test วัดสันติธรรม : Santidham : นครเชียงใหม่

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๒๔๑๓ - ๒๔๙๒
วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

นามเดิม
         
มั่น แก่นแก้ว
   
     
เกิด
         
วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓
     
     
บ้านเกิด
         
บ้างคำบง ตำบลโจงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
     
     
บิดามารดา
         
นายคำด้วง และนางจันทร์ แก่นแก้ว อาชีพทำนาทำไร่
   
     
พี่น้อง
         
รวม ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี
     
บรรพชา
         
อายุ ๑๕ ปี ที่วัดบ้านคำบง (ลาสิกขาเมื่ออายุ ๑๗ปี)
     
อุปสมบท
         
วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยมีท่านพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสีทาชยเสโน
         
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับขนานนามมคธว่า “ ภูริทัตโต ”
   
     
เรื่องราวในชีวิต
         
ในสมัยนั้น ยังไม่มีโรงเรียนท่านจึงได้อาศัยศึกษาในสำนักของผู้เป็นอา ท่านได้เรียนอักษรไทย , อักษรธรรมและอักษรขอม
จนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว ท่านมีความขยันมั่นเพียรเป็นพิเศษต่อมาอายุได้ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามาเณรที่วัดบ้านคำบง เป็นวัดใกล้บ้านของท่าน ขณะบวชอยู่ท่านได้ศึกษาธรรมะและพระสูตรต่างๆ ที่สำนักบรรพชา จนกระทั่วอายุของท่านได้ ๑๗ ปี บิดาของท่านได้ขอร้องให้ลาสิกขาบท เพื่อไปช่วยงานทางบ้านเมื่อได้ลาสิกขาไปแล้วท่านระลึกอยู่เสมอว่า “ท่านเสียดาย หากมีโอกาสเมื่อใดก็จะบวชอีก”.... คงจะเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาก่อนหรืออาจเป็นบุญบารมีที่ท่านเคยสร้างสมเอาไว้แต่ปางก่อน อำนาจคุณธรรมนั้นจึงมาคอยสะกิดใจของท่านอยู่เสมอๆ กอปรด้วยเมื่อยังเล็กๆ อยู่ ท่านยายที่เคยเลี้ยงท่านมา มักจะพูดกับท่านเสมอว่า “เมื่อโตมา เจ้าจะต้องบวชให้ยาย เพราะยายเลี้ยงเจ้ายาก” คำพูดของยาย มันยังก้องอยู่ในจิตใจเสมอ
ครั้นเมื่อท่านได้อยู่ช่วยบิดามารดา นานพอสมควรแล้ว เพราะบัดนี้อายุของท่านย่างเข้า ๒๒ ปี ท่านอยากจะบวชเป็นกำลัง จำนำเรื่องนี้เข้าปรารภกับบิดามารดาแล้วขอลาบวช ซึ่งบิดามารดาผู้ให้กำเนิดทั้งสองท่าน ก็มิได้ขัดข้องแต่ประการใดไม่ดังนั้น.....ท่านจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ณ สำนักวัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ท่าน ได้มาอยู่จำพรรษาในสำนักวิปัสสนากับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานี ท่านถือธุดงค์กรรมฐานอย่างขึ้นจิตขึ้นใจ ท่านรักษาพระธรรมวินัยเสมอชีวิตเริ่มแรกแห่งการบริกรรมขั้นสมถะท่านใช้คำภาวนาว่า พุท –โธๆ คนสมัยก่อนที่ท่านออกเดินธุดงค์จะมีคนแตกตื่นด้วยความกลัว เพราะไม่เคยเห็นมาก่อนเลยต่อมาประชาชนต่างรู้และเข้าใจพระกรรมฐานมากขึ้น ไม่ว่ากองทัพธรรม ที่บรรดาผู้มุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถเพื่อธรรมจริงๆ ได้เข้ามาถวายตัวเป็นศิษย์ของท่าน ออกไปเผยแพร่ธรรมะตามนิคมชนบทต่างๆ ก็จะได้รับการดูแลต้อนรับจนเกิดเป็นวัดป่าฝ่ายปฏิบัติอย่างมากมายจวบจนปัจจุบันฯ อุปนิสัยของท่านไม่ชอบการก่อสร้างมาแต่เริ่มแรกท่านชอบการบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรม ท่านมีศรัทธามุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์อย่างแรงกล้า สติปัญญาบารมีของท่านนั้นจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ในยุคนี้ท่านมีความขยัน อดทนด้วยนิสัยที่ชอบใคร่ครวญ การพิจารณากาย นับแต่วันที่ท่านปฏิบัติธรรม เป็นผลในทางธรรมอย่างมั่นคง ความเจริญทางด้านสมาธิและทางปัญญาเป็นไปอย่างสม่ำเสมอโดยมิเคยขาดตอน ความเพียรที่หนุนจิตใจของท่านนั้น ท่านมีสติพรั่งพร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าท่านจะอยู่ ณ ที่ใดไปที่ใดก็ตาม แม้กระทั่งทำกิจวัตรของท่านในอิริยาบถต่างๆ ท่านความรู้สึกเพียบพร้อมไปด้วยสติ และความเพียรอันต่อเนื่อง การเดินธุดงค์กรรมฐานท่านได้ไปอยู่ทำภาวนามาแล้วหลายแห่งหลายที่ ณ ภาคเหนือท่านได้ไปอยู่จำพรรษาถึง ๑๒ ปี และได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ ครั้นออกจากเชียงใหม่แล้วท่านได้งดหน้าที่นั้นเสีย เพราะท่านมีจิตใจทางด้านปฏิบัติภาวนากรรมฐานมากกว่า และบรรดาศิษย์ทั้งปวงจะได้รับคำเตือน ให้ทรงในสติปัญญาอยู่เสมอทุกครั้งในธรรมะที่ท่านสอน-อธิบายจบลงว่า... “แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง,แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย,คาก้นย่างยายเวียนตายเวียนเกิด,เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม,ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่”
ในปีพ.ศ.๒๔๘๔ ท่านได้เดินธุดงค์มายังภาคอีสาน และได้มาปักหลักเอาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน ในปีพ.ศ.๒๔๘๗ ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน จนสุดท้ายชีวิตของท่าน คณะสานุศิษย์ได้นำท่านไปที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
เรียกได้ว่าท่านเป็นพระบิดาของคณะพระกรรมฐานจากทั่วประเทศ ชีวิตในเพศบรรพชิตของท่านได้ รุ่งเรื่องในทางธรรมะจนเรียกว่า โรจน์รุ่งจรุงกระจายไปทั่วสารทิศมาแล้วในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาคใด ๆ ก็จะพบแต่กองทัพธรรมออกเที่ยวประพฤติปฏิบัติและอบรมสั่งสอนประชาชน ด้วยธรรมะอันวิเศษละเอียดอ่อน เสมือนแสงเรืองรองฉายสู่ดวงใจ ให้สว่างไสวไปทั่วแผ่นดินไทย
   
