พระครูวินัยธรนิพนธ์ (๓ แผ่น) วัดกล้วย อยุธยา
10 หลวงปู่บุญ (๓ แผ่น) วัดหัวเขา ลพบุรี
11 เจ้าคุณไวทย์ (๓ แผ่น) วัดพนัญเชิง อยุธยา
12 หลวงพ่อเพี้ยน (๓ แผ่น) วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
13 หลวงปู่ชื้น (๑ แผ่น) วัดญาณเสน อยุธยา
14 หลวงปู่เทพ (๑ แผ่น) วัดป่าเทพเนรมิต ลพบุรี
15 หลวงปู่ทิม (๑ แผ่น) วัดพระขาว อยุธยา
16 หลวงปู่นนท์ (๑ แผ่น) วัดเหนือวน ราชบุรี
17 หลวงปู่สวัสดิ์ (๑ แผ่น) วัดศาลาปูน อยุธยา
18 หลวงพ่อน้อย (๑ แผ่น) วัดไผ่ท่าโพธิ์ใต้ พิจิตร
19 หลวงพ่ออุตตมะ (๔ แผ่น) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
20 หลวงตาพวง (๒ แผ่น) วัดศรีธรรมาราม ยโสธร
21 ครูบาเที่ยงธรรม (๓ แผ่น) วัดเวฬุวัน ศรีสะเกษ
22 หลวงปู่สรวง (๑ แผ่น) วัดศรีฐานใน ยโสธร
23 หลวงพ่อสุทัศน์ (๑ แผ่น) วัดกระโจมทอง นนทบุรี
24 หลวงพ่อดุล (๓ แผ่น) สำนัดสงฆ์คงคำโคกทม บุรีรัมย์
25 หลวงปู่ชื่น (๒ แผ่น) วัดตาอี บุรีรัมย์
26 หลวงพ่อสิริ (๓ แผ่น) วัดตาล นนทบุรี
27 หลวงปู่สินธุ์ (๓ แผ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
28 หลวงปู่ธีร์ (3 แผ่น) วัดจันทราวาส บุรีรัมย์
29 หลวงปู่จันทร์แรม (๑ แผ่น) วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน บุรีรัมย์
30 หลวงปู่ฤทธิ์ (๒ แผ่น) วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์
31 หลวงปูเหลือง (๑ แผ่น) วัดกระดึงทอง บุรีรัมย์
32 หลวงปู่จุ่ม (๑ แผ่น) วัดป่ารักษ์น้ำธุดงคสถาน บุรีรัมย์
33 หลวงพ่อสิริ (๑ แผ่น) ศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ชัยภูมิ
34 อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ (๑ แผ่น) อยุธยา
35 หลวงปู่คำพันธ์ (๑ แผ่น) วัดธาตุมหาชัย นครพนม
36 หลวงปู่พวง (๑๒ แผ่น) วัดป่าปูลู อุดรธานี
37 หลวงปู่จันทร์โสม (๑ แผ่น) วัดป่านาสีดา อุดรธานี
38 หลวงปู่หรุ่ม (๑ แผ่น) วัดบางจักร อ่างทอง
39 หลวงปู่ชุป (๔ แผ่น) วัดหนองเต่าทอง สุพรรณบุรี
40 ครูบาอินทร (๔ แผ่น) วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
41 ครูบาอินตา (๔ แผ่น) วัดวังทอง ลำพูน
42 ครูบาสุข (๑ แผ่น) วัดป่าซางน้อย ลำพูน
43 ครูบากฤษดา (๖ แผ่น) วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน
44 ครูบาอริยชาตฺ วัดวังมุย ลำพูน
45 หลวงพ่อบุญรัตน์ (๑ แผ่น) วัดโขงขาว เชียงใหม่
46 ครูบาน้อย (๓ แผ่น) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
47 ครูบาดวงดี (๔ แผ่น) วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่
48 ครูบาอิน (๑ แผ่น) วัดทุ่งปุย เชียงใหม่
49 ครูบาเทือง (๒ แผ่น) วัดบ้านเด่น เชียงใหม่
50 หลวงตาม้า (๓ แผ่น) วัดพุทธพรหมปัญโญ เชียงใหม่
51 ครูบาจันทร์ (๑ แผ่น) วัดสันเจดีย์ริมปิง เชียงใหม่
52 หลวงพ่อแดง (๓ แผ่น) วัดแม่ฮ่องไค้ร เชียงใหม่
53 หลวงปู่ลี (๒ แผ่น) วัดเอี่ยมวนาราม อุบลราชธานี
54 หลวงปู่สังข์ (๓ แผ่น) วัดบ้านท่าช้างใหญ่ อุบลราชธาน
55 หลวงปู่สวน (๓ แผ่น) วัดนาอุดม อุบลราชธาน
56 พระโพธินันทมุนี (๒ แผ่น) วัดบูรพาราม สุรินทร์
57 หลวงปู่ธรรมรังษี (๓ แผ่น) วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน สุรินทร์
