ตราสัญลักษณ์นี้ ท่านได้แต่ใดมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และโปรดเกล้าตราสัญลักษณ์ ๘๐ พรรษาแล้ว โดยเลือกแบบที่ ๑๒ ของนายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ ๗ ว. ช่างสิบหมู่ ของกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ตราสัญลักษณ์ ๘๐ พรรษา ซึ่งการออกแบบได้ใช้ตราสัญลักษณ์
|
|||
พระราชลัญจกร รัชกาลที่ ๙ หมายถึง แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
|
|||
พระมหาพิชัยมงกุฎ พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และพระเศวตฉัตร ที่หมายถึงเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ ของพระมหากษัตริย์
|
|||
เลขไทย ๘๐ และเพชร ๘๐ เม็ด ที่หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
|
|||
แถบแพรสีชมพู หมายถึงสีอายุตามโหราศาสตร์ทักษาพยากรณ์ ตรงกับวันอังคารของพระองค์
|
|||
ชื่อตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
|
|||
|
|
|
|
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้เขียนดอกพิกุลทอง ๕ ดอก ดอกพิกุลเงิน ๔ ดอก เพิ่มเติมที่แท่นแปดเหลี่ยมรองรับพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ที่มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์
|
|||
|
|
|
|
ทั้งนี้ข้อปฏิบัติการขอใช้ตราสัญลักษณ์ และการประดับธงกับตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้กำหนดการขอใช้ตราสัญลักษณ์ดังนี้ กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
มีความประสงค์ นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ก็ตาม
ต้องแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการ พิจารณาคำขออนุญาต โครงการและกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว สามารถนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในโครงการหรือ กิจกรรมได้เลย โดยให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการทราบเพื่อรวบรวมบันทึกไว้
และให้ประดับธงชาติไทยคู่ผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้า และประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ของหน่วยงาน โดยไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการ
ทั้งนี้ ให้ประดับในระยะเวลาของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ
โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
|
|||
|
|
|
|
ขอขอบคุณ ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ผู้เสนอ : กลุ่มวิเคราะห์ข่าวและฐานข้อมูล สำนักโฆษก
|
|||
|
|
|
|