test วัดสันติธรรม : Santidham : นครเชียงใหม่

พระเทพวิสุทธิญาณ (หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล)
2477-ปัจจุบัน
วัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) จ.พะเยา

นามเดิม

ไพบูลย์ สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2477 เป็นบุตรของคหบดีชาวอำเภอเกาะคา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายกองแก้ว และ นางคำ สิทธิ

 

ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ จ.เชียงใหม่ เรียนจบชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 ก่อนไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน จนอายุ 29 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง มีพระ ครูธรรมาภิวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังอุปสมบทได้อยู่จำพรรษา ณ วัดป่าสำราญนิวาส ภายใต้การอบรมจากพระอาจารย์ หลวง กตปุญโญ เจ้าอาวาส เมื่อมีความก้าว หน้าจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ได้ออกท่องธุดงค์ไปจำพรรษาในภาคอีสาน และกลับธุดงค์ขึ้นมาแถบป่าเขาในเขตเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย+ พ.ศ.2513 หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลได้มีโอกาสไปร่วมงานถวายเพลิงศพพระอาจารย์สม ที่ อ.แม่เมาะ ได้พบกับ พระอาจารย์ทอง ที่เดินทางมาจากวัดอโศการาม จึงได้ชักชวนพระไพบูลย์ออกเดินธุดงค์หาความวิเวก คณะของหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลท่านได้ผ่าน มาถึง จ.พะเยา ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่วัดร้างและจำพรรษา ณ วัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านแถบนั้นได้มาทำบุญฟังเทศน์ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา พากันอาราธนาให้ท่านอยู่ ช่วยบูรณะวัดร้างขึ้นใหม่

    อยู่ช่วยปฏิสังขรณ์วัดร้าง จากสภาพวัดร้าง จนมีสภาพดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนัง สือขอสร้างวัดไปยังกรมการศาสนา ได้รับอนุญาต ให้สร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีนาม "วัดรัตนวนาราม"ต่อมาได้มี ชาวบ้านจากบ้านสันป่าม่วง บ้านสันบัวบก บ้านสันป่าบง เข้ามาอาราธนาท่านไปดูสถานที่สำคัญ บนดอยสูง ฝั่งกว๊านพะเยาด้านตะวันตก เพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน

     สำนักสงฆ์แห่งนี้ ในเวลาไม่นาน ได้รับการยกฐานะให้เป็นวัด ชื่อ วัดอนาลโยทิพยาราม ได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ วันที่ 20 มกราคม 2530 + ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2517 หลวงพ่อไพบูลย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระเทพวราภรณ์ เลขานุการของสมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิธ ที่ พระครูปลัด พ.ศ.2524 ได้รับพระเมตตาจาก สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร แต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสัมพิพัฑฒญาณาจารย์

     พ.ศ.2532 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระปัญญาพิศาลเถร พ.ศ.2547 ได้รับพระ ราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระราชสังวรญาณ+ พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพวิสุทธิญาณ

     ผลงานด้านการพัฒนา พระเทพวิสุทธิญาณ หรือ พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 8 โรงพยาบาลอานันทมหิดล จ.ลพบุรี ท่านได้ช่วยจัดหาทุนจ้างครูไปสอนเด็กในถิ่นทุรกัน ดาร โรงเรียนบ้านภูเงิน อีกทั้งยังได้มอบทุนแก่คณะครูที่ปฏิบัติดีเด่นประจำปี และอุปถัมภ์ในการสร้างอุโบสถวัดป่าสำราญนิวาส

     พระเทพวิสุทธิญาณ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนยากจนเป็นประจำทุกปีๆ ละ 1,000 ทุนๆ ละ 1,000 บาท ได้จัดสร้าง พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานประจำที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดเชียงราย เป็นต้น

     ผลงานด้านการศึกษา พระอาจารย์ไพบูลย์ ท่านได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยถือว่าเป็นรากแก้วสำคัญของพุทธศาสนา เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุด การศึกษาพระบาลี ดุจเป็นการได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา และได้สดับฟังพระสัทธรรมจากเบื้องพระ พักตร์ ยิ่งศึกษายิ่งเกิดกุศลบุญ

      พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล ท่านได้มอบหมายให้ท่านพระครูปลัด พิศิษฐ์ (ครูบาอั๋น) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นอาจารย์ ใหญ่ บริหารจัดการ เปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนัก เรียนผู้สอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี รวมประโยคต่างๆ จำนวน 54 รูป และปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีสำนักเรียนแห่งนี้ส่งนักเรียนสอบครบทุกประโยค ตั้งแต่ประโยค 1-9

      ณ วันนี้ พระเทพวิสุทธิญาณ ได้รับเป็นประธานจัดสร้างวัดพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ (เฉลิมพระเกียรติ ครบ 200 ปี) ต.วิเชตนคร อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นวัดที่คณะกรรมการบริหารคณะธรรมยุต ได้อนุมัติให้สร้างขึ้นในปีมหามงคลวโรกาสคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ 200 ปี ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แห่งรัชกาลที่ 4 ผู้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุต เพื่อเป็นการประกาศพระเกียรติ คุณของพระองค์ให้แผ่ไพศาลและสนองพระคุณูปการและเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรม อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

      พระเทพวิสุทธิญาณ เป็นพระเถระที่มีปฏิปทาเป็นพระกัมมัฏฐานในสายพระอาจารย์ ใหญ่มั่น ภูริทัตโต เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ท่านมีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน

      ด้วยกิตติศัพท์ แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดอนาลโยทิพยาราม จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

      แม้ทุกวันนี้ พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล วัดอนาลโยทิพยารามแม้จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ยังคงให้การอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนที่เข้ามาทำบุญฟังธรรม เน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระ พุทธศาสนา ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม แม้สังขารเริ่มโรยราไปบ้างตามกาลเวลา แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามโดยแท้