หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
(๒๔๔๒-๒๕๒๐)
วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
     
 
นามเดิม
 
ฝั้น สุวรรณรงค์
 
เกิด
 
วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒
 
 
บ้านเกิด
 
บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
 
 
บิดามารดา
 
เจ้าไชยกุมาร (เม้า) และนางนุ้ย
 
 
พี่น้อง
 
เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้อง ๘ คน
 
บรรพชา
 
อายุ ๑๙ ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม
 
อุปสมบท
 
อายุ ๒๐ ที่วัดสิทธิบังคม (มหานิกาย) บ้านไฮ่ ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม มีพระครูป้อง(ป้อม)
 
 
เป็นพระอุปัชฌาย์ ญัตติเป็นธรรมยุต เมื่อปี ๒๔๖๘ โดยพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ได้รับฉายาว่า อาจาโรภิกขุ
 
เรื่องราวในชีวิต
 
เชื้อสายของท่านเป็นชาวภูไทอพยพมาจากประเทศลาวสมัยเด็กท่านเรียนหนังสือที่วัดม่วงไข่
 
 
มีความตั้งใจจะรับราชการ แต่เมื่อเห็นการจับกุมและลงโทษผู้กระทำผิดจึงเปลี่ยนใจ เมื่อบวชแล้วได้มาอยู่ที่วัดโพนทอง ปี ๒๔๖๓ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางมาพักอยู่ที่วัดป่าภูไทสามัคคี ในบ้านม่วงไข่ และได้เทศนาให้ชาวบ้านเลิกนับถือผีสางเทวดา ทำให้ท่านเกิดความเลี่อมใสอยากจะเป็นศิษย์ ต่อมาหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ศิษย์รุ่นแรกของพระอาจารย์มั่นในสมัยนั้น ได้ธุดงค์มาถึงวัดโพธิ์ชัย ในบ้านม่วงไข่ ท่านจึงได้ขอเดินทางไปด้วย จึงได้ศึกษาธรรมจากพระอาจารย์มั่นที่สกลนคร
หลังจากญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว ท่านได้ไปจำพรรษากับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ หนองคาย ซึ่งที่นั่นท่านอาพาธเป็นไข้มาลาเรีย แต่ก็ได้ใช้พลังจิตต่อสู้กับโรคภัยจนหาย เมื่อพระอาจารย์มั่นเดินทางไปกรุงเทพแล้ว หลวงปู่ฝั้นก็จาริกไปในที่ต่างๆ ถึงปี ๒๔๗๙ จึงได้ชวนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เดินธุดงค์ ไปภาคเหนือเพื่อติดตามพระอาจารย์มั่น จนพบที่เชียงใหม่
ในปี ๒๔๘๗ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) อาพาธ หนังอยู่ที่วัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี มีบัญชาให้ท่านเดินทางไปรัษาทางด้านสมาธิภาวนาจนอาการอาพาธ ทุเลาลง หลังจากนั้นท่านจึงกลับไปที่บ้านเกิด ที่พรรณานิคม ได้ไปพักอยู่ในป่าข้าง ๆ ป่าช้า ใกล้กับหนองแวง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัดป่าอุดมสมพร ที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน
ในปี ๒๔๙๖ ท่านนิมิตเห็นถ้ำแห่งหนึ่งอยู่บนเทือกเขา ภูพาน ท่านจึงปีนเขาไปค้นหาดู จึงได้พบถ้ำขามซึ่งต่อมากลายเป็นวัดป่า มีพระเณรมาอยู่จำพรรษาหลายรูปหลังจากนั้นหลวงปู่ฝั้นก็มาสร้างบำรุงวัดป่าอุดาสมพรจนสังขารร่วงโรย ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่วัดนั้นในช่วงสุดท้ายของชีวิต
 
มรณภาพ
 
วันอังคารที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ อายุ ๗๘ ปี
ข้อมูลพิเศษ
 
 
* ท่านมีชื่อทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังจิต และยาสมุนไพร ป่าเขา ป่าช้าที่ท่านธุดงค์ไปพัก
 
มักกลายเป็นวัดป่าอารามใหญ่โตในสมัยต่อมา
 
ธรรมโอวาท :

“.... ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนา จึงเบียดเบียนกัน ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้ว ก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ คนอื่นก็เช่นกัน คนทุกวันนี้ เข้าใจว่าศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้ในหีบ ในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้าประเทศอินเดีย โน่น จึงไม่สนใจบ้านเมืองจึงเดือนร้อนวุ่นวาน..”


“...รูปนี้มีอะไรจึงพากันหลงหนักหนา พระพุทธเจ้าจึงได้วางไว้ให้พิจารณารูปนี้หละ อายตนปัญญัตติ นั่นเป็นบ่อเกิดแห่งดีและชั่ว อายตนะภายใน ภายนอก อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา ภายนอกได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ ก็อยู่ในรูปนี่หละ ธาตุปัญญัตติ บัญญัติธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟมาประชุมกันเข้า เรียกว่าตัวตน...”


“...ในเบื้องต้นให้นึกถึงคำบริกรรมเสียก่อน ผู้ที่เคยแล้วก็ดี ผู้ที่ยังไม่เคยก็ดี ให้ระลึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ในใจ เชื่อมั่นอย่างนั้นแล้วจึงระลึกคำบริกรรมภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ สามหนแล้ว รวมเอาแต่พุทโธ พุทโธ คำเดียว หลับตางับปากเสีย ลิ้นก็ไม่กระดุกกระดิก ให้ระลึกอยู่ในใจรู้ว่า พุทโธ ความรู้สึกอยู่ตรงไหน แล้วตั้งสติไว้ตรงนั้นตาเราก็เพ่งดูตรงนั้น หูก็ลงไปฟังที่รู้สึกอยู่นั้น...”

 

   
หน้าหลัก | หน้าก่อน | หน้าต่อไป   
     
     
 
วัดสันติธรรม ต.ช้างเผือก อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
โทร. ๐๕๓-๒๒๑๗๙๒  ๐๘-๗๑๙๓-๓๑๖๙  ๐๘-๖๑๘๗-๓๙๔๒ และ ๐๘-๑๖๐๒-๗๕๐๐