|
|
|
|
หลวงปู่สาม อกิญจโน
(๒๔๔๓ ๒๕๓๔)
วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
สาม เกษแก้วสี |
|
|
เกิด |
|
วันอาทิตย์ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ตรงกับ เดือนสิบ ปีชวด |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ |
|
|
บิดามารดา |
|
นายปวม และนางกึง เกษแก้วสี |
|
|
พี่น้อง |
|
รวม ๑๑ คน ท่านเป็นบุตรคนโต |
|
บรรพชา |
|
อายุ ๑๙ ปี ที่วัดนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน |
|
อุปสมบท |
|
พ.ศ. ๒๔๖๒ ( มหานิกาย)โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอี่ยม และพระอาจารย์สาม |
|
|
|
|
เป็นพระคู่สวดเมื่อออกพรรษา ญัตติเป็นธรรมยุติที่อำเภอยโสธร มีพระครูจิตวิโส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อกิญจโน |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ชีวิตในวัยเด็กนั้น สุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด |
|
|
|
|
ไม่มีผู้หญิงเลย อายุได้ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อบวชเณรได้ ๒ ปี ได้อุปสมบท ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๖๗ ท่านได้รับข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ว่าได้กลับมาจากเดินธุดงค์และ...ได้มาพำนักอยู่ที่ป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง จ.สุรินทร์ จึงเดินทางไปนมัสการและได้ถวายตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรมพระกรรมฐาน
หนึ่งพรรษาผ่านไป หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เห็นความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของท่าน หลวงปู่ดูลย์จึงได้แนะนำให้ท่านไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้บอกว่า หลวงปู่มั่น ขณะนี้อยู่ที่จังหวัดสกลนครความที่สนใจในธรรมปฏิบัติท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลาหลายเดือน กว่าจะได้เข้านมัสการหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ๓ เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่นได้แนะนำให้หลวงปู่สาม ไปพบกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมเพื่อเป็นพระผู้ ฝึกฝนอบรมต่อไป
ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติจนต้องล้มป่วยอย่างหนักเกือบเสียชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูก ด้องอาศัยกำลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท่าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ แต่เดิมท่านบวชพระเป็นฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้น ยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย
ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จึงให้แปรญัตติใหม่ที่อำเภอยโสธร ในครั้งนั้น หลวงปู่สามและหลวงปู่สกุย ได้ญัตติพร้อมกัน ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ชั่วครูชั่วคราวเท่านั้น ท่านก็จะเดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้จากภาคกลางจดภาคตะวันออก ภาคอีสานทั้งหมด ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มจนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโขกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า บัดนี้กำลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์
นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหมดเผยแพร่แก่บรรดาสาธุชนต่อไปอีกด้วย ท่านจึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่บัดนั้น ท่านเป็นพระนักธุดงค์กรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิเศษ ท่านถือคติที่ว่า ท่านเป็นศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึง ที่สุด
ปฎิปทา ของหลวงปู่สามนั้น สาธุชนที่เคยเดินทางไปนมัสการ คงจะตระหนักดีว่า มีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มากทีเดียว ท่านมากไปด้วยขันติโสรัจจะ อดทน สงบเงียบ เยือกเย็น ชีวิตเพศแห่งสมณะหลวงปู่ไม่เคยว่างเว้นในการเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาและในจังหวัดต่างๆ จิตของท่านเต็มไปด้วยเมตตา ไม่เคยขัดศรัทธาคณะญาติโยมใครๆ เลย |
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ |
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ท่านบวชพร้อมกันกับหลวงปู่สกุย |
ธรรมโอวาท |
|
|
|
|
...ตั้งใจฟังธรรมแล้วกำหนดจดจำเอาไปใคร่ครวญพิจารณาแล้วปฏิบัติธรรมเป็นสุปฏิบัติ ธัมมานุธัมมปฏิบัติฉะนี้ จึงสำเร็จอานิสงส์ของการฟังธรรม แม้ยังไม่สำเร็จมรรคผลพระนิพพานในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นอานิสงส์อย่างสูงสุด ก็ยังได้รับความชุ่มชื่นใจในระหว่างๆ ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะอธรรม อธรรมใช่ว่าจะทำความเดือดร้อนแต่ในปัจจุบันเท่านั้นหามิได้ ยังจะต้องได้ไปอยู่กับพวก เดือดร้อนข้างหน้าอีก มีพระพุทธภาษิตแสดงดังนี้ว่า อธมฺโม นิรยํ อธรรมย่อมไปสู่นรก อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติฯ เขาเดือดร้อนอยู่ในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว เขาจะเดือดร้อนอีกดังนี้ฯ...
...เราต้องพยายาม การภาวนาก็เป็นบุญเป็นกุศลมากมาย ถ้าทำได้ทุก ๆ วัน ทำได้เสมอไป ก็เป็นกุศลทุกวัน ให้คิดดู ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะมาถึงวันไหนเราก็ไม่รู้ ไม่ว่าแต่คนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่มก็ตาย ได้ฝึกหัดทำทุกวัน ๆ มันตายไปก็ยังได้ขึ้นสวรรค์ การกระทำจิตใจนี้เป็นของดี เป็นยอดของทาน ฝึกหัดอริยทรัพย์ภายในนั่นเป็นอริยะ ฝึกหัดดัดแปลงจิตใจให้มันดีมันบริสุทธิ์หมดมลทิน...
...จิตใจไม่เหมือนกัน บางคนใจร้ายสามารถฆ่าคนตายได้ มันต่างกันอย่างนั้นแหละ แล้วการบุญการกุศลก็ไม่เชื่ออีก หัวใจมันก็โหดร้าย ต้องพยายามกระทำจิตใจให้มันสงบ จิตใจก็อ่อนน้อมต่อธรรม ต่อวินัย ต่อธรรมะคำสั่งสองของพระพุทธเจ้า ถ้าใจเรามันดีขึ้นเรื่อย ๆ ละก้อ ใจมันก็อ่อน ถ้าฝึกหัดตนให้ชำนิชำนาญ ใจก็กล้าหาญ อาจหาญกำจัดโรค กำจัดภัยได้ทุกอย่าง...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|