58 หลวงปู่หงส์ (๒ แผ่น) วัดเพชรบุรี สุรินทร์
59 หลวงพ่อประวิทย์ (๑ แผ่น) วัดหนองจรเข้ ปราจีนบุรี
60 หลวงปู่วาส (๓ แผ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
61 หลวงพ่อสง่า (๓ แผ่น) วัดเขมาภริตาราม นนทบุรี
62 หลวงพ่อประสิทธิ์ (๒ แผ่น) วัดไทรน้อย นนทบุรี
63 หลวงปู่แยง (๑ แผ่น) วัดภูทอก หนองคาย
64 หลวงพ่อคำ (๑ แผ่น) วัดถ้ำบูชาถภูวัว หนองคาย
65 หลวงปู่เคน (๑ แผ่น) วัดป่าประชานิยม มหาสารคาม
66 หลวงพ่อจำเนียร (๑ แผ่น) วัดถ้ำเสือ กระบี่
67 หลวงปู่ผ่าน (๔ แผ่น) วัดป่าประทีปปุญญาราม สกลนคร
68 หลวงปู่บุญมา (๒ แผ่น) วัดป่าสีห์พนม สกลนคร
69 หลวงปู่แปลง (๒ แผ่น) วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
70 หลวงปู่บุญพิณ (๓ แผ่น) วัดผ่าเทพนิมิตร สกลนคร
71 หลวงพ่อเจียม (๓ แผ่น) วัดเทพวิสุทธาราม สกลนคร
72 หลวงปู่สุภา (๓ แผ่น) สำนักสงฆ์เทพขจรจิต ภูเก็ต
73 หลวงปู่ท่อน (๑ แผ่น) วัดป่าศรีอภัยวัน เลย
74 หลวงปู่หลุย (๓ แผ่น) วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
75 พระครูสถิตย์ (๑ แผ่น) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
76 หลวงพ่อน้ำมนต?เดือน (๑ แผ่น) ว่าป่าสมเด็จ มุกดาหาร
77 หลวงพ่อคำ (๑ แผ่น) วัดท่ายาง นครศรีธรรมราช
78 หลวงพ่อชำนาญ (๔ แผ่น) วัดบางกุฏีทอง ปทุมธานี
79 หลวงปู่เมตตา (๓ แผ่น) วัเโพธิ์เลื่อน ปทุมธานี
80 พระอาจารย์ประกอบ (๓ แผ่น) วัดป่ามหาชัย สมุทรสาคร
81 หลวงปู่บ๊ก (๑ แผ่น) วัดเนินพยอม อุทัยธานี
82 หลวงพ่อวิชัย (๓ แผ่น) วัดถ้ำผาจม เชียงราย
83 พระครูสมุห์อวยพร (๒ แผ่น) วัดดอนยายหอม นครปฐม
84 หลวงปู่ผูก (๑ แผ่น) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
85 หลวงปู่จ่าง (๓ แผ่น) วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี
86 หลวงปู่อุ้น (๓ แผ่น) วัดตาลกง เพชรบุรี
87 หลวงปู่จันทร์หอม (๕ แผ่น) วัดสว่างวนาราม อุบลราชธานี
88 หลวงปู่พร้า (๓ แผ่น) วัดโคกดอกไม้ ชัยนาท
89 หลวงพ่อแดง (๓ แผ่น) วัดห้วยฉลองราษฎร์ อุตรดิตถ์
90 หลวงพ่อทองคำ (๑ แผ่น) วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
91 หลวงพ่อวัดป่าพุทธคยา (๑ แผ่น) อินเดีย

3 . ห่วงเหรียญและเหรียญคณาจารย์
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 เหรียญหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
2 เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นต่างๆ วัดช้างไห้และวัดอื่นๆ 
3 เหรียญสมเด็จองค์ปฐมต้น โครงการโพธิจิต 
4 เหรียญหลวงพ่อสงวน วัดทุ่งทองทิพย์ กาญจนบุรี
5 เหรียญพระนิพานหลวงปู่บุญศรี วัดสรีสุทธาวาส นครสวรรค์
6 เหรียญหลวงพ่ออินทร์ ปี ๒๕๐๔ 
7 เหรียญพระครูสิริกันทรลักษณ์ ปี ๒๕๒๑ วัดศรีขุนหาญ ศรีสะเกษ
8 เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดป่าน้ำจืด 
9 เหรียญบาทขวัญถุง ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน
10 เหรียญหลวงปู่มี ปี ๒๕๒๕ วัดสิงห์ 
11 เหรียญ 10 บาทขวัญถุงครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา เชียงราย
12 แหนบ-เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เกราะเพชร วัดท่าซุง 
13 เหรียญหลวงพ่อบุญเย็น สำนักสงฆ์พระเจ้าพรหมมหาราช เชียงใหม่
