|
|
|
|
หลวงพ่อเกษม เขมโก
(๒๔๕๕-๒๕๓๙)
สุสานไตรลักษณ์ ถนนปรตูม้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
เกษม ณ ลำปาง |
|
|
เกิด |
|
วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านท่าเค้าม่วง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง |
|
|
บิดามารดา |
|
เจ้าน้อยหนู มณีอรุณ และเจ้าแม่ บัวจ้อน ณ ลำปาง มี เชื้อสายเจ้าผู้ครองนครลำปางทั้งสองฝ่าย |
|
|
พี่น้อง |
|
เป็นบุตรคนโต |
|
บรรพชา |
|
อายุ ๑๕ ปี ที่วัดบุญยืน |
|
อุปสมบท |
|
อายุ ๒๑ ปี วัดบุญยืน โดนพระธรรมจินดานายกเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับฉายาว่า เขมโก |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ท่านต้องกำพร้าบิดาตั้งแต่ยังเยาว์วัย และเมื่อเจ้าน้อย หนูถึงแก่กรรม ท่านจึงใช้นามสกุลของมารดา คือ ณ |
|
|
|
|
ลำปางท่านเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูลลำปาง เมื่ออายุ ๑๓ ขวบ เจ้าอาวาส วัดป่าดั้ว ญาติของ ท่านมรณภาพลง ท่านจึงได้บวชหน้าไฟใช้ชีวิตเป็นสามเณร อยู่ ๗ วัน เกิดความประทับใจในความสงบ สุขแห่งเพศสมณะ จนเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี จึงตัดสินใจบวชเป็นสามเณรอีกครั้ง และตั้งใจว่าจะไม่สึกอย่างเด็ดขาด ท่านสอบได้นักธรรมโท เมื่อปี ๒๔๗๕
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านสอบนักธรรมเอกได้ และเกิดความสนใจที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ฝานตกเป็นศิษย์ ครูบาแก่น หรือพระครูอุบล สุมโน วัดประตูป่อง ตำบลท่ามะโอ อำเภอเมืองลำปาง ซึ่งเคร่งในการปฏิบัติอย่างยิ่ง จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณภาพ ญาติโยมจึงขอให้ทางคณะสงฆ์อาราธนาท่านให้รับเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืนต่อไป แต่หลวงพ่อเกษมได้พิจารณาเห็นว่าฐานะการเป็นเจ้าอาวาส ของท่านมีแต่อยู่ด้วยลาภ ยศสรรเสริญ และอยู่ด้วยคนหมู่มากที่มีแต่ความวุ่นวายเห็นแก่ตัว ไม่อาจบำเพ็ญโลกุตรธรรมได้ ในปี ๒๔๙๒ ท่านจึงลาออกจาก เจ้าอาวาส ไปบำเพ็ญโลกุตรธรรมอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในป่าช้าศาลาวังทาน ป่าช้าแม่อาง ป่าช้าบ้านนาป้อ และในที่สุดได้มาอยู่ที่ป่าช้าประตูม้า หรือที่รู้จักกันว่า สุสานไตรลักษณ์ ในปัจจุบัน
จากการบำเพ็ญขันติบารมีอย่างเคร่งครัดมานานนับสิบๆ ปีพลังทางกายของของหลวงพ่อเกษมก็ทรุดโทรมเสื่อม ถอยลงตามลำดับ ตรงกันข้าวกับพลังจิตที่กลับยิ่งแข็งแกร่งกล้าขึ้น จนท่านได้กลายเป็นที่พึ่งทางใจปกป้อง ภัย ให้แก่ผู้ศรัทธาเลื่อมใสจำนวน มากมายมหาศาล |
|
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ อายุ ๘๔ ปี |
|
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ท่านสามารถ อดอาหาร และนั่งสมาธิอยู่กลางแดด กลางฝนได้นานหลายวัน |
|
|
โดยไม่ทรมานเพราะพลังจิตออกจากกายได้ ท่านมักนำอาหารบิณฑบาต มาให้โยมแม่ และโยนให้สัตว์ต่างๆ ในสุสานกินก่อน ท่านไม่นั่งรถยนต์ และไม่สวมรองเท้า |
|
|
ธรรมโอวาท : |
|
|
.....การเห็น เป็นเหตุแห่งการคิด การคิด เป็นเหตุแห่งการเห็น ถ้าคิดดี ก็เป็นทางเย็น ถ้าคิดเป็นก็เย็นสบายตาย เป็น เหม็นเน่า เรา เขาเหมือนกัน...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|