test วัดสันติธรรม : Santidham : นครเชียงใหม่

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
๒๔๔๔ - ๒๕๓๒
๒๔๔๔ ? ๒๕๓๒

นามเดิม
         
วอ วรบุตร
   
     
เกิด
         
วันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔
     
     
บ้านเกิด
         
อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
     
     
บิดามารดา
         
คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร
     
พี่น้อง
         
มีพี่สาวต่างบิดา ๑ คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก ๑ คน
     
อุปสมบท
         
พ.ศ.๒๔๖๖ (มหานิกาย) ณ อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด 
พ.ศ.๒๔๖๗ ขอญัตติจตุตถกรรม (ครั้งที่ ๑) เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย ญัตติจตุถกรรมใหม่ (ครั้งที่ ๒)ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๖๘ โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูสังฆวุฒิกรป็นพระอุปัจฌาย์ และ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ท่านจึงได้บวชถึง ๓ ครั้ง คือ ปี๒๔๖๖, ๒๔๖๗ และ ๒๔๖๘
   
     
เรื่องราวในชีวิต
         
เมื่อเข้าโรงเรียนท่านมีนิสัยช่างซัก ช่างเจรจา ออกความคิดเห็นเหมือนครูบาจึงถูกเรียกว่า “บา” ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาด จนจบชั้นประถมปีที่ ๓ ซึ่งขณะนั้นถือเป็นการศึกษาชั้นสูงสำหรับเมืองชายแดน ขณะที่อยู่เชียงคาน ด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว ท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศษ และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ ๕ ปี จนคุณพระเชียงคานลุงของท่านเรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่าหลุยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เมื่อได้อุปสมบทในฝ่ายมหานิกายแล้ว ท่านได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุโธ รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ได้แนะนำให้ญัตติเป็นพระธรรมยุตที่จังหวัดเลย ต่อมา ท่านได้กลับมาอยู่กับพระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวอซอ และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่ง ณ ที่นี่เองท่านได้อยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจากพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล โดยมีพระอาจารย์บุญเป็นพระพี่เลี้ยง จากนั้นก็ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จวบจนเข้าพรรษา จึงกลับมาจำพรรษาต่อกับพระอาจารย์เสาร์ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก ในพรรษานี้ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุง พระอาจารย์บุญ จึงให้ญัตติจตุถกรรมใหม่ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
ในบรรดาศิษย์ของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านเป็นผู้ที่สันโดษมักน้อย ประหยัดมัธยัสถ์ที่สุด ท่านเป็นผู้ละเอียดละออมาก เป็นนักจดบันทึก มีบันทึกหลายสิบเล่ม เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการค้นคว้าศึกษา สำหรับสาธุชนคนรุ่นหลัง รวมทั้งธรรมโอวาท ของท่านเองด้วย
ท่านเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ โดยไม่อ้างกาลเวลา แม้อาพาธอย่างหนักก็ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา ๒๓.๓๐น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว ขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย
   
มรณภาพ
         
วันจันทร์ ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ รวมสิริอายุ ๘๘ ปี ๖๕-๖๗ พรรษา


ข้อมูลพิเศษ
         
* ท่านศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ ๕ ปี จนลุงของท่านเรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย


ธรรมโอวาท
         
“...หลักการม้างกาย คือ การพิจารณาปล่อยวางธาตุขันธ์ ส่วนการภาวนาหรือทำจิตทำใจ ให้ดูอาการของจิต
         

ก่อนตาย อย่าไปดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว เวลาธาตุจะตีลังกาเปลี่ยนภพ จิตจะออกจากร่าง ให้พิจารณาตามจิต จะเห็นว่า จิตจะออกจากร่างอย่างไร ไปอย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร จะมืดๆ สว่างๆ อย่างไร จะมีอาการเหนื่อยหอบมาก ให้กำหนดตามจิต จะเห็นอาการจิตชัด แต่หากตามไม่ทัน ก็ให้ปล่อยไปให้ได้ปัจจุบันขณะ อย่าดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว และขอให้เร่งทำความเพียร มีความสามัคคี กลมเกลียวกัน...”

"...เมื่อภาวนาพิจารณาแยบคายแล้ว สังขารโลกปลงให้เข้าเสียแล้วแต่เขาจะแก่ เจ็บตาย เป็นเรื่องของเขา รีบเดินมรรคให้พ้นไปจากสังขารโลก เพราะสังขารโลกเป็นภัยใหญ่โต จะอยู่ไปก็เป็นเรื่องของเขา จะตายก็เป็นเรื่องของเขา แต่ภาวนาความรู้ความเห็นในอมตธรรมนั้นให้มาก นั้นเองเป็นวิหารธรรมที่พึ่งของจิตเมื่อตายแลอันนี้เองจะไปเกิดในที่ดี แปลว่าไม่อุทธรณ์ร้อนใจในความแก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นเรื่องของสังขารโลก..."

"...การภาวนาเป็นเครื่องจูงใจในอารมณ์ที่คุ้นเคยในกรรมฐาน กระดูกและลมหายใจเป็นคู่กันมีสมาธิเป็นแนวหน้า มีปัญญาเกิดทีหลัง ด้วยค่อยแก้ค่อยไขส่วนร่างกายให้เห็นไตรลักษณ์เป็นขันธ์แปรปรวนอยู่เสมอ ลมฟิ๊ดออกพิจารณาหาอาสวกิเลสพิจารณากระดูกให้เห็นแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ด้วยญาณทัสนะ ด้วยความจริงใจในสังขารทั้งปวง ให้เห็นใจมาตั้งอยู่ในอมตธรรม ให้เดินอารมณ์ทั้งสองอย่างนี้เป็นนิจ..."

"...จิตภาวนาไตรลักษณ์ได้รอบคอบไว้ดีแล้ว ไม่มีอาการส่งจิตไปนอกกาย ไม่อย่างนั้นจิตส่งไปอื่น หาปัญญาทางอื่นนอกกายแล้ว ไม่แน่นแฟ้นเหมือนหาปัญญาทางภายใน เห็นระยะใกล้ ดีกว่าเห็นไกล เห็นไกลเป็นวิปัสสนู เห็นใกล้เป็นวิปัสสนา น้อมไปน้อมมานั้นเป็นจิตหยาบอยู่พิจารณาเห็นโดยเห็นภายใน ภายในนั้นเป็นจิตละเอียด ใกล้ต่อมรรคผล เมื่อเห็นภายในแล้ว น้อมไปนอกไปในได้เสมอกัน แต่ให้เห็นภายในจนชินเสียก่อน จึงน้อมไปเห็นนอกจึงไม่มีสัญญาอารมณ์มาก..."