14 เหรียญหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
15 เหรียญหลวงพ่อสิน วัดบุณยประดิษฐ์ 
16 เหรียญหลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
17 เหรียญหลวงพ่อผล วัดดักคะนน ชัยนาท
18 เหรียญหลวงปู่ทูป วัดวังอ่าง 
19 เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนม
20 เหรียญหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา
21 เหรียญหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
22 เหรียญหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลึง นครราชสีมา
23 เหรียญรุ่นสุดท้ายหลวงพ่อโอภาสีและรุ่นหลัง อาศรมบางมด กรุงเทพฯ
24 เหรียญหลวงพ่อบุญช่วย วัไผ่แก้ว ฉะเชิงเทรา
25 เหรียญพระคณาจารย์ตั๊กฮี ปี ๒๕๓๔ วัดเซี่ยนฮุดยี่ ชลบุรี
26 เหรียญหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดแปลงกะดิน ชลบุรี
27 เหรียญพรหม ๔ หน้า หลวงพ่อคอน วัดชัยพฤกษมาลา กรุงเทพฯ
28 เหรียญหลวงปู่ปาน วัดหนองปลาไหล 
29 เหรียญอนุสรณ์ ๘๐ ปี หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว นครสวรรค์
30 เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่พวง วัดป่าปูลู อุดรธานี
31 รูปหล่อพระพุทธชินราชรุ่น ๒ หลวงตามหาบัวอธิษฐานจิต วัดป่ากู่ทอง 
32 เหรียญ ร.๙ สภากาชาดไทย 
33 เหรียญพระสัมพุทธสิรี สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัส กรุงเทพฯ
34 เหรียญหลวงปู่ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
35 พระปิดตาเนื้อตะกั่วหลังเฮง หลวงพ่อดำ วัดสันติธรรม สนระแก้ว
36 เหรียญหลวงพ่อสุด ปี ๒๕๑๗ วัดกาหลง สมุทรสาคร
37 เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร ป๊ ๒๕๓๕ วัดพิชัยญาติการราม กรุงเทพฯ
38 เหรียญพระชัยหลังช้าง 
39 เหรียญพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม 
40 เหรียญหลวงพ่อธรรมงาม 
41 เหรียญหลวพ่อโตชินะราช ปี ๒๕๑๗ วัดบัวปากท่า นครปฐม
42 เหรียญหลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี
43 เหรียญหลวงพ่อผาง ป๊ ๒๕๑๒ วัดอุดมคงคาคีรีเขตร์ ขอนแก่น
44 เหรียญหลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
45 เหรียญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ปี ๒๕๒๘ 
46 เหรียญ ๙ มหาราช ๙ สังฆราช วัดบางมุกนาก พิจิตร
47 เหรียญหลวงปู่วงษ์ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา
48 เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
49 เหรียญหลวงปูฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์
50 ปรกใบมะขาม วัดพระพุทธบาท ๔ รอย เชียงใหม่
51 เหรียญหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
52 เหรียญหลวงปู่ต่วน ปี ๒๕๓๖ วัดกล้วย อยุํธยา
53 เหรียญหลวงปู่บุญมี ปี ๒๕๑๗ วัดอรัญญเขต 
54 เหรียญหลวงปู่ทวด เปิดโลก,หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน อยุธยา
55 เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดพระธาตุวาโย ฉะเชิงเทรา
56 เหรียญหลวงพ่อโตโลกนายก วัดคลองจระเข้ อยุธยา
57 เหรียญหลวงปู่ศรีแก้ว ปี ๒๕๔๑ วัดห้วยเงาะ ปัตตานี
58 เหรียญหลวงปู่ลี วัดเอี่อมวนาราม อุบลราชธานี