มรณภาพ
         
เวลา ๐๒.๒๓ น.วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ รวมสิริอายุได้ ๘๐ ปีบริบูรณ์


ข้อมูลพิเศษ
         
* ท่านถือว่าเป็นพระมหาบูรพาจารย์ สายวิปัสสนา(พระป่า)มีลูกศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาททั่วประเทศไทย
         
* ท่านเกิดในตอนปลายรัชกาลที่ ๓
* คติข้อเตือนความจำ...
๑.ดีใด ไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่า ดีเลิศ
๒.ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตนเองเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง


ธรรมโอวาท

“...ของดีมีอยู่กับตัวเรา ทุกคนก็พากันปฏิบัติเอา ทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงวุ่นวายหานิมนต์พระมากุสลามาติกา ไม่ใช่เกาถูกที่คัน
         

ต้องรีบแก้เสียบัดนี้ คือ เร่งทำความดีแต่บัดนี้ จะได้หายห่วงอะไร ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามา หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย
ท่านผู้พ้นทุกข์ไปด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตน จนกลายเป็นสรณะของพวกเรา ท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหน เป็นคนร่ำรวย สวยงามเฉพาะสมัย จึงพากันรัก พากันห่วง จนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย สำคัญตนว่าจะไม่ตาย และพากันประมาทจนลืมตัว เพลิดเพลินตักตวงเอาแต่สิ่งไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว
อย่าสำคัญว่าตนเก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ถ้าไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร อาตมาขออภัยด้วยถ้าพูดหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนคนให้ละชั่ว ทำความดี จัดเป็นหยาบคายอยู่แล้ว โลกเราก็จะถึงคราวหมดสิ้นศาสนา เพราะไม่มีผู้ยอมรับความจริง การทำบาปหยาบคายมีมาประจำแทบทุกคน ทั้งให้ผลเป็นทุกข์ ตนยังไม่อาจรู้ได้ และตำหนิมันบ้างพอมีทางคิดแก้ไข แต่กลับตำหนิคำสั่งสอนหยาบคาย ก็นับเป็นโรคที่หมดหวัง…”


“...เวลาที่สวดไปใจก็กำหนดตาม เกิดความเห็นชัดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา ในเวลาที่สวดอยู่นั้น ควรสงเคราะห์เข้าไปในกองปัญญา ก็พอครบสิกขา ๓ ตามแบบปฏิบัติบูชาส่วนดอกไม้ ธูปเทียน และภาชนะที่ใส่ดอกไม้วางอยู่หน้าพระพุทธรูป ก็เป็นอามิสบูชา ข้าพเจ้าแยกเป็น ๒ ส่วนให้ท่านฟังนี้ ขอท่านจงจำไว้ จะได้ไม่เห็นผิดว่า การไหว้พระสวดมนต์เป็นอามิสบูชา...”