|
|
|
|
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
( ๒๔๕๘-๒๕๓๙)
วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
หล้า เสวตร์วงศ์ |
|
|
เกิด |
|
วันจันทร์ ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ ปีกุน |
|
|
บ้านเกิด |
|
ณ บ้านกุดสระ ตำบลกุดสระ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี |
|
|
บิดามารดา |
|
นายคูณ และนางแพง เสาตร์วงศ์ |
|
|
บรรพชา |
|
เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ณ วัดบัวบาน บ้านกุดสระ ตำบลกุดสระ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี โดยพระ |
|
|
|
อาจารย์หนู ติสฺสเถโร เป็นพระอุปัชฌาย์ |
|
อุปสมบท |
|
เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๘๖ (มหานิกาย) ณ วัดบ้านยาง โดยมีพระครูคูณเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เสาร์ |
|
|
|
|
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ญัตติเป็นพระธรรมยุตวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ ที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมธร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ท่านบวชครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยมีพระอาจารย์หนู ติสฺสเถโร เป็นพระอุปัชฌาย์ |
|
|
|
|
บวชได้ไม่นานก็ได้ลาจากพระภิกษุ แม้จะไม่อยากลาเท่าใดนัก แต่หมูเพื่อนพาคะนองก็ได้ลาสิกขาไปตามเพื่อน ภายหลังท่านได้แต่งงาน ๒ ครั้ง มีบุตร ๑ คน กับภรรยาคนแรกและมีบุตร ๓ คน กับภรรยาคนต่อมาเมื่ออายุ ๓๒ ปี ได้กลับคืนสู่เพศพรหมจรรย์อีกครั้ง บวชอยู่ได้ ๓ พรรษา โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม ภายหลังฌาปนกิจศพมารดาเสร็จแล้ว ก็ได้กราบลาอุปัชฌาย์จารย์ไปหาท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธโล) อุปัชฌาย์นั้นก็อาลัย ท่านจึงได้กราบเรียนท่าน กระผมบวชเมื่อแก่อายุขั้น ๓๐ ลูกตาย เสียเมียตายจากถ้าอยู่ใกล้บ้าน ไม่ได้ปฏิบัติสะดวก โลกก็จะกล่าวว่าบวชเลี้ยงชีวิต และบวชคราวนี้ก็เห็นภัยใสสงสารอย่างเต็มที ไม่ไว้ใจในชีวิตนี้เลย และไม่ไว้ใจในสังขารทั้งปวง ด้วยอยากจะไปปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ในสงสารขอรับ
อุปัชฌาย์จึงอนุมัติ เมื่อไปถึงวันโพธิสมภรณ์แล้ว องค์ท่านก็เมตตารับไว้ และให้โยมวัดป่าโพธิ์ชัย บ้านหนองน้ำเค็ม มารับเอาไปปฏิบัติเพื่อรอญัตติ เมื่อญัตติเสร็จก็ไปอยู่กับหลวงพ่อบุญมี (ศิษย์ผู้หนึ่งของพระอาจารย์ใหญ่มั่น) หลวงปู่เสาร์ ได้กล่าวว่า ท่านมีอุบายสั่งสอนเยือกเย็นแยบคายพอควร จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อบุญมีได้ ๑ พรรษาแล้ว ท่าน ก็ได้กราบลาหลวงพ่อบุญมี ออกตามหลวงปู่มั่น ท่านได้เดินธุดงค์อยู่หลายเดือน ก็ได้มาถึงวัดป่าบ้านหนองผือและ
อยู่ปฏิบัติกับองค์หลวงปู่มั่นอยู่นาน แล้วจึงเดินธุดงค์ต่อไปจนมาพบภูจ้อก้ออันเป็นสถานที่สัปปายะ จึงได้เริ่มก่อสร้างวัดภูจ้อก้อขึ้นมาและอยู่ที่วัดภูจ้อก้อนี้จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต |
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ณ วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี ๑๑ เดือน พรรษา ๕๒ |
ธรรมโอวาท |
|
...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้ ในพระพุทธศาสนาเทศน์มากกว่าเพื่อน เพราะเป็นนิยยานิกธรรม |
|
|
นำสัตว์ให้เบื่อหน่ายในวัฏสงสาร เมื่อสัตว์ทั้งหลายเห็นอนิจจังชัด เห็นทุกขังชัด เห็นอนัตตาชัด ในขันธสันดานแล้ว ความเพลินในวัฏสงสารของสัตว์ทั้งหลายก็ยุบตัวลง ความตะเกียกตะกาย ความทะเยอทะยานในภพไหน ๆ ก็ยุบตัวลง ห้ามเบรคห้ามล้อลง วิญญาณปฏิสนธิก็เอือมระอาจะมาเกิดแก่เจ็บตายอีก ผู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาชัด กับผู้เปิดประตูพระนิพพานก็มีความหมายอันเดียวกัน ผู้เห็นพร้อมกับลมเข้าลมออกก็ยิ่งดี พร้อมกับอิริยาบทที่เคลื่อนไหวไปมา พร้อมทั้งขณะจิตที่นึกคิดอีกด้วย เดี๋ยวก็นึกอันนั้น เดี๋ยวก็นึกอันนี้ ก็คืออนิจจังอันละเอียดนั่นเอง ไม่ใช่อันอื่นเลย พูดแต่ละคำ แต่ละคำ เดี๋ยวนี้ ก็คืออนิจจังในส่วนละเอียดนั่นเอง...
...จะอย่างไรก็ตาม เมื่อผู้หวังพ้นทุกข์ในสงสารโดยแท้แล้วสิ่งที่ขัดข้องภายนอกแล้ว ย่อมเป็นเรื่องเล็กน้อยไป เพราะจะช้าหรือเร็วก็ไม่มีการถอยหลังเสียแล้ว หนักก็เอาเบาก็สู้ สู้ทั้งนั้น เพราะตีความหมายว่าสู้กับกิเลสของตน กิเลสนั้นมันชวนสู้ในสิ่งที่ไม่ควรสู้ มันชวนถอยในสิ่งที่ไม่ควรถอย มันมีมายามากกว่าล้านๆ นัยยะแต่ก็เหลือวิสัยของสติปัญญาไปไม่ได้...
...ศีลขาดโต้งๆ ในการฆ่าสัตว์เพราะมีเจตนาฆ่าสัตว์.... รู้ว่าสัตว์มีชีวิตพยายามฆ่าสัตว์ตายตามประสงค์ อันนี้ศีลขาดจริงเพราะเจตนาเต็มภูมิ ส่วนไม่เจตนาแต่ทำให้เขาตายก็บาปเหมือนกันแต่ศีลไม่ขาด ให้เข้าใจว่าศีลทั้ง ๕ ข้อเป็นศีลที่มีเจตนาจะล่วง ถ้าไม่มีเจตนาจะล่วงแล้วศีลไม่ขาด แต่เป็นบาปเวรอยู่เหมือนกันเพราะบาปเวรที่ไม่เจตนา เช่น ขับรถไปไม่เจตนาจะชนเขา แต่มันไปชนซะก็ได้รับโทษตามความเสียหายเป็นเกณฑ์...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|