59 เหรียญสมเด็จพระพุฒจารย์เกี่ยว วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
60 เหรียญเจ้าพ่อยี่ถอฮง สน.พลับพลาชัย กรุงเทพฯ
61 เหรียญหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
62 เหรียญหลวงปู่ปาน ปี ๒๕๒๓ วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ
63 เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่จันทร์โสม วัดป่านาสีดา อุดรธานี
64 เหรียญอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จย่า 
65 เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
66 เหรียญหลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศรีจันทราราม นครราชสีมา
67 เหรียญหลวงปูเอี่ยม ปี ๒๕๓๗ วัดโคนอน กรุงเทพฯ
68 เหรียญหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย อยุธยา
69 พระพุทธชินราชเจ้าสัว รุ่นฟ้าผ่าและรุ่นอื่นๆอีกหลายรุ่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุและอีกหลายวัด พิษณุโลก
70 เหรียญหลวงพ่อริน วัดพระธาตุบาลิง ตรัง
71 เหรียญพระพุทธมงคล วัดทองบน กรุงเทพฯ
72 เหรียญ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
73 เหรียญหลวงปู่เผือก ปี๒๕๓๗ วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
74 เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดกระทิง จันทบุรี
75 เหรียญหลวงพ่อโสภา วัดแก้สคีลาราม ชลบุรี
76 เหรียญหลวงปู่บุญ วัดพระนอน สุพรรณบุรี
77 ปรกใบมะขาม วัดพนัญเชิง อยุธยา
78 เหรียญหลวงพ่อกัน วัดมณีวงศ์ นครสวรรค์
79 เหรียญพระพุทธหลวงปู่แก้ว วัดโคดโดน พัทลุง
80 เหรียญหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรี
81 เหรียญพระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
82 เหรียญหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
83 เหรียญหลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
84 เหรียญหลวงพ่อผัน วัดทรายขาว ปัตตานี
85 เหรียญเจ้าพ่อเขาใหญ่ วัดป่าเขาใหญ่ นครราชสีมา
86 เหรียญหลวงพ่อช่วง วัดโคกบ้าน ปราจีนบุรี
87 เหรียญหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันต์
88 เหรียญหลวงพ่อวัน วัดป่าบ้านโนนค้อ 
89 เหรียญกรมหลวงชุมพร กรมนาวิกโยธินสร้าง 
90 เหรียญหลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา
91 เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
92 เหรียญหลวงพ่อชุ้น วัดวังตะกุ นครปฐม
93 เหรียญหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
94 เหรียญชีวกโกมารภัจจ์ สมาคมแพทย์แผนไทย 
95 เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี
96 เหรียญพระพุทธนิมิตร วัดหนองปลาดุก ราชบุรี
97 เหรียญหลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
98 เหรียญหลวงปู่บุญเรือน วัดยางสุทธาราม กรุงเทพฯ
99 เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
100 เหรีญหลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ นครสวรรค์
101 เหรียญหลวงพ่อวิจารย์ วัดโพธาราม ฉะเชิงเทรา
102 เหรียญพระครูจรัส วัดฤาษีนุตจรัสวงษาราม 
103 เหรียญหลวงเครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ
104 เหรียญ ร.๕ วัดต่างๆ 
