|
|
|
|
เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก ธัมมวิตักโก )
(๒๔๔๐-๒๕๑๔)
วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
ตรึก จินตยานนท์ (พระยานรรัตนราชมานิต) |
|
|
เกิด |
|
วันเสาร์ ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ วันมาฆบูชา |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านหลังวัดโสมนัสวิหาร ตำบลนางเลิ้ง กรุ่งเทพฯ |
|
|
บิดามารดา |
|
พระนรราชภักดี (ตรอง ) และ นางพุก |
|
|
พี่น้อง |
|
เป็นบุตรคนเดียว |
|
อุปสมบท |
|
บวชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่ รัชการที่ ๖ ที่วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อปี ๒๔๖๘ |
|
|
|
โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ธัมมวิตักโกภิกขุ แปลว่า ผู้ระลึกถึงธรรม |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
เรียนชั้นประถมที่วัดโสมนัสและมัธยมที่วัดเบญจมบพิตรตั้งใจจะเรียนแพทย์ต่อ |
|
|
|
|
แต่บิดาของท่านซึ่งขณะนั้นเป็นขุนชาญสุพรรณเขต นายอำเภอบางปลาม้า สุพรรณบุรี อยากให้ท่านเป็นนักปกครอง ท่านจึงเข้าเรียนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ต่อมาโรงเรียนนี้ก็กลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านจึงเป็นบัณฑิตจุฬารุ่นแรก
ท่านได้ไปรับราชการในกรมหาดเล็ก ในสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้บรรดาศักดิ์เป็น พระยานรัตนราชมานิต ในปี ๒๔๖๕ และได้เป็นองคมนตรี เมื่อปี ๒๔๖๗ ด้วยอายุเพียง ๒๗ ปี เท่านั้น เมื่อ รัชกาลที่ ๖ สวรรคต ท่านตั้งใจบวชเพียงหนึ่งพรรษา แต่ต่อมาได้ตัดสินใจบวชตลอดชีวิต และอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์แห่งเดียวไม่ไปไหน
ยามอาพาธ ท่านมิได้ฉันยา หากแต่ให้การปฏิบัติทางจิตในการรักษาทุกครั้ง ท่านเป็นผู้มีความอดทนและความเพียรอย่างยิ่ง เมื่อทำสิ่งใด ก็ทำสม่ำเสมอ มิได้ขาดตลอดเวลา ๔๐ ปี แม้การนั่งปฏิบัติธรรมครั้งใด ท่านก็นั่งด้วยท่าพับเพียบและนั่งอยู่ได้นานมาก ในบั้นปลายของชีวิต ท่านอาพาธด้วยโรคมะเร็งที่ลำคออยู่ ๕ ปี |
|
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ อายุ ๗๔ ปี |
|
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ท่านไม่บิณฑบาต และฉันเพียงผักผลไม้ และใบไม้ตำเป็นประจำ |
ธรรมโอวาท |
|
|
|
|
|
|
|
....ร่างกายเป็นรังของโรค ต้องป่วยเจ็บอยู่เสมอเป็นธรรมดา อย่าเศร้าหมองตามการเจ็บป่วยนั้น ทำใจให้ปลอดโปร่ง และให้นักเสมอว่า การเจ็บการตายจะมาถึง เมื่อไรก็ได้ อย่าประมาท อย่ารั้งรอต่อการทำความดี ในขณะที่ยังมีโอกาสทำความดีจะได้ไม่ต้องเสียใจแม้ความตายจะมาถึงในวินาทีใดก็ตาม..
...เราต้องพยายาม การภาวนาก็เป็นบุญเป็นกุศลมากมาย ถ้าทำได้ทุก ๆ วัน ทำได้เสมอไป ก็เป็นกุศลทุกวัน ให้คิดดู ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะมาถึงวันไหนเราก็ไม่รู้ ไม่ว่าแต่คนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่มก็ตาย ได้ฝึกหัดทำทุกวัน ๆ มันตายไปก็ยังได้ขึ้นสวรรค์ การกระทำจิตใจนี้เป็นของดี เป็นยอดของทาน ฝึกหัดอริยทรัพย์ภายในนั่นเป็นอริยะ ฝึกหัดดัดแปลงจิตใจให้มันดีมันบริสุทธิ์หมดมลทิน...
...ผู้ปฏิบัติธรรม ปรารภจะยกตนข่มท่านแล้วปฏิบัติธรรมนี้เป็นอัตตาธิปไตย ส่วนเสียๆ บุคคลมาปรารภตนว่า บัดนี้เราก็เจริญวัยอายุก็ใกล้ต่อความตายอยู่ทุกขณะ ถ้าปุบปับมัจจุราชมาเอาตัวไปเสียก่อนก็จะเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนาแล้วรีบปฏิบัติตนของตนให้เป็นธรรมเพื่อที่จะได้รับความสุขความเจริญของตนไปในอนาคตกาล เบื้องหน้าเพราะว่าคนเราต้องแสวงหาความสุขความเจริญใส่ตนของตนทั้งนั้น อันนี้เป็นส่วนดี...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|