test วัดสันติธรรม : Santidham : นครเชียงใหม่

กิน ฉัน การรักษาศีล

 

ควรทานอาหารวันละกี่มื้อ เราควรฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ ต้องถือมังสวิรัติหรือไม่...

 

 

 

แต่งโดย

คัมภีรปญฺโญ  ภิกขุ

rooga_toni@hotmail.com

 

กินตามใจปากทุกข์ยากเพราะอยากกิน มันอร่อยปากลำบากตูดอะไรอย่างนั้น 

การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นไปเพื่อการหยุดความต้องการหรือความอยาก เพราะต้องการมากจึงทุกข์มากนั่นเอง เรื่องการกินจัดอยู่หนึ่งในนั้น เพราะความต้องการ ไม่มีการสิ้นสุดในหมู่ของมนุษย์เพราะมีแต่ความพร่องอยู่เป็นนิตย์ การบริโภคอาหารก็เช่นกัน  ถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ก็จริง แต่เพราะเราต้องการอาหารเพื่อบรรเทาความหิวกระหายหรือเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขตามอัตภาพของตนนั้น บางทีเราอาจลืมจุดประสงค์ของการกินของเราไปแล้วก็ได้    

เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วไม่ใช่แต่เรื่องกินอย่างเดียวรวมถึงเรื่องอื่นๆด้วยการมีประมาณทำความเขาใจกับคำว่าพอดีเป็นสิ่งสำคัญ  มากไปเกิดโทษน้อยไปก็ไม่ดี หากฉันหรือกิน เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อดำรงชีพเพื่อประพฤติธรรมแล้ว ฉันเพียงวันละมื้อก็พอ หากทนไม่ได้สองมื้อก็พอได้สำหรับพระภิกษุสามเณร  ญาติโยมต้องประกอบการงานหนักควรรับประทาน 3 มื้อก็น่าจะพอดีหรือแล้วแต่บุคคล 

  เรื่องการกินเจนั้นหรือมังสวิรัตินั้นไม่สำคัญแต่จะกินก็ไม่ผิดอะไร เรามีวิธีการมากมาย ที่จะหลีกเลี่ยงจากการฆ่าสัตว์ไม่ควรบอกตัวเองปรุงแต่งว่าเราต้องกินเจเวลาปฏิบัติธรรมตลอดเมื่อปฏิบัติก็ลงมือกระทำอย่างทันที ไม่ต้องอย่างนั้นอย่างนี้  เรื่องของการกินนี้ไม่ว่าจะกินเจหรือมังสวิรัติควรไม่ควรแล้วแต่ท่านที่ชอบไม่ว่ากันเฉพาะท่านผู้ใหญ่ แต่เด็กคิดว่าไม่ควรเพราะเด็กกำลังเจริญเติบโตอาจขาดสารอาหารบางประการที่ในวัยเด็กต้องการ มันเป็นปัญหาของโลกเพราะการกินอย่างขาดการกำหนดขอบเขตเช่น โรคอ้วน ไม่ว่าในเด็กหรือผู้ใหญ่ กินพออิ่มพอประมาณนั่นคือทางออก

การรักษาศีล คือการสำรวมในกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยก็รักษาไปตามปกติรักษาเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสงบแก่จิต ศีลเป็นข้อรักษากายและวาจาให้เป็นปกติคือนิ่งหยุดแล้วต่อการมุ่งร้ายพยาบาท ต่อการเบียดเบียนนานัปการ มีปกติปราศจากการฆ่า เป็นต้นเพราะการกระทำหรือกรรม  เพราะกรรมเป็นของละเอียดอ่อน บางกรณีที่เรากระทำอะไรสักอย่างในเรื่องที่ดีหรือไม่ก็ตาม อาจบอกว่าให้ผลตอบแทนแค่นิดหน่อย แต่เมื่อพิจารณาแล้วโดยละเอียดมันอาจให้ผลมาก พ่อแม่ครูบาอาจารย์จึงท่านมุ่งสอนว่า ให้หัดพิจารณาการกระทำของตนอยู่เสมอ มีการสำรวมระวังใจของตนอยู่เสมออย่ามั่วมุ่งเห็นสิ่งต่างๆอะไรก็ตามในตัวของคนอื่น ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำรวมระวังในศีลมีสติเป็นเครื่องรักษาใจ

พุทธศาสนาเราสอนเกี่ยวกับเรื่องศีลมาช้านาน ในประเทศไทยเองยังมีการแนะนำให้ปฏิบัติตามหลักศีลห้า ทำไมต้องศีลห้า? เพราะการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ต้องมีศีลห้าธรรมห้า มีเมตตาธรรมเป็นต้น  ศีลห้านั้นเป็นแม่บทแห่งศีลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นศีลในระดับต่างๆก็ดีล้วนมีศีลห้าเป็นแม่บททั้งนั้นเหตุที่แยกย่อยออกไปก็เพื่อความสำรวมระวังในข้อปฏิบัตินั้นๆ  ให้ละเอียดสุขุมมากขึ้นไปเป็นลำดับ สำรวมระวังมากความมีสติอยู่กับก็มากตาม ความประมาทในการกระทำทาง กาย วาจา ใจ ก็น้อยลงเพราะมีสติพิจารณาก่อนทำเสมอ การรักษาศีลก็เพื่อให้เป็นฐานแห่งสมาธิเพื่อให้ใจสงบ เมื่อใจสงบก็จะเกิดปัญญาตามมา

       “หญ้าคากำไม่มั่นพลันบาดมือ พรหมจรรย์แค่ลูบคลำฉุดรั้งลงนรก” ศีลควรสำรวมระวังให้มากเพราะศีล สมาธิและปัญญาเป็นของเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ศีลเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษยชาติ คนจะเป็นมนุษย์ได้ก็เพราะศีล ศีลที่รักษาดีแล้วนั้นก่อให้เกิดอานิสงส์มากมายมหาศาลดังกล่าวโดยย่อว่า

ศีลนำไปสู่สุคติ 

ศีลนำมาซึ่งโภคทรัพย์ 

ศีลนำไปสู่พระนิพพาน...ด้วยเหตุนี้ศีลจึงเป็นเยี่ยมในโลก