105 เหรียญหลวงปู่ผิน วัดเนินหิน ชลบุรี
106 เหรียญเจ้าพ่อพะวอ 
107 เหรียญหลวงพ่อพระฉิม วัดสุทธาราม กรุงเทพฯ
108 เหรียญหลวงพ่อคล้าย ปี ๒๕๒๗ วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
109 เหรียญหลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร นครปฐม
110 เหรียญพระปฐมเจดีย์ ปี ๒๕๔๕ นครปฐม
111 เหรียญพระธรรมกาย วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
112 เหรียญพระโพธิคยาณุสรณ์ วัดไตรธรรมาราม สุราษร์ธานี
113 เหรียญหลวงพ่อกึ๋น ปี ๒๕๑๔ วัดดอน กรุงเทพฯ
114 เหรียญหลวงปู่พล วัดหนองคณฑี สระบุรี
115 เหรียญหลวงพ่อพลับ วัดเชิงทะเล ภูเก็ต
116 เหรียญสมเด็จโต วัดอินทรวิหารและวัดอื่นๆ 
117 เหรียญครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน
118 เหรียญหลวงปู่กอง วัดสระมณฑล อยุธยา
119 ปรกใบมะขามหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันต์
120 เหรียญหลวงปู่เรือง วัดหัววัง สงขลา
121 เหรียญเจ้าคุณนรฯ วัดเทพสิรินทร์ กรุงเทพฯ
122 เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดทุ่งงาย สงขลา
123 พระร่วงรางปืนหลวงปู่ทองเบิ้ม วัดวังยาว ประจวบคีรีขันต์
124 เหรียญพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ 
125 เหรียญหลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิกบเจา อยุธยา
126 เหรียญหลวงพ่อพลับ วัดสระแก้ส อ่างทอง
127 เหรียญหลวงปู่ไว วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
128 พระครูสุวรรณโสรัต วัดสุวรรณเจดีย์ อยุธยา
129 เหรียญโภคทรัพย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
130 เหรียญสิริจันโท ปี ๒๕๓๗ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
131 เหรียญหลวงพ่อเอม วัดห้วยตะโก 
132 เหรียญศาลหลักเมือง ปราจีณบุรี
133 เหรียญเจ้าสัวตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
134 เหรียญหลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร อุดรธานี
135 เหรียญหลวงพ่อบ้านแหลม ปี๒๕๓๕ วัดบ้านแหลม 
136 เหรียญพระนอน วัดพระนอน สุพรรณบุรี
137 เหรียญหลวงพ่อเชี้ยน วัดบ้านมี่ ลพบุรี
138 เหรียญหลวงปู่ลือ ปี ๒๕๓๙ วัดป่านาทามวนาวาส มุกดาหาร
139 เหรียญพระพิศิษฐ์วินัยกร วัดยะสาธรรมาราม ยะลา
140 เหรียญหลวงพ่อธัมมิโก วัดบางกระเจ้า 
141 เหรียญสมเด็จพระสังฆราชอยู่วัดสระเกศ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
142 เหรียญหลวงพ่อเชื่อม วัดเขาแหลม ราชบุรี
143 เหรียญหลวงปู่สด วัดโพธิแดงใต้ อยุธยา
144 เหรียญหลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
145 เหรียญหลวงปู่ทองคำ วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
146 เหรียญหลวงพ่อเบียน วัดกระทิง จันทบุรั
147 เหรียญหลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง ชลบุรี
148 เหรียญหลวงพ่อวิริยะกิติ วัดบ้านน้อย กาญจนบุรี
149 เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
150 เหรียญหลวงปู่เชื้อ วัดกลางท่าบ้าน สิงห์บุรี
151 เหรียญพระนเรศวรประกาศอิสระภาพ 
152 เข็มกลัดหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
153 เหรียญไต้ฮงกงหลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
