test วัดสันติธรรม : Santidham : นครเชียงใหม่

คิดมากไปแล้ว จะให้ทำฉันใด

 

ทรัพยากรโลกนี้มีเพียงพอสำหรับทุกคน แต่ไม่อาจตอบสนองความโลภของคนเพียงคนเดียว       .

  

 

แต่งโดย

อาวุธปญฺโญ  ภิกขุ

aomam_hipo@hotmail.com


             ความคิดของมนุษย์เราเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ตามธรรมชาติความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถที่จะหยุดคิดได้ เหมือนกับการที่เราไม่สามารถหยุดพระอาทิตย์ไม่ให้ส่องแสง เมื่อเราไม่อาจหยุดคิดได้ บุคคลซึ่งประกอบด้วยความไม่รู้ก็คิดว่าดีก็เลยคิดต่อไปโดยไม่หยุด จึงทำให้คนปัจจุบันนี้เป็นโรคประสาทกันมาก โรงพยาบาลเกี่ยวกับจิตเกิดขึ้นป็นดอกเห็ด ถึงกระนั้นก็ยังไม่พอต่อความต้องการของผู้ป่วย สาเหตุที่สำคัญก็เพราะตัว คิดไม่หยุดนี้เอง ทำอย่าไรจึงจะหยุดคิดได้ เมื่อเรารู้ว่าตัวคิดเป็นสิ่งที่ไม่ดี ถึงแม้กระทั้งตัวที่คิดดีก็ตาม ที่คิดไม่ดีก็ต้องหยุดอยู่แล้ว เพราะตัวคิดดีอาจจะชักนำให้จิตคิดไม่ดีได้เช่นกันควรจะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก

         ฉะนั้นดังที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้นว่า เราไม่สามารถที่จะหยุดความคิดได้ มีคำถามอยู่ว่าเราจะทำอย่าไรละ คำตอบก็คือ ถ้าหยุดคิดไม่ได้ก็อย่าหยุด หลายท่านคงจะสงสัยว่าถ้าไม่ให้หยุดคิดแล้วจะให้ทำอย่างไร ท่านทั้งหลายขอเพียงแค่ลองปฏิบัติตามหลักต่อไปนี้ดู ถ้าจิตอยากคิดก็ปล่อยให้คิดไป แต่มีอยู่ว่าให้แยกจิตไว้อีกดวงหนึ่ง แยกไว้ทำไม แยกไว้เพื่อดูจิตตัวที่มันคิด ว่าตอนนี้กำลังคิดอะไรอยู่ ทำความรู้สึก ความเข้าใจว่า ตอนนี้มันคิดเรื่องนี้อยู่นะ


 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่พอ เพียงลำพังการตามดูอย่างเดียวไม่ทำให้จิตสบายได้ เพราะอะไร เพราะความคิดเป็นกิเลสตัวฉกาจนั่นเอง มันออกมาในรูปของความคิด คิดผลัดเพี้ยนบ้าง คิดว่าทำอย่างนี้จะดีบ้าง คิดไม่ซื่อบ้าง เหลานี้เป็นตัวนำกิเลสมาทั้งนั้น ตัวกิเลสมันคิดเพื่ออะไร คิดเพื่อนำความพอใจคือกิเลสมาสนองตัวมันเอง เราไม่รู้จักหาวิธีดับมัน ก็เลยไม่รู้ว่านั่นคือตัวกิเลส เมื่อคิดมากเข้า ๆ ลองสังเกตุดูว่าสี่งเดียวที่มันจะผุดขึ้นมาในขณะนั้นก็คือ “เรา” สำคัญตัวเองว่าถูกที่สุด ดีที่สุด คนอื่นผิดทั้งนั้น  ทั้งๆที่ตัวเองผิดแท้ ๆ เพราะโทษของความไม่หยุดดู ไม่ใช้ธรรมเข้ามาตัดสิน ใช้ตัวเองตัดสิน


เมื่อรู้ดังนี้แล้วการที่จะหยุดดูจิตคงไม่พอ ต้องมีอย่างอื่นเข้ามาประกอบ เพราะเราทราบแล้วว่าตัวคิดเป็นตัวกิเลส สิ่งที่จะปราบปรามกิเลสได้มีสิ่งเดียวคือ ธรรมะ โดยใช้กฎไตรลัษณ์ เพียง ๓ ข้อคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป วิธีการก็คือ หยุดรู้ความคิด แล้วก็รู้ต่อไปว่าสาเหตุที่ทำให้คิดเกิดจากสิ่งนี้ และต่อนี้กำลังเกิดกับใจเรา และแล้วอีกไม่นานสิ่งนั้นก็จะจบลง ไม่ตอนนี้ก็ตอนหน้า ไม่ตอนหน้าก็วันหน้า แล้วเราจะเอาจิตไปยึดไปติดไปคิดเพื่อให้เกิดทุกข์ทำไม

          เรื่องมันก็เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงธรรมชาติได้ เพราะทุกข์ก็ทุกข์ที่เรา เผาก็เผาเรา ก็ปล่อยให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว จิตก็จะไม่ยึดเอา เมื่อไม่ยึดเอาจิตก็จะผ่อนคลาย เมื่อผ่อนคลายจิตก็จะสบายในที่สุด อารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โกรธ อารมณ์ชอบไม่ชอบเหล่านี้ ก็จะไม่แสดงออกมาในทางกาย วาจา และอารมณ์เหล่านี้ก็จะไม่ไปติดไปเกาะสะสมอยู่ที่ใจ เป็นเหตุให้เกิดความอึดอัดไม่รู้ว่าจะแตกออกมาเมื่อไหร่ สำคัญอยู่เพียงว่าการคิดเรื่องเหล่านั้น ปัญหาเหล่านั้นต้องคิดให้จบให้ได้ ตัวสุดท้ายต้องลงที่ “ธรรมะ” คือ หยุดรู้ พิจารณา และคิดให้จบ จิตก็จะสบายไม่เป็นทุกข์