154 เหรียญหลวงพ่อโตอุทัยธานี วัดบ้านโพธิ์ 
155 เหรียญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแฝด กาญจนบุรี
156 เหรียญหลวงปู่โต วัดถนนโค้ง ลพบุรี
157 เหรียญพระเจ้าทันใจ ปี ๒๕๓๖ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
158 เหรียญหลวงปู่แป้น วัดนิมมานรดี กรุงเทพฯ
159 เหรียญหลวงปู่อี๋ ปี ๒๕๔๐ วัดสัตหีบ ชลบุรี
160 เหรียญพระสังกัจจายน์ วัดนางใน กาญจนบุรี
161 เหรียญชินบัญชรสมเด็จโต 
162 แผ่นปั้มตะกรุดหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
163 พระลีลาทุ่งเศรษฐีหลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ ระยอง
164 เหรียญพระสยามเทวาธืราช 
165 เหรียยกำบังภัยหลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
166 ปิดตาตะกั่วอวนหลวงปู่เกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
167 แผ่นปั้มตะกรุดหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
168 พระไพรีพินาศนิรันตราย

5 . พระกริ่งและรูปหล่อครูบาอาจารย์
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 กริ่งรุ่นแรกหลวงปู่พวง วัดป่าปูลู อุดรธานี
2 กริ่งพุทธเกษตร โครงการโพธิจิต 
3 กริ่งบุญฤทธิ์หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสื่อ กระบี่
4 รูปหล่อหลวงพ่อพระใส หนองคาย
5 รูปหล่อพระพุทธญาณนเรศร์ ปี ๒๕๒๙ วัดญาณสังวร ชลบุรี
6 รูปหล่อพระทวาราวดี วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา
7 พระกำแพงเขย่งเนื้อชินเก่า 
8 รูปหล่อพระพุทธชินราชวัดอื่นๆ 
9 รูปหล่อหลวงพ่อเพชร ปี ๒๕๔๐ วัดไครัง 
10 รูปหล่อหลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยง สุโขทัย
11 กริ่งรูปเหมือนเกษาหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
12 รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานและวัดอื่นๆ 
13 รูปหล่อหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้และวัดอื่นๆ 
14 รูปหล่อฤาษีหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม
15 รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ปี ๒๕๔๐ วัดไครัง 
16 รูปหล่อหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
17 รูปหล่อหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย ปทุมธานี
18 รูปหล่อหลวงพ่อโสธร ปี ๒๕๐๗ วัดโสธร ฉะเชิงเทรา
19 รูปหล่อหลวงพ่อแดง วัดบ้านยาง นครปฐม
20 ลูกอมพญานาคหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย พะเยา
21 รูปหล่อหลวงพ่อบุญรอด วัดวังน้ำเขียว 
22 ดาบสหลีกัญไชย วัดวังมุย ลำพูน
23 รูปหล่อเจ้าแม่กวนอิม 
24 กริ่งกูผู้ชนะ ๗๐๐ ปี เชียงใหม่
25 ลูกสะกดหลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
26 รูปหล่อพระพิฒเณศร์ 
27 แหวนหัวเมฆพัตรหลวงปู่อิ่ม วัดหัวเขา ชัยนาท
28 แหวนหลวงพ่อศรี วัดพระธาตุ 
29 แหวนเงินลงยาหลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
30 แหวนพิรอดหลวงปู่สาย วัดท้องคุ้ง อยุธยา
31 แหวนหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งนา 
32 แหวนพระเจ้า ๕ พระองค์ 
33 แหวนพระพุทธชินราช พิษณุโลก

7. ตะกรุด
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 ตะกรุดมหาจักรพรรดิของหลวงปู่ดู่ จำนวน ๓ ดอก วัดสระแก อยุธยา

8. ตะกรุดเก่า กว่า 70 ดอก อาทิ
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 ตะกรุดหลวงปู่กอง วัดสระมงคล อยุธยา
2 ตะกรุดหลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์
3 ตะกรุดหลวงปู่หิน วัดโพธาราม ขอนแก่น
4 ตะกรุดสาริกาหลวงปู่ผ่าน วัดป่าประทีปปุญญาราม สกลนคร
5 ตะกรุดเมตตาหลวงพ่อสิริ วัดตาล นนทบุรี
6 ตะกรุดสามกษัตริย์หลวงปู่รินทร์ วัดภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์

9. อื่นๆ
ลำดับที่ รายนามพระคณาจารย์ วัด จังหวัด
1 แผ่นยันต์ ๑๐๘ นะ ๑๔ นะ และยันต์ดวงประสูต ตรัสรู้ 
2 แผ่นยนต์จักรพรรดิตราธิราช พระอาจารย์ชำนาญ วัดบางกุฎีทอง 
3 แผ่นยันต์พระอาการวัตตสูตรหลวงปู่หลุย เมตตาจารให้ วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
4 แผ่นยันต์เกราะเพชร,อิติปิโส ๘ ทิศ,พระเจ้า ๑๖ องค์ จารโดยหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทร นนทบุรี
5 แผ่นยันต์ชินบัญชร จารมือ อธิฐานจิตโดยหลวงปู่เมือง วัดป่ามัชฌิมาวาส กาฬสินธุ์
6 แผ่นยันต์โสฬสมหามงคลตำรับหลวงปู่เอี่ยม จารโดยหลวง ปู่วาส วัดสะพานสูง 
7 แผ่นยันต์คาถาเงินล้าน , คาถามงคลจักรวาล , คาถามหาจักรพรรดิ 
8 แผ่นยันต์หอมเชียงของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
9 แผ่นยันต์ปั้มหลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
10 ชนวนหล่อพระสมเด็จองค์ปฐม ๒๙ นิ้ว หล่อถวายวัดโขงขาว เชียงใหม่
11 ชนวนหล่อพระของโตรงการจิต 
12 ชนวนพระกริ่งขวานฟ้าตรูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน
13 ชนวนแร่โคตรเศรษฐ๊ของแม่ชีปทุม โชติอนันต์ และรูปหล่อหลวงปู่ทวดเนื้อแร่โคตรเศรษฐี ครูบาชัยยะวงศา วัดพระบาทห้วยต้มอธิฐานจิต 
14 ฐานพระพุทธรูปบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เนื้อเงินโบราณ 
15 แร่จ้าวเงิน , สะเก็ดดาว , ปรอทหุง , ตะกั่วนมโบราณ 
16 พระเนื้อเหล็กไหลตัด หลวงปู่หวล วัดพุทไธศวรรค์ อยุธยา
17 ชนวนพระกริ่งไชยเบงชร ครูบาอิน วัดทุ่งปุย เชียงใหม่
18 ชนวนรูปเหมือนเท่าองค์จริง ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่
19 ชนวนเปิดโลก หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา
20 ชนวนหล่อพระหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
21 ชนวนพระกริ่งนวโลหะเต็มสูตรรุ่นแรก ครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา เชียงราย
22 ชนวนพระกริ่งเก่าสายวัดสุทัศน์ และของคุณสุธันย์ สุนทรเสวี 
23 ชนวนหล่อสมเด็จองค์พระปฐม ๔ ศอก และพระศรีอารย์ วัดใหม่เพชรรัตน์ สุพรรณบุรี
24 ชนวนพระพุทธรูปโบราณครูบาศรีวิชัย ที่ไฟไหม้ 
25 ชนวนหล่อพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรสุรินทร์ รวมชนวนหลวงพ่อหงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์ทุกรุ่น 
26 เศษเงินทำบุญใส่บาตรรูปหล่อ หลวงปู่อี่ยม วัดสะพานสูง นนทบุรี
27 สตางค์รูสมัยโบราณ และเหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ


ประกาศเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 : 14